ประสบการณ์ทางจิตใจของนักจิตวิทยาการปรึกษาที่ให้บริการแก่วัยรุ่นในบริบทโรงเรียน

Main Article Content

สุดารัตน์ โมสิกะ
พูลทรัพย์ อารีกิจ
ณัฐสุดา เต้พันธ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจประสบการณ์การทำงานรวมถึงกระบวนการภายในจิตใจที่เกิดขึ้นในการทำงานของนักจิตวิทยาการปรึกษาที่ให้บริการแก่วัยรุ่นในบริบทโรงเรียน วัสดุและวิธีการ การวิจัยครั้งนี้มีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 6 ราย ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาที่ให้บริการแก่วัยรุ่นในบริบทโรงเรียน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยคำถามแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ (interpretative phenomenology analysis; IPA) ผล ผลการวิจัยพบแก่นสาระของประสบการณ์ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) บทบาทของนักจิตวิทยาการปรึกษาในบริบทโรงเรียน ครอบคลุมบทบาทเชิงรับ บทบาทเชิงรุก และบทบาทการเป็นครู (2) ความท้าทายของนักจิตวิทยาการปรึกษาในบริบทโรงเรียน ได้แก่ ความท้าทายด้านการทำงานและความท้าทายด้านอารมณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาในบริบทโรงเรียน (3) กระบวนการภายในจิตใจและสิ่งที่สนับสนุนการทำงานของนักจิตวิทยาการปรึกษาในบริบทโรงเรียน ครอบคลุมการกลับมาเชื่อมโยงกับตัวเอง การยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ภายนอก และการได้รับกำลังใจจากคนรอบข้าง (4) การเปลี่ยนแปลงภายในต่อตนเองและวิชาชีพ ได้แก่ การเกิดความรู้สึกเชิงบวกต่อตนเอง สรุป ข้อค้นพบจากการศึกษานี้ช่วยให้เข้าใจบทบาทของนักจิตวิทยาการปรึกษาในโรงเรียน ความท้าทายที่ต้องเผชิญในฐานะนักจิตวิทยาการปรึกษา กระบวนการภายในจิตใจและสิ่งที่สนับสนุนการทำงานรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกที่มีต่อการทำงานในอาชีพนักจิตวิทยาการปรึกษา เพื่อช่วยให้มีวิธีการในการรับมือกับความท้าทายและมองเห็นปัจจัยที่ช่วยเอื้อในการทำงานของตนเองได้ ซึ่งสามารถนำมาเป็นแนวทางในการสนับสนุนการทำงานของนักจิตวิทยาการปรึกษาที่ให้บริการแก่วัยรุ่นในบริบทโรงเรียน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

American School Counselor Association. (2003). The ASCA National Model: A Framework for School Counseling Programs. Professional School Counseling, 6(3), 165–168.

Dahir, C., & Buchanan. (2015). Guide to practicum and internship for school counselors-in-training. Routledge.

Educational Equality Fund. (2022, April 15). Highlighting mental health issues among children, including the role of psychologists in schools that Thailand should implement. https://www.eef.or.th/articla-mental-health-020422/ (in Thai).

Herlihy, B., & Corey, G. (2015). Boundary issues in counseling: Multiple roles and responsibilities (3rd ed.). American Counseling Association.

Larkin, M., & Thompson, A. R. (2012). Interpretative phenomenological analysis in mental health and psychotherapy research. Qualitative Research Methods in Mental Health and Psychotherapy, 101-116.

Lee, C. S., & Wong, Y. J. (2020). Racial/ethnic and gender differences in the antecedents of youth suicide. Cultural Diversity and Ethnic Minority Psychology, 26(4), 532-543.

Lincoln, Y. S., & Guba, E. G. (1985). Naturalistic inquiry. Sage.

Rones, M., & Hoagwood, K. (2000). School-based mental health services: A research review. Clinical Child and Family Psychology Review, 3(4), 223-241.

Ryan, R. M., & Deci, E. L. (2000). Self-determination theory and the facilitation of intrinsic motivation, social development, and well-being. American Psychologist, 55(1), 68–78.

Smith, J. A, Flower, P & Larkin, M. (2009). Interpretative phenomenological analysis. SAGE Publications.

Sylvester-Nwosu, P., Martin, M., & Martin, D. (2024). The struggle between self-care and burnout among school counselors. Journal of Counselor Practice, 15(1), 91-122.

Tangthanakan, K. & Achawamethi, T. (2007). The roles and responsibilities of school psychologists as perceived by undergraduate students of the Faculty of Education, Chulalongkorn University. Journal of Research Methodology (JRM), 20(3), 293-310. (in Thai).

Ungamporn, J. (2018). Factors contributing to the success of establishing mental health services in schools under the Bangkok Metropolitan Administration. Journal of Educational Research, Faculty of Education, Srinakharinwirot University, 13(1), 33-44. (in Thai).

UNICEF. (2021). Children and their families in a changing Thai society.

World Health Organization. (2021, October 10). Adolescent mental health. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/adolescent-mental-health

Zeynep. (2022). Exploring self-care experiences of school counselors: A qualitative study. School Psychology International, 43(3), 253-270.