พิธีกรรมเฮ็ดเวียก ของชาวบ้านหนองหลวง ตำบลโคกงาม อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย : ขั้นตอน ความเชื่อ และการดำรงอยู่

ผู้แต่ง

  • ปิยพงษ์ วังคีรี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • เปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • วรัญญา ยิ่งยงศักดิ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

คำสำคัญ:

พิธีกรรมเฮ็ดเวียกบ้านหนองหลวง, องค์ประกอบ, ขั้นตอน, ความเชื่อ, การดำรงอยู่

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ขั้นตอน ความเชื่อ และการดำรงอยู่ของพิธีกรรมเฮ็ดเวียกของชาวบ้านหนองหลวง ตำบลโคกงาม อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โดยศึกษาด้วยวิธีการทางคติชนวิทยา กล่าวคือ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการปฏิบัติงานภาคสนามในแหล่งข้อมูลเพื่อสังเกตพิธีกรรม ตลอดจนสัมภาษณ์วิทยากรที่มีคุณสมบัติตรงกับคุณสมบัติที่กำหนดไว้ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับพิธีกรรม ความเชื่อ และการดำรงอยู่ แล้วนำเสนอด้วยการพรรณนาวิเคราะห์                     

ผลการศึกษาพบว่า ชาวบ้านหนองหลวงมีความเชื่อเรื่องเคราะห์ โดยมีการประกอบพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์ที่มีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “พิธีกรรมเฮ็ดเวียก” ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ พิธีกรรมเฮ็ดเวียกหมู่บ้าน, พิธีกรรมเฮ็ดเวียกเฮียน (เรือน) และพิธีกรรมเฮ็ดเวียกคน โดยพิธีกรรมเฮ็ดเวียกทั้ง 3 ประเภทมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 4 อย่างคือ บุคคลที่เข้าร่วมในพิธีกรรม สถานที่ในการประกอบพิธีกรรม วันเวลาในการประกอบพิธีกรรม และเครื่องประกอบในพิธีกรรม โดยมีขั้นตอนของพิธีกรรมหลัก ๆ 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนเตรียมการและขั้นตอนการดำเนินการ ในด้านความเชื่อพบว่า ชาวบ้านหนองหลวงมีความเชื่อต่อพิธีกรรมเฮ็ดเวียกอยู่ 2 ลักษณะ คือ ความเชื่อต่อการจัดพิธีกรรมเฮ็ดเวียก และความเชื่อต่อองค์ประกอบของพิธีกรรมเฮ็ดเวียก ในด้านของปัจจัยที่ทำให้พิธีกรรมเฮ็ดเวียก ของชาวบ้านหนองหลวงยังดำรงอยู่ได้ คือ พิธีกรรมเฮ็ดเวียกมีบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญต่อหมู่บ้านและชาวบ้านทั้งชาวบ้านหนองหลวงมีความเชื่อ ความศรัทธาต่อพิธีกรรมเฮ็ดเวียก และมีการสืบทอดความเชื่อดังกล่าวต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้พิธีกรรมเฮ็ดเวียกดำรงอยู่คู่กับชาวบ้านหนองหลวงตลอดมา    

References

กรานต์จนาพร คำป้อม. (2547). พิธีสะเดาะเคราะห์ของชาวบ้านหนองตูม ตำบลหนองตูม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.). มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, เลย.

จำเนียร พันทวี. (2540). พิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ของชาวบ้านหมูม้น กิ่งอำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ฐานิตย์ สุพรม. (2549). การจัดทำข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาเรื่องพิธีส่งเคราะห์ ของชุมชนบ้านผาตั้ง ตำบลขุนควร อำเภอปง จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

บุญยงค์ เกศเทศ. (2536). พิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ชนพื้นถิ่นอีสาน. วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(1), 62-71.

พัชรินทร์ สมหอม. (2554). ประเพณีปะลองเปิงด้าจ์ก (บุญส่งข้าวแช่) : ความหมาย บทบาทและปัจจัยการดำรงอยู่ในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(ศศ.ม.). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.

ไพรวัลย์ ชมภูพาน. (2540). พิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ของชาวบ้านหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัด มหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

วรรณภา จันทร์อ่อน. (2557). การสื่อความหมายทางวัฒนธรรมและพลวัตของพิธีกรรมแต่งแก้เสียเคราะห์ของชาวไทพวน บ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

วันเพ็ญ กาบทอง. (2547). พิธีสะเดาะเคราะห์ที่วัดโบสถ์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-27