การศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของผลการทดสอบเบนเดอร์ วิชวล มอเตอร์ เกสตอลท์ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 ระหว่างผู้ป่วยโรคจิตเภทและบุคคลปกติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความแตกต่างของผลการทดสอบจากแบบทดสอบเบนเดอร์ วิชวล มอเตอร์ เกสตอลท์ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 ระหว่างผู้ป่วยโรคจิตเภทและบุคคลปกต
วัสดุและวิธีการ กลุ่มศึกษา เป็นผู้ป่วยโรคจิตเภท 35 คน กลุ่มควบคุม เป็นบุคคลปกติ 35 คน ทำการเลือกตัวอย่าง แบบจำเพาะเจาะจง(purposive sampling)โดยใช้การจับคู่ตามคุณลักษณะด้านเพศและอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานแบบ pair t-test เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของผลการทดสอบทั้งสองกลุ่ม
ผลการศึกษา ในส่วนของ Global Standard Scoring ผู้ป่วยโรคจิตเภทได้คะแนนเฉลี่ยทั้งใน Copy Phase และRecall Phase ต่ำกว่าบุคคลปกติ ในส่วนของ supplemental tests พบว่าผู้ป่วยโรคจิตเภทได้คะแนนเฉลี่ยทั้งในMotor Test และ Perception Test ต่ำกว่าบุคคลปกติ
สรุป แบบทดสอบเบนเดอร์ วิชวล มอเตอร์ เกสตอลท์ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 สามารถแสดงให้เห็นความแตกต่างของผลการทดสอบระหว่างผู้ป่วยโรคจิตเภทและบุคคลปกติได้ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของนักจิตวิทยาคลินิกในการนำไปใช้ในการตรวจวินิจฉัย วางแผนการบำบัดรักษาโรคจิตเภทต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เรื่องที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยาคลินิกแล้วถือเป็นลิขสิทธิ์การเผยแพร่โดยวารสารจิตวิทยาคลินิกแต่เพียงผู้เดียว การตีพิมพ์หรือเผยแพร่ซ้ำในที่อื่นต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารฯ
References
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดวงรัตน์ แผ้วพลสง. (2554). การศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของผลการทดสอบเบนเดอร์วิชวลมอเตอร์ เกสตอลท์ ระหว่างผู้ป่วยโรคจิตเภทและบุคคลปกติ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหา
บัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
พิเชษฐ์ อุดมรัตน์, และสรยุทธ วาสิกนานนท์. (2552). ตำราโรคจิตเภท. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.
มาโนช หล่อตระกูล, และปราโมทย์ สุคนิชย์. (2548). โรคจิตเภท (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
Brannigan, G., & Decker, S. (2003). The Bender Visual-Motor Gestalt I Examiner’s ManuaI. Itasca IL: Riverside Publishing.