ผลของโปรแกรมการบำบัดในถาดทรายต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เคยมีประสบการณ์การถูกกลั่นแกล้งรังแก

Main Article Content

ปุณณภา จิราวัฒนกุล
ณัฐสุดา เต้พันธ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การศึกษาแบบการทดลองกลุ่มเล็ก (single-case experimental design) รูปแบบ A-B ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการบำบัดในถาดทรายต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เคยมีประสบการณ์การถูกกลั่นแกล้งรังแก วัสดุและวิธีการ: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เคยมีประสบการณ์การถูกกลั่นแกล้งรังแกและเป็นผู้มีคะแนนการเห็นคุณค่าในเชิงลบจำนวน 5 คน โดยประเมินจากแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองของ Rosenberg (2006) กลุ่มตัวอย่างทุกคนจะถูกเข้าร่วมการทดลอง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะเส้นฐาน (A) ประกอบด้วยการวัดระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง โดยไม่ผ่านการแทรกแซงใด ๆ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ต่อเนื่องเป็นเวลา 4 สัปดาห์ 2) ระยะจัดกระทำ (B) เป็นการเข้ารับโปรแกรมการบำบัดในถาดทรายรายบุคคลสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที ต่อเนื่องเป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยวัดผลระดับการเห็นคุณค่าในตนเองภายหลังการเข้าร่วมการบำบัดทุกครั้ง และ 3) ระยะติดตามผล (F) เป็นการวัดระดับการเห็นคุณค่าในตนเองภายหลังจากการเข้ารับการบำบัดเสร็จสิ้นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ต่อเนื่องเป็นเวลา 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ยคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละระยะ การวิเคราะห์จากกราฟ และค่าขนาดอิทธิพล ผลการศึกษา: พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโปรแกรมการบำบัดในถาดทรายมีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองที่สูงขึ้นในระยะจัดกระทำและระยะติดตามผลเมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนในระยะเส้นฐาน สรุป: โปรแกรมการบำบัดในถาดทรายเป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาระดับการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เคยมีประสบการณ์การถูกกลั่นแกล้งรังแก

Article Details

How to Cite
จิราวัฒนกุล ป., & เต้พันธ์ ณ. (2022). ผลของโปรแกรมการบำบัดในถาดทรายต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เคยมีประสบการณ์การถูกกลั่นแกล้งรังแก. วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online), 53(3), 64–75. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/261165
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Armstrong, S. A., Foster, R. D., Brown, T., & Davis, J. O. A. N. (2017). Humanistic sandtray therapy with children and

adults. In E. S. Leggett, J. N. Boswell, & N. C. C. LPC-S (Eds.), Directive play therapy: Theories and techniques

(pp. 217-253). Springer Publishing Company.

Corey, G. (2011) . Theory and practice of counseling and psychotherapy (9th ed.). Cengage Learning. Department of Mental Health. (2019, December 20) . 9 ways to cope when your child is bullied atschool. https://www.dmh.

go.th/news-dmh/view.asp?id=30122 (in Thai).

Desmond, K. J., Kindsvatter, A., Stahl, S., & Smith, H. (2 0 1 5 ) . Using creative techniques with children who have

experienced trauma. Journal of Creativity in Mental Health, 10(4 ), 439-455.

Garrett, M. (2014) . Beyond play therapy: Using the sandtray as an expressive arts intervention in counselling adult

clients. Asia Pacific Journal of Counselling and Psychotherapy, 5(1), 99-105.

Gladden, R. M., Vivolo-Kantor, A. M., Hamburger, M. E., & Lumpkin, C. D. (2014). Bullying surveillance among

youths: Uniform definitions for public health and recommended data elements. National Center for InjuryPrevention and Control, Centers for Disease Control and Prevention.

Gladding, S. T. (1992). Counseling as an art: The creative arts in counseling. American Association for Counseling

and Development.

Heatherton, T. F., & Wyland, C. L. (2003). Assessing self-esteem. In S. J. Lopez & C. R. Snyder (Eds.), Positive psychological assessment: A handbook of models and measures (pp. 219-233). American Psychological Association.

Hinduja, S., & Patchin, J. W. (2015). Bullying beyond the schoolyard: Preventing and responding to cyberbullying (2nd

ed., pp. 45-68). Corwin Press-Sage Publication.

Homeyer, L. E., & Sweeney, D. S. (2017). Sandtray therapy: A practical manual (3rd ed.). Routledge.

Ma, H.-H. (2006). An alternative method for quantitative synthesis of single-subject researches: Percentage of data points exceeding the median. Behavior modification, 30(5), 598-617.

Matsui, T., Tsuzuki, Y., Kakuyama, T., & Onglatco, M.-L. (1996). Long-term outcomes of early victimization by

peers among Japanese male university students: Model of a vicious cycle. Psychological Reports,

(3), 711-720.

Minev, M., Petrova, B., Mineva, K., Petkova, M., & Strebkova, R. (2018). Self-esteem in adolescents. Trakia Journal of

Sciences, 16(2), 114-118.

O’Moore, M., & Kirkham, C. (2001) . Selfesteem and its relationship to bullying behaviour. Aggressive Behavior: Official Journal of the International Society for Research on Aggression, 27(4), 269-283.

Olweus, D. (1994). Bully at school: Long-term outcomes for the victims and an effective school-based intervention

program. In L. Huesmann (Ed.), Aggressive behavior: Current perspectives (pp. 97-129). Plenum Press.

Poston, B. (2009) . Maslow’s hierarchy of needs. The surgical technologist,41(8), 347-353.

Rigby, K. (2005). Bullying in schools and the mental health of children. Journal of Psychologists and Counsellors in

Schools, 15(2), 195-208.

Rosenberg, M. (2006). Rosenberg self-esteem scale (RSE). In J. Ciarrochi & L. Bilich (Eds.), Acceptance and commitment therapy. Measures package (pp. 61). University of Wollongong, School of Psychology.

Shen, Y.-P., & Armstrong, S. A. (2008). Impact of group sandtray therapy on the self-esteem of young adolescent girls. The Journal for Specialists in Group Work, 33(2), 118-137.

Wolke, D., & Lereya, S. T. (2015). Long-term effects of bullying. Archives of Disease in Childhood, 100(9), 879-885.