การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก
วัสดุและวิธีการ ใช้รูปแบบการประเมินแบบจำลองซิป (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ประเมินใน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์ประจำหลักสูตร ผู้ใช้บัณฑิต ศิษย์เก่า และนักศึกษาปัจจุบันของหลักสูตร รวมทั้งสิ้น 119 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามมาตราประมาณค่าแบบลิเคิร์ทแบ่งเป็น 5 ระดับและข้อคำถามแบบปลายเปิด ผ่านการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา (1) การประเมินด้านบริบท ได้แก่ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร และเนื้อหาของหลักสูตร โดยภาพรวมความเห็นของอาจารย์ประจำหลักสูตร ผู้ใช้บัณฑิต ศิษย์เก่า และนักศึกษา พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (2) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ อาจารย์ ระยะเวลา วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่จัดการเรียนการสอน โดยภาพรวมตามความเห็นของผู้เรียน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (3) การประเมินด้านกระบวนการ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการประสานงาน โดยภาพรวมตามความเห็นของผู้เรียน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (4) การประเมินด้านผลผลิต ได้แก่ สมรรถนะใน 5 ด้านของผู้เรียน ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยภาพรวมตามความเห็นของอาจารย์ ผู้ใช้บัณฑิต ศิษย์เก่า และนักศึกษา พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
สรุป การดำเนินการเรียนการสอนของหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก มีความเหมาะสมมากในทุกด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต
Article Details
เรื่องที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยาคลินิกแล้วถือเป็นลิขสิทธิ์การเผยแพร่โดยวารสารจิตวิทยาคลินิกแต่เพียงผู้เดียว การตีพิมพ์หรือเผยแพร่ซ้ำในที่อื่นต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารฯ
References
คณะกรรมการดำเนินงานหลักสูตรการปฏิบัติงานด้านจิตวิทยาคลินิก. (2558). หลักสูตรการฝึกปฏิบัติงานด้านจิตวิทยาคลินิก. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสชิ่ง.
คณะกรรมการดำเนินงานหลักสูตรการปฏิบัติงานด้านจิตวิทยาคลินิก. (2559). สรุปผลการประเมินการฝึกอบรมหลักสูตร “การปฏิบัติงานด้านจิตวิทยาคลินิก” รุ่นที่ 7/2558.
เอกสารนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานหลักสูตรการปฏิบัติงานด้าน
จิตวิทยาคลินิก, กลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต, นนทบุรี.
ดนัย เทียนพุฒ. (2525). การบริหารและประเมินโครงการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์.
ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. (2550). ระบบพัฒนาและการประกันคุณภาพหลักสูตรบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล: โครงการสัมมนาประธานหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ประจำปี 2550; 28 พ.ค. 2550 ; อาคารบัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
บัณฑิตวิทยาลัย. (2550). การสำรวจความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้างต่อการปฏิบัติงานของ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งระดับปริญญาโท ปริญญาเอกและระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๘ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
พัชนี สมพงษ์. (2555). การประเมินโครงการศึกษาอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาคลินิก. (2560). คู่มือนักศึกษาปริญญาโท ประจำปีการศึกษา 2561.
ราชกิจจากนุเบกษา. (2561). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑. เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๑๙๙ ง ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๑.
วิบลูย์ บุญยธโรกุล. (2545). คู่มือวิทยากรและผู้จัดการฝึกอบรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
สงัด อุทรานันท์. (2527). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มิตรสยาม.
สมคิด บางโม. (2549). เทคนิคการอบรมและการประชุม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จูนพับลิชชิ่ง.
สมชาติ กิจยรรยง. (2545). เทคนิคการเป็นวิทยากรฝึกอบรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. (2543). คู่มือการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท วงศ์กมล โปรดักชั่น จำกัด.
สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2557). มาตรฐานการประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อาร์ตคลอลิไฟท์.
สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์, กนกรัตน์ สุขะตุงคะ, จริยา จันตระ, กีรติ บรรณกุลโรจน์, สร้อยสุดา อิ่มอรุณรักษ์. (2546). การพัฒนาแบบประเมินตนเองตามบทบาทนักจิตวิทยาคลินิกไทย. วารสารจิตวิทยาคลินิก 2560; 6(2): 70-87.
สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์, ธนยศ สุมาลย์โรจน์, สร้อยสุดา อิ่มอรุณรักษ์, และณัชพล อ่วมประดิษฐ์. สมรรถนะของบัณฑิตหลักสูตรวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในมุมมองของผู้บังคับบัญชา. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 2560; 6(2): 49-59.
เสน่ห์ จุ้ยโต. (2544). การฝึกอบรมเชิงระบบ. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Phattharayuttawat, S., Chantra, J., Chaiyasit, W., Bannagulrote, K., Imaroonrak, S., Sumalrot, T., & Auampradit, N. (2009). An evaluation of the curriculum of a graduate programme in clinical psychology. South-East Asian J Med Educa, 3, 14-9.
Stufflebeam, D.L. & Shinkfield, A.J. (2007). Evaluation theory, models, and applications. San Francisco, California: Jossey-Bass.