ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์กลวิธีการกำกับตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์บริการสาธารณสุข 15 ลาดพร้าว สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร Effects of Health Education Program Applying Self Regulation on Foot care Behavior Change of Diabetes Type 2 Patients in Public Health Center 15 Ladprao, Department of Health, Bangkok

Main Article Content

อุทัยวรรณ อำพรรณขาว

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยนี้ เป็นการศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์กลวิธีการกำกับตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลเท้า ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของศูนย์บริการสาธารณสุข 15 ลาดพร้าว สำนักอนามัย กรุงเทพมหานครตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่ ศูนย์บริการสาธารณสุข 15 ลาดพร้าว ได้รับการลงทะเบียนในคลินิกเบาหวานเพศชายและหญิงป่วยด้วยโรคเบาหวาน 10 ปีขึ้นไป แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ การเก็บข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามก่อนและหลังการทดลอง ที่สร้างขึ้นตามโครงสร้างเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.835 จากนั้นนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ก่อนและภายหลังทดลอง คะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพเท้า ของกลุ่มทดลองมีความแตกต่างเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 2) ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบหลังการทดลอง ในส่วนของความรู้เรื่องโรคเบาหวาน มีความแตกต่างเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


คำสำคัญ: โปรแกรมสุขศึกษา การกำกับตนเอง พฤติกรรมการดูแลเท้า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 


Abstract


            This research is a quasi-experimental study. The purpose of this research was to study the effect of a health education program by applying self-regulation strategies in modifying foot care behaviors. In patients type 2 diabetes at the Public Health Center 15 Ladprao Department of health, Bangkok the sample used in this study was Type 2 diabetes patients who come to receive services at Public Health Service Center 15 Ladprao was enrolled in male and female diabetes clinics with diabetes mellitus 10 years or more, divided into experimental and comparison each groups 30 people. The trial period was 8 weeks. Research instruments Questionnaire before and after the experiment created according to the content structure By 5 experts with a confidence value of 0.835, then analyzed by statistical percentage, mean, standard deviation. And testing the difference between mean The statistical significance was set at the 0.05 level.  The research of the health education program applying Self-regulation on foot care behavior of diabetes type 2 patients in Public Health Center 15 Ladprao Department of health, Bangkok were found us follows 1) The mean score of diabetes knowledge, self-efficacy and foot care practice were higher significantly than before experiment at the 0.05 level. 2) The mean score of diabetes knowledge were higher significantly than comparison group the 0.05 level.


Keywords: health education program, Self-regulation, Foot care behavior, Type 2 diabetic patients,

Article Details

Section
Research Articles