Study the language to represented female stereotype from Thai Magazines

ผู้แต่ง

  • วรัญญา ยิ่งยงศักดิ์ สาขาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัด พะเยา 56000

คำสำคัญ:

การใช้ภาษา, สตรี, นิตยสารบันเทิงไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การใช้ภาษาในการเสนอภาพสตรีจากนิตยสารบันเทิงไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมการใช้ภาษาที่กล่าวถึงภาพเสนอของสตรีจากนิตยสารบันเทิงไทย และเพื่อวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาที่กล่าวถึงภาพเสนอของสตรีจากนิตยสารบันเทิงไทย ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 – 31 ธันวาคม 2559 รวม 112 ฉบับ โดยผู้วิจัยจะคัดเลือกเฉพาะข้อความพาดหัวที่กล่าวถึงสตรีมาใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการใช้ภาษาที่พบมากที่สุด คือ โครงสร้างคำศัพท์(Lexical Structure) พบทั้งหมด 44 ข้อความ รองลงมาคือ การใช้อุปลักษณ์ (Mataphor) พบทั้งหมด 20 ข้อความ การใช้ทัศนภาวะ (Modality) พบทั้งหมด 5 ข้อความ และน้อยที่สุด คือ การใช้สำนวน (Proverbs) พบทั้งหมด 1 ข้อความซึ่งจากการศึกษากลวิธีการใช้ภาษาทำให้เห็นว่าการเสนอภาพสตรีมักถูกเชื่อมโยงให้เกี่ยวข้องกับเรื่อง ความสวยความงามของผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ เช่น รูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ ฯลฯ รองลงมาจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคลิกลักษณะนิสัยและพฤติกรรมที่แสดงออก

References

กองบรรณาธิการบริษัทสยามอินเตอร์มัลติมีเดีย. [นามแฝง]. (2559). นิตยสาร HOT No. 86 เดือนกันยายน. กรุงเทพฯ: มีดี ออล มีเดีย จำกัด.

จันทนา ทองประยูร และมนวิภา วงรุจิระ. (2550). การออกแบบและจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชนกพร อังศุวิริยะ. (2557). กลวิธีภาษาแสดงความเป็นผู้หญิงในนิตยสารบันเทิงไทยระหว่างปีพ.ศ. 2499 – 2519. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. สงขลา.

นันทนา รณเกียรติ. (2531). ทัศนคติการตั้งชื่อเล่นสองพยางค์ของคนไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประสิทธิ์ แย้มศรี. (2548). ภาพลักษณ์ของผู้หญิงไทยในเพลงลูกทุ่ง: ศึกษากรณีเพลงแนวคาเฟ่. มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มีโชค ราษฎรานุวัต. (2544). การต่อรองทางเพศสภาพในนิตยสารผู้หญิงและผู้ชาย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชยาพร นีรนาทรังสรรค์. (2559). ประสิทธิภาพของกระบวนการสื่อสารเพื่อการศึกษาทางไกลระดับมัธยมศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในโครงการศึกษาสายสามัญด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรินทร เบญจศรี. (2548). การวิเคราะห์เพศสภาพที่ปรากฎในภาษาโฆษณาในนิตยสารไทย.เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วันทนีย์ วาสิกะสิน. (2543). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัสสิกา รุมาคม. (2546). พฤติกรรมการอ่านหนังสือของนักศึกษา มหาวิทยาลัยปทุมธานี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

อมรา พงศาพิชญ์. (2546). เพศสถานะและเพศวิถีในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-21

How to Cite

ยิ่งยงศักดิ์ ว. (2019). Study the language to represented female stereotype from Thai Magazines. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 6(2), 140–152. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/196588