การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพมาตรวัดความคาดหวังในตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย: การว ิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

Main Article Content

ธนวัฒน์ มณี
อารยา ผลธัญญา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพมาตรวัดความคาดหวังในตนเองสำหรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน


วิธีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi stage cluster randomsampling) โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่มีอายุ 15-18 ปี ที่กำลังศึกษาในแผนการเรียนปกติ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 300 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน


ผลการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า มาตรวัดความคาดหวังในตนเองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2= 125.083, df = 43, p = .000, GFI = .932, CFI = .882, SRMR = .0574) โดยมาตรวัดความคาดหวังในตนเองในการวิจัยครั้งนี้มีองค์ประกอบทั้งหมด 2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบคุณค่าของผลลัพธ์ และองค์ประกอบเครื่องมือที่เป็นสื่อ


สรุป มาตรวัดความคาดหวังในตนเองเป็นมาตรวัดที่มีคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ในการประเมินระดับของความคาดหวังในตนเองในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ชมนาด ม่วงแก้ว. (2555). ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการงานกิจกรรมนักศึกษาและงานทะเบียนนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กรุงเทพฯ.
ไชยันต์ สกุลศรีประเสริฐ, อารยา ผลธัญญา, ทัศนีย์ หอมกลิ่น, กุลวดี ทองไพบูลย์, พิมพ์มาศ ตาปัญญา และรติพันธ์ ถาวรวุฒิชาติ. (2560). ความตรงและความเที่ยงของแบบสอบถามแรงจูงใจในการดื่มสุราฉบับปรับปรุงในนักศึกษามหาวิทยาลัย (บทความวิจัย).วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย,62(3), 223-232.
นารี จิตรรักษา. (2549). พัฒนาการวัยรุ่น. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
พงษ์จันทร์ ภูษาพานิชย์. (2561). แรงจูงใจในการทำงาน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พรชัย พุทธรักษ์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัว กับ ความคาดหวังความวิตกกังวลในการเรียน และการเผชิญปัญหาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (รายงานวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
พรพิมล ริยาย, คุณากร คุณาสวัสดิ, จารุณี ปัญควนิช, เมทินี ทนงกิจ. (2556). ความคาดหวังของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ที่มีต่ อ เ นื้ อ ห า ร า ย วิช า ก า ร ศึก ษ า ร ะ ดับ
อุดมศึกษา (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่. (2562). ข้อมูลจำนวนนักเรียน/นักศึกษาแต่ละสังกัดในจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2562. สืบค้น 14 กันยายน 2562, จาก https://sites.google.
com/view/infocmpeo 62/.
Abasi, H. M., Eslami, A. A., Rakhshani, F. (2015). Introducing an Outcome Expectation Questionnaire and Its Psychometric Properties Regarding Leisure Time Physical Activity for Iranian Male Adolescent. Iran Red Crescent Med J. May; 17(5): e21509 DOI: 10.5812/ircmj.21509.
Cohen, J. (1977). Statical power for the behavioral sciences. 2nd ed. New York: Academic Press.
Costa, V., & Sarmento, R. (2017). Confirmatory Factor Analysis: A Case study. Portugal, FEUP.
Erikson, E. H. (1968). Identity Youth and Crisis. New York: W. W. Norton & Company.
Goffin, R. D. (2007). Assessing the adequacy of structural equation models: Golden rules and editorial policies. Personality and Individual Differences, 42, 831-839.
Kelloway, E. K. (2015). Using Mplus for Structural Equation M o d e l i n g ; A Researcher’s Guide. CA: Sage Publications.
Schumacker, R. E. & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. (3rd ed.). New jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Vallerand, J. R., Pelletier G. L., Blais, R. M., Briere, M. N., Senecal, B. C., Vallieres, F. E. (1993). Student expectations Questionnaire: Academic Motivation
Scale (AMS-C 28). Educational and Psychological Measurement, vols. 52 and 53.
Vroom, H. V. (1964). Work and Motivation. New York: Wiley and Sons Inc.
Yee, B. H. (1981). The dynamics and management of burnout. Nursing Management. 12, 14-16.