พิธีกรรมเฮ็ดเวียก ของชาวบ้านหนองหลวง ตำบลโคกงาม อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย : ขั้นตอน ความเชื่อ และการดำรงอยู่
คำสำคัญ:
พิธีกรรมเฮ็ดเวียกบ้านหนองหลวง, องค์ประกอบ, ขั้นตอน, ความเชื่อ, การดำรงอยู่บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ขั้นตอน ความเชื่อ และการดำรงอยู่ของพิธีกรรมเฮ็ดเวียกของชาวบ้านหนองหลวง ตำบลโคกงาม อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โดยศึกษาด้วยวิธีการทางคติชนวิทยา กล่าวคือ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการปฏิบัติงานภาคสนามในแหล่งข้อมูลเพื่อสังเกตพิธีกรรม ตลอดจนสัมภาษณ์วิทยากรที่มีคุณสมบัติตรงกับคุณสมบัติที่กำหนดไว้ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับพิธีกรรม ความเชื่อ และการดำรงอยู่ แล้วนำเสนอด้วยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า ชาวบ้านหนองหลวงมีความเชื่อเรื่องเคราะห์ โดยมีการประกอบพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์ที่มีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “พิธีกรรมเฮ็ดเวียก” ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ พิธีกรรมเฮ็ดเวียกหมู่บ้าน, พิธีกรรมเฮ็ดเวียกเฮียน (เรือน) และพิธีกรรมเฮ็ดเวียกคน โดยพิธีกรรมเฮ็ดเวียกทั้ง 3 ประเภทมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 4 อย่างคือ บุคคลที่เข้าร่วมในพิธีกรรม สถานที่ในการประกอบพิธีกรรม วันเวลาในการประกอบพิธีกรรม และเครื่องประกอบในพิธีกรรม โดยมีขั้นตอนของพิธีกรรมหลัก ๆ 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนเตรียมการและขั้นตอนการดำเนินการ ในด้านความเชื่อพบว่า ชาวบ้านหนองหลวงมีความเชื่อต่อพิธีกรรมเฮ็ดเวียกอยู่ 2 ลักษณะ คือ ความเชื่อต่อการจัดพิธีกรรมเฮ็ดเวียก และความเชื่อต่อองค์ประกอบของพิธีกรรมเฮ็ดเวียก ในด้านของปัจจัยที่ทำให้พิธีกรรมเฮ็ดเวียก ของชาวบ้านหนองหลวงยังดำรงอยู่ได้ คือ พิธีกรรมเฮ็ดเวียกมีบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญต่อหมู่บ้านและชาวบ้านทั้งชาวบ้านหนองหลวงมีความเชื่อ ความศรัทธาต่อพิธีกรรมเฮ็ดเวียก และมีการสืบทอดความเชื่อดังกล่าวต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้พิธีกรรมเฮ็ดเวียกดำรงอยู่คู่กับชาวบ้านหนองหลวงตลอดมา
References
กรานต์จนาพร คำป้อม. (2547). พิธีสะเดาะเคราะห์ของชาวบ้านหนองตูม ตำบลหนองตูม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.). มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, เลย.
จำเนียร พันทวี. (2540). พิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ของชาวบ้านหมูม้น กิ่งอำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ฐานิตย์ สุพรม. (2549). การจัดทำข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาเรื่องพิธีส่งเคราะห์ ของชุมชนบ้านผาตั้ง ตำบลขุนควร อำเภอปง จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
บุญยงค์ เกศเทศ. (2536). พิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ชนพื้นถิ่นอีสาน. วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(1), 62-71.
พัชรินทร์ สมหอม. (2554). ประเพณีปะลองเปิงด้าจ์ก (บุญส่งข้าวแช่) : ความหมาย บทบาทและปัจจัยการดำรงอยู่ในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(ศศ.ม.). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.
ไพรวัลย์ ชมภูพาน. (2540). พิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ของชาวบ้านหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัด มหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
วรรณภา จันทร์อ่อน. (2557). การสื่อความหมายทางวัฒนธรรมและพลวัตของพิธีกรรมแต่งแก้เสียเคราะห์ของชาวไทพวน บ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
วันเพ็ญ กาบทอง. (2547). พิธีสะเดาะเคราะห์ที่วัดโบสถ์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.