ประสิทธิผลการจัดการสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • Thanut Jaklang ผู้อำนวยการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลการจัดการสุขภาพ, ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การศึกษาครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการจัดการสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และสภาพปัจจุบันปัจจัยด้านการบริหารจัดการของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ด้านการสนับสนุนทางสังคม ด้านศักยภาพบุคคล และด้านการจัดการสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จังหวัดขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จังหวัดขอนแก่น จำนวน 613 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.78 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และอัตรา

            ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีประสิทธิผลการจัดการสุขภาพในด้านอัตราการลดลงของระดับน้ำตาลในเลือด อัตราการลดลงของดัชนีมวลกาย และอัตราการลดลงของความยาวเส้นรอบเอว ในระยะเวลา 3 ปี พ.ศ. 2558-2560 ร้อยละ 1.31, 0.16 และ 0.49 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับต่ำทั้ง 3 ตัวแปร และสภาพปัจจุบันปัจจัยด้านการบริหารจัดการของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ กลุ่มตัวอย่างได้รับนโยบายการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับสูง ได้รับประสิทธิภาพการขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ได้รับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมส่งเสริมสุขภาพ และการควบคุมการส่งเสริมสุขภาพในระดับสูง ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างได้รับการมีส่วนร่วมของบุคคลในครอบครัว ความร่วมมือของบุคลากรสาธารณสุข และการมีส่วนร่วมของชุมชนอยู่ในระดับสูง ปัจจัยด้านศักยภาพบุคคล กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานอยู่ในระดับปานกลาง ความเชื่อด้านสุขภาพอยู่ในระดับสูง ความตั้งใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และภาวะอารมณ์และความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยด้านการจัดการสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างมีการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการควบคุมอารมณ์และความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง 

References

กฎกระทรวง การแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. (2560, มิถุนายน 14). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 64 ก. หน้า. 12-13.

เขตบริการสุขภาพที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. (2560). ประชากร 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรอง และเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน เขตบริการสุขภาพที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2559. [Online] https://kkhdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source= formated/screen_risk.php&cat_id=6966b0664b89805a484d 7ac96c6edc48&id=323a75335033c5976566d99f5ad53b33

ณิชารีย์ ใจคำวัง. (2558). “พฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง: กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากคะยาง จังหวัดสุโขทัย”. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3 (2), 173-184.

ประภาพรรณ โคมหอม. (2554). รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอน
ดู่. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิริศักดิ์ พรมแพน. (2554). การพัฒนารูปแบบการป้องกันและดูแลผู้ป่วยเบาหวานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์ การพัฒนาภูมิภาค บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขมหาวิทยาลัยมหิดล. (2553). แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย พ.ศ. 2554-2563. [Online] https://wops.moph.go.th/ops/oic/data/20110316100703_1_.pdf [11 มกราคม 2559]

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2559). สรุปผลการนิเทศติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุข ระดับเครือข่ายบริการสุขภาพ (CUP) จังหวัดขอนแก่นปีงบประมาณ 2559. ขอนแก่น : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.

สำนักนโยบายและแผน กระทรวงสาธารณสุข. (2558). จำนวนและอัตราผู้ป่วยในด้วยโรคเบาหวาน (E10-E14) ต่อประชากร 100,000 คน (รวมทุกการวินิจฉัยโรค) ปี พ.ศ.2550-2557 จำแนกรายจังหวัด เขตบริการสาธารณสุข. [Online] https://thaincd.com/information-statistic/non-communicable-disease-data.php [11 มกราคม 2559]

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2559). รายงานประจำปี 2558 ANNUAL REPORT 2015. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). จำนวนและอัตราโรคไม่ติดต่อประจำปีปฏิทิน พ.ศ. 2550-2558. [Online] https://www.thaincd.com/2016/mission3 [11 เมษายน 2560]

เอชโฟกัส. (2017). เดินหน้าคณะกรรมการสุขภาพครบทุกอำเภอภายในปี 2561 หลังขยายผล 200 อำเภอ ในปี 60. [Online] https://www.hfocus.org/content/2017/07/14199 [11 เมษายน 2560]

ADA. (2009). “Standards of Medical Care in Diabetes-2009”. Standards of Medical Care. DIABETES CARE. 32 (1), S5-S61.

ADA. (2015). “STANDARDS OF MEDICAL CARE IN DIABETES-2015”. Diabetes Care. 8 (Suppl. 1), S1-S93.

ADA.. (2017). “STANDARDS OF MEDICAL CARE IN DIABETES-2017”. Diabetes Care. 40 (Suppl. 1), S1-S128.

IDF. (2015). “Diabetes Atlas Seventh Edition 2015”. [Online] https://www.diabetesatlas.org/2015. [January 18, 2016]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30

How to Cite

Jaklang, T. (2017). ประสิทธิผลการจัดการสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจังหวัดขอนแก่น. Journal for Developing the Social and Community, 4(1), 151–162. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/209731