กลวิธีการสร้างคำด่าภาษาล้านนาในเฟซบุ๊ก

ผู้แต่ง

  • ศราวุธ หล่อดี สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • กรัณย์กร บุญภา สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

กลวิธีการสร้าง, คำด่า, ภาษาล้านนา, เฟซบุ๊ก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการสร้างคำด่าภาษาล้านนาในเฟซบุ๊ก เก็บรวบรวมข้อมูลคำด่าภาษาล้านนาที่ปรากฏในส่วนแสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊ก เพจเมียงง่าว ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2561 พบคำด่าภาษาล้านนา 72 คำ จากนั้นนำคำด่าภาษาล้านนาไปวิเคราะห์ เสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์และแสดงค่าร้อยละประกอบผลการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการสร้างคำด่าภาษาล้านนามี 4 กลวิธีหลัก ได้แก่ 1) คำด่าที่มี 1 องค์ประกอบ แบ่งเป็น 2 กลวิธีย่อย 2) คำด่าที่มี 2 องค์ประกอบ แบ่งเป็น 21 กลวิธีย่อย 3) คำด่าที่มี 3 องค์ประกอบ แบ่งเป็น 15 กลวิธีย่อย 4) คำด่าที่มี 4 องค์ประกอบ แบ่งเป็น 3 กลวิธีย่อย เมื่อพิจารณาจำนวนกลวิธีการสร้างคำด่าภาษาล้านนา 4 กลวิธีหลัก พบคำด่าที่มี 2 องค์ประกอบมากที่สุด (56.94 %) รองลงมาเป็นคำด่าที่มี 3 องค์ประกอบ (29.17 %), คำด่าที่มี 1 องค์ประกอบ (8.33 %) และคำด่าที่มี 4 องค์ประกอบ (5.56 %) ตามลำดับ

Author Biography

ศราวุธ หล่อดี, สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ศศ.ด. (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยพะเยา

ศศ.ม. (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศศ.บ. (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

References

ธัญญากร บุญมี และอัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2561). อัตลักษณ์เสมือนกับการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบนเครือข่ายสังคมเกมออนไลน์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 6(1), 82-95.

ปิ่น มุทุกันต์. (2541). พุทธวิธีครองใจคน. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.

รุ่งอรุณ ทีฆชุณหเถียร. (2529). ที่ว่าหยาบนั้นฉันใด. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(2), 110-119.

วิสันต์ สุขวิสิทธิ์. (2547). วัจนกรรมการบริภาษในภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีระศักดิ์ บุญญาพิทักษ์. (2536). คำบริภาษในเพลงชาน้อง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศรศักดิ์ ไชยมงคล. (2540). ลักษณะการบริภาษในวรรณคดีประเภทกลอนบทละครและกลอนนิทานสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศราวุธ หล่อดี. (2558). โลกทัศน์ของชาวไทลื้อที่สะท้อนจากคำประสมที่มีคำว่า ‘หัว’ ในภาษาไทลื้อ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 9(2-4), 46-62.

ศราวุธ หล่อดี. (2561). คำเรียกสีและมโนทัศน์เกี่ยวกับสีในภาษาล้านนา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

สมบูรณ์ ศรีระสันต์. (2542). วิเคราะห์ค่านิยมทางสังคมและการใช้ภาษาจากคำบริภาษในบทละครนอกพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

แหย็ม โฆล่า. (2533). คำหยาบ: ที่มาและบทบาทของคำหยาบในภาษาไทยกลาง. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.

อรทัย ชินอัครพงศ์. (2557). การศึกษาคำด่าในภาษาไทยตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์และวัจนปฏิบัติศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2522). สมมติฐานซาเพียร์-วอร์ฟ. วารสารอักษรศาสตร์, 11(2), 20-32.

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2547). พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. เชียงใหม่: มิ่งเมือง.

Allan K, Burridge K. (1991). Euphemism and Dysphemism: Language Used as Shield and Weapon. New York: Oxford University Press.

Sapir E. (1949). The Status of Linguistics as a Science. In Culture, Language, and Personality: Selected Essays. Berkeley and Los Angeles, California: University of California Press, 69.

Whorf BL. (1956). An American Indian model of the universe, The relation of habitual thought and behavior to language. In Language, Thought, and Reality: Selected Writings of Benjamin Lee Whorf. Cambridge, Mass.: M.I.T. Press., 57-64, 135.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-29

How to Cite

หล่อดี ศ., & บุญภา ก. (2021). กลวิธีการสร้างคำด่าภาษาล้านนาในเฟซบุ๊ก. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 9(2), 110–128. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/210068