ผลกระทบต่อตัวตนของผู้ที่มีประสบการณ์เป็นผู้นำวินัยในมหาวิทยาลัยนเรศวร

Main Article Content

ณัฐพล สัตยมงคล
อนรรฆ จันทร์รังสี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบต่อตัวตนของผู้ที่มีประสบการณ์เป็นผู้นำวินัย ในมหาวิทยาลัยนเรศวร


วัสดุและวิธีการ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และเป็นการศึกษาแบบปัจเจกบุคคล (idiographic study) ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (semi-structure interview) จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ (Interpretative Phenomenological Analysis: IPA) การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) และแบบลูกโซ่ (snowball sampling) โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 คน


ผลการศึกษา มีการเกิดผลกระทบต่อตัวตนใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ความเครียด และแรงกดดันที่เกิดขึ้น (2) มีตัวตนทางสังคม และอำนาจมากขึ้น จากข้อค้นพบในการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้นำวินัยเกิดความเครียดและแรงกดดันที่สูง นอกจากนี้การเป็นผู้นำนิสิตมีผลต่อความรู้สึกว่าตัวเองมีตัวตนและอำนาจมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยควรตระหนักว่านิสิตที่รับหน้าที่ผู้นำวินัยอาจได้รับผลกระทบทางลบต่อสุขภาพจิต


สรุป นิสิตที่รับหน้าที่ผู้นำวินัยควรจะมีระบการช่วยเหลือสนับสนุนทางสุขภาพจิตรองรับ และควรได้รับการอบรมฝึกฝนที่เพียงพอก่อนที่จะมาปฎิบัติหน้าที

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ณพล หงสกุลวสุ. (2559). การรับน้องในมหาวิทยาลัยไทยสร้างความสามัคคี หรือสร้างความแตกแยก?.ประชาไท. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2016/09/67981.
ณหทัย วงศ์ปการันย์ และทินกร วงศ์ปการันย์. (2558). บุคลิกภาพแปรปรวน: การประเมินและการรักษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: พงษ์สวัสดิ์การพิมพ์.
นพมาศ อุ้งพระ. (2551). ทฤษฎีบุคลิกภาพและการปรับตัว (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นันทวัช สิทธิรักษ์, กมลเนตร วรรณเสวก, กมลพร วรรณฤทธิ์, ปเนต ผู้กฤตยาคามี, สุพร อภินันทเวช, และพนม เกตุมาน. (2559). จิตเวชศิริราช DSM – 5 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.
พรรณยุพา นพรัก. (2537). จิตวิทยาสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 1). พิษณุโลก: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. (2559, 6 กันยายน). เสน่ห์ของห้องเชียร์. มติชนออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/news/275053.
มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2558, 25 พฤษภาคม). การจัดกิจกรรมรวมนิสิตใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร.ประกาศมหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุจินต์ ศักดิ์นิติจารุชัย. (2538). ผลการใช้บทบาทสมมติที่มีต่อความเป็นผู้นำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
สุวิไล เรียงวัฒนสุข. (2558). จิตวิทยาสิ่งแวดล้อม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Shuttleworth, M. (2008). Stanford Prison Experiment. Retrieved from http://explorable.com/stanford-prison-experiment.
Zimbardo, P. G., Maslach, C., & Haney, C. (2000). Reflections on the Stanford Prison Experiment: Genesis, transformations, consequences. In T. Blass (Ed.), Obedience to authority: Current perspectives on the Milgram paradigm (pp.193-237). Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum.
Monica, M. (2013). Police and Stress. Retrieved from https://www.academia.edu/7173075/ Police_and_Stress.
Osemeke, M., & Adegboyega, S. (2017). Critical review and comparism between Maslow, Herzberg and McClelland’s theory of needs. Funai Journal of Accounting,
Business and Finance, 1(1), 161-173.
Smith, J. A., Flowers, P., & Larkin, M. (2009). Interpretative Phenomenonlogical Analysis. London: Sage.