การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนสะท้อน คิดภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2557 มหาวิทยาลัยพะเยา
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์ข้อผิดพลาด, การเขียนบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนสะท้อนคิดภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2557 มหาวิทยาลัยพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อผิดพลาดด้านการสะกดคำ และการเรียบเรียงประโยคในการเขียนภาษาอังกฤษ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยพะเยา ปีการศึกษา 2557 ที่ลงเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน (Fundamental English) ในกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 33 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ งานเขียนของ นักเรียนชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2557 มหาวิทยาลัยพะเยา ที่ลงเรียนวิชา Fundamental English กลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 33 ซึ่งเป็นบทความที่ผู้เรียนเขียนสะท้อนความคิดจากการอ่านจำนวน 2 เรื่อง และเขียนเล่าเรื่องตามอัธยาศัย 1 เรื่อง จากนั้นนำงานเขียนทั้ง 3 ครั้งมาตรวจหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในแต่ละประเภท ได้แก่ การใช้อักษรตัวใหญ่ การสะกดคำผิด การเรียงตำแหน่งประโยคผิด และการใช้สำนวนภาษาไทยในการเขียน โดยนำความถี่ข้อผิดพลาดในแต่ละประเภทมาคิดเทียบเป็นค่าร้อยละ เพื่อศึกษาดูว่าผู้เรียนมีข้อบกพร่องในแต่ละด้านเป็นอย่างไร ซึ่งผลการวิจัยปรากฏดังนี้ คือ ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการสะกดคำในงานเขียนชิ้นแรกมีข้อผิดพลาดสูงที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 49.33 เช่นเดียวกันกับข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเรียบเรียงประโยคในงานเขียนชิ้นแรกก็มีข้อผิดพลาดสูงที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 22.32 นอกจากนี้ ประเภทข้อผิดพลาดจากการสะกดคำ พบว่า นิสิตมีร้อยละข้อผิดพลาดที่เกิดจากการสะกดคำ (สะกดคำผิด) มากที่สุดถึงร้อยละ 96.6 และประเภทการเรียบเรียงประโยค พบว่า นิสิตมีร้อยละข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเรียบเรียงประโยคโดยใช้สำนวนภาษาไทยมากที่สุด ที่ร้อยละ 55.7 จากผลการวิจัยชิ้นนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้สร้างแบบฝึกที่เน้นแก้ไขข้อผิดพลาดในการเขียนของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา สำหรับหนังสือ Fundamental English ต่อไป
References
นงลักษณ์ ศรีวิชัย. (2553). การสำรวจความผิดพลาดทางไวยากรณ์ในการเขียนย่อหน้าภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนในรายวิชาการเขียน 1.
นวลทิพย์ มหามงคล. (2549). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในงานเขียนของนิสิตที่ลงเรียนวิชาภาษาอังกฤษ 2 มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีการศึกษา 2548. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
บำรุง โตรัตน์. (2524). วิธีสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ. ภาควิชาหลักสูตรแลการสอน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิมพิษา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2558). Understanding EFL Students Errors in Writing. Journal of Education and Practice. Vol 6, No 32.
วรลักษณ์ บรรชา. (2556). What Causes Spelling Errors of Thai EFL students. ARECLS, 2013. Vol 10.
ศุภพร สุขชื่น. (2529). ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษในด้านทักษะรับสารกับทักษะส่งสาร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัจฉรา เพ่งพานิช. (2545). Error Analysis of English Usage and Use. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อรษา ร้อยแก้ว. (2551). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ในการเขียนจดหมายสมัครงานเป็นภาษาอังกฤษของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง. ภาควิชาภาษาและสังคม. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม.
Ardianto Seno. (2009). An Error Analysis in English Spelling. Faculty of Letters. Gunadarma Unversity.
Bieber. Nekrasova et all. (2011). The Effectiveness of Feedback for L1-English and L2 Writing Development: A meta-analysis. Northern Arizona University.
Carless D. et all. (2011). Developing Sustainable Feedback Practices. Study in Higher Education. Vol 36. No 4.
Corders, S.P. (1981). Error Analysis and Interlanguage. Oxford. Oxford Unversity Press.
Cornell. P. (2000). A Teaching Technique for Examining the Severity of Students’ Errors in Communicative English. The English Teachers, Vol 3. No 2.
David Adebayo Oluewde. (2008). The Impact of Mother Tongue on Students’ Achievement in English Language in Junior Secondary Certificate Examination in Western Nigeria. Department of Guidance and Counselling. University of Ibadan.
Gaye Wall. (2006). Common Errors in Students’ Written Works. Academic Students Seminar. Sonkla: Thaksin University.
Grigonyte and Hammarberg. (2014). Pronunciation and Spelling: The Case of Misspelling in Swedish L2 Written Essays. Department of Linguistic. Stockholm University.
Ibraham Abushihab. (2014). An Analysis of Grammatical Errors in Writing made by Turkish Learners of English as a Foreign Language. International Journal of Linguistic. Vol 6. No 4.
Lush. B. (2002). Writing Errors: A study of Thai Students’ writing errors. Thai TESOL Bullentin, Vol 15. No 1.
Niniki Suryani. (2014). The Emergence of L1 Grammar in The gammar of L2 (English) in Students’descrptive Text Writing of the 10th Grade Students. Education Department. Graduate School. Muhammadiyah University of Surakarta.
Selinker, L. (1972). Interlanguage. IRAL, International Review of Applied linguistic Teaching. Vol 10. Issue 1-4.
Shelly Perterson. (2010). Improving Students’ writing Using Feedback as a Teaching Tools. The Literacy and Numveracy Secretarial. October 2010.
Wilga M. Rivers. (1981). Teaching foreign Language skills. The University of Chicago press book.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.