เทคโนโลยีขับเคลื่อนโลจิสติกส์สีเขียวเพื่อส่งเสริมการตลาดออนไลน์
คำสำคัญ:
โลจิสติกส์สีเขียว, การส่งเสริมการตลาดออนไลน์, ภาพลักษณ์องค์กรบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคโนโลยีขับเคลื่อนโลจิสติกส์สีเขียวเพื่อส่งเสริมการตลาดออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากทุกอุตสาหกรรมทั่วโลกในการสร้างภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการดำเนินงานเกี่ยวกับโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยพบว่า การสื่อสารสีเขียว เพื่อการสร้างภาพลักษณ์องค์กร เกิดจากสองส่วน คือ (1) การดำเนินงานภายใน (Internal Practice) ได้แก่ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร และการออกแบบระบบนิเวศ (2) การดำเนินงานภายนอกองค์กร ได้แก่ การจัดซื้อสีเขียว การร่วมมือกับลูกค้า และการฟื้นคืนการลงทุน ซึ่งปัจจุบันองค์ต่าง ๆ นิยมใช้การส่งเสริมการตลาดด้วยการประชาสัมพันธ์ ด้วยการสื่อสารถึงการตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แนวทางการดำเนินงานโลจิสติกส์สีเขียว และประโยชน์ที่สังคมจะได้รับ โดยรูปแบบที่เป็นที่นิยม ได้แก่ การสื่อสารผ่านเอนิเมชั่น หรืออินโฟกราฟฟิกที่สวยงามและเข้าใจง่าย ที่แสดงถึงประโยชน์ของโลจิสติกส์สีเขียวเกี่ยวกับ (1) ลดการสร้างมลพิษ (2) เปิดโอกาสทางการค้า (3) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า (4) ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลกำไร อันจะส่งผลให้ผู้บริโภคและสังคมมีการจดจำภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
References
กระทรวงพาณิชย์. (2567). การเปิดปิดกิจการโลจิสติกส์ (มกราคม 2567). https://chainat.moc.go.th/th/content/category/detail/id/112/iid/35291
จักรกฤษ เดชพร (2563). การรับรู้ภาพลักษณ์องค์กรด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในมุมมองของผู้บริโภค กรณีศึกษา บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รุธิร์ พนมยงค์. (2561). บทบาทของโลจิสติกส์ต่อการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. http://www.polsci.tu.ac.th/fileupload/39/60.pdf
วีรวัฒน์ มณีสุวรรณ และธนัญญา วสุศรี. (2557). การจัดการกรีนโลจิสติกส์กับศักยภาพของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 37(2), 215-226.
สัญญา ยิ้มศิริ, แววมยุรา คำสุข และมรกต กำแพงเพชร. (2562). โครงการตัวแบบสมการโครงสร้างของ การจัดการโซ่อุปทานสีเขียวผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม และผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร ในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุเทพ นิ่มสาย, ณัฐพล รังสฤษฏ์วรการ และสหรัตถ์ อารีราษฏร์. (2565). โซ่อุปทานสีเขียว: นวัตกรรมเพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันที่ยั่งยืน. ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศทางธุรกิจและโลจิติกส์ (BE-Logist), สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
สุวัจน์ ด่านสมบูรณ์ และ ธีวินท์ นฤนาท. (2563). การจัดการโลจิสติกส์สีเขียวและการจัดการโซ่อุปทานที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 17(1), 125-145.
สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2565.
อัจฉรา นิมิตรปัญญา. (2563). ภาคธุรกิจโลจิสติกส์กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. วารสารรัฏฐาภิรักษ์ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, 62(3), 51-60.
Andrushchak, B. (2018). Green and Reverse logistics as the tools for improving environmental sustainability. University of Applied Sciences, Finland.
Aslam, H., Waseem, M., & Khurram, M. (2019). Impact of green supply chain management practices on corporate image: Mediating role of green communications. Pakistan Journal of Commerce and Social Sciences, 13(3), 581-598.
Chardine-Baumann, E., & Botta-Genoulaz, V. (2014). A framework for sustainable performance assessment of supply chain management practices. Computers & Industrial Engineering, 76, 138-147.
Christopher, M. (2011). Logistics and Supply Chain Management. Pearson UK.
DHL. (2024). Green Logistics. https://www.dhl.com/discover/th-th/logistics-advice/sustainability-and-green-logistics/dhl-green-logistics-toolkit
Foo, M. Y., Kanapathy, K., Zailani, S., & Shaharudin, M. R. (2019). Green purchasing capabilities, practices and institutional pressure. Management of Environmental Quality: An International Journal, 30(5), 1171-1189.
Hart, S. L., & Dowell, G. (2011). Invited editorial: A natural-resource-based view of the firm: Fifteen years after. Journal of management, 37(5), 1464-1479.
He, C., & Xu, X. (2024). Research on Green Development Decision Making of Logistics Enterprises Based on Three-Party Game. Sustainability, 16(7), 2811-2822 https://doi.org/10.3390/su16072822
Hejazi, M. T., Batati, B. A., & Bahurmuz, A. (2023). The Influence of Green Supply Chain Management Practices on Corporate Sustainability Performance. Sustainability, 15(6), 5459; https://doi.org/10.3390/su15065459
Hwang, B. G., & Tan, J. S. (2012). Green building project management: obstacles and solutions for sustainable development. Sustainable Development, 20(5), 335-349.
Malviya, R. K., & Kant, R. (2015). Green supply chain management (GSCM): a structured literature review and research implications. Benchmarking: An International Journal, 22(7), 1360-1394.
Maruya, A. M., Kumar, M., Padval, B., & Pant, A. (2023). To Study and Explore the Adoption of Green Logistic Practices and Performance in Manufacturing Industries in India. IMIB Journal of Innovation and Management, 1(2) 207–232 DOI:10.1177/ijim.221148882
Mc Kinsey. (2020). How COVID-19 has pushed companies over the technology tipping point—and transformed business forever. https://www.mckinsey.com/capabilities/strategy-and-corporate-finance/our-insights/how-covid-19-has-pushed-companies-over-the-technology-tipping-point-and-transformed-business-forever#/
Shao, J., & Ünal, E. (2019). What do consumers value more in green purchasing? Assessing the sustainability practices from the demand side of business. Journal of Cleaner Production, 209, 1473-1483.
Susanty, A., Sari, D. P., Rinawati, D. I., & Setiawan, L. (2018, 6-8 March). Impact of Internal Driver on Implementation of GSCM Practice. Paper presented at the International Conference on Industrial Engineering and Operations Management, Bandung, Indonesia.
Yildiz Çankaya, S., & Sezen, B. (2019). Effects of green supply chain management practices on sustainability performance. Journal of Manufacturing Technology Management, 30(1), 98-121.
Zhu, Q., Sarkis, J., & Lai, K.-h. (2013). Institutional-based antecedents and performance outcomes of internal and external green supply chain management practices. Journal of Purchasing and Supply Management, 19(2), 106-117.
Zhu, Q., Sarkis, J., & Lai, K.-h. (2019). Institutional-based antecedents and performance outcomes of internal and external green supply chain management practices. Journal of Purchasing and Supply Management, 19(2), 106-117.
Wang, Z., Wang, Q., Zhang, S., & Zhao, X. (2018). Effects of customer and cost drivers on green supply chain management practices and environmental performance. Journal of Cleaner Production, 189, 673-682.