คุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตภาคเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, ประสิทธิผลของโรงเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียนจากคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เขตภาคเหนือ) ปีการศึกษา 2562 จำนวน 299 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling : SEM)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลของโรงเรียนจากคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ 3) คุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ได้แก่ ด้านการปฏิบัติงานสู่เป้าหมาย (X6) ด้านการมีแรงจูงใจ (X3) ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา (X5) ด้านการมีวิสัยทัศน์ (X2) ด้านการมีจินตนาการ (X4) และด้านความคิดยืดหยุ่น (X1)
References
กาญจนา ศิลา. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตบางเขน. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550, มีนาคม). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร. จาก http://www.ifd.or.th.
เกสร ขันธะบูรณ์, สุเทพ เมยไธสง และ กุศล ศรีสาร. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 4(1), 8-18.
จักรกฤษณ์ โพตาพล. (2556).รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาบัณฑิตศึกษาสาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). เลย: มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง.
จันทนา แสนสุข. (2557). ปัจจัยที่เป็นเหตุและผลของความสามารถภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 19(1), 34-46.
ทวีภรณ์ วรชิน. (2559). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24.
(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ฤทัยรัตน์ บุญอินทร์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธเนศ ขำเกิด. (2563). ผู้บริหารสมัยใหม่ต้องสามารถ “ปรับตัวและยืดหยุ่น”. จาก https://www.gotoknow.org/posts/26179.
ธีระ รุญเจริญ. (2555). ความเป็นมืออาชีพในการจัดการและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรอบสอง และประเมินภายนอกรอบสาม (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
นพรินทร์ สุบินรัตน์, พิมพ์อร สดเอี่ยม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. อินทนิลทักษิณสาร, 13(พิเศษ), 67-82.
นฤมล เจริญพรสกุล, ช่อเพชร เบ้าเงิน และ สมบัติ คชสิทธิ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2555). องคการและการบริหารจัดการ. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์ จำกัด.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2553). ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ: กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. มนตรี: ชลบุรี.
รุ่งศักดิ์ ศิวาชัญ. (2559). ทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ สมรรถนะหลักของผู้นำในทุกยุคทุกสมัย. จาก http://www.training.mut.ac.th/startup/downloadFile/000148.
วรชัย ภิรมย์. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศศิรดา แพงไทย. (2559). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
โศภิดา คล้ายหนองสรวง. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมทีส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุภาพ ฤทธิ์บำรุง. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา 2551. จาก www.onec.go.th/onec_administrator/ uploaded/Category/Laws/Act/acteng/01/0101-k-510331.pdf.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัย แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
Carlson, H.C. (1997). The Process of Decision-Making under School-Based Management: A Comparison of the Administrative Control and Professional Control Models. Dissertation Abstracts International, 59(06), A-1844.
Mott, P.E. (1972). The Characteristic of Effective Organization. New York: Harper and Row.
Sammonds, P., Hillman, J.Mortimore and P. (1995). Key Characteristics of effectiveness schools a review of school effectiveness research. London: OFSTED, 115.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed). New York: Harper and Row.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยพะเยา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.