วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru
วิทยาการจัดการปริทัศน์
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
th-TH
วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์
3027-8015
-
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นซี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/278286
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นซี และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อองค์กรทางธุรกิจในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานทางอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้งานจากทั่วโลก และการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นซี ผู้วิจัยพบว่า ผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นซี มีแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ที่นิยมอย่างรวดเร็ว โดยแพลตฟอร์มอินสตาแกรม และติ๊กต็อก เป็นแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน แต่องค์กรทางธุรกิจในประเทศไทยยังไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยยังคงเน้นการสื่อสารการตลาดผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ค ซึ่งอาจส่งผลให้สูญเสียโอกาสในการเข้าถึง และสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นซีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยแนะนำให้องค์กรปรับกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นซี โดยการใช้เนื้อหาที่มีความบันเทิง และเข้าใจง่าย บนแพลตฟอร์ม อินสตาแกรม และติ๊กต็อก ซึ่งจะช่วยสร้างการรับรู้ในตราสินค้า และความรักในตราสินค้า ซึ่งจะทำให้แบรนด์เติบโตได้อย่างแข็งแรงและยั่งยืนในที่สุด สำหรับองค์กรทางธุรกิจที่ต้องการความยั่งยืนตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นซีและการปรับกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรไม่ควรละเลย</p>
สุเมธ สันติกุล
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์
2024-08-29
2024-08-29
26 2
216
223
-
เทคโนโลยีขับเคลื่อนโลจิสติกส์สีเขียวเพื่อส่งเสริมการตลาดออนไลน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/278730
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคโนโลยีขับเคลื่อนโลจิสติกส์สีเขียวเพื่อส่งเสริมการตลาดออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากทุกอุตสาหกรรมทั่วโลกในการสร้างภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการดำเนินงานเกี่ยวกับโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยพบว่า การสื่อสารสีเขียว เพื่อการสร้างภาพลักษณ์องค์กร เกิดจากสองส่วน คือ (1) การดำเนินงานภายใน (Internal Practice) ได้แก่ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร และการออกแบบระบบนิเวศ (2) การดำเนินงานภายนอกองค์กร ได้แก่ การจัดซื้อสีเขียว การร่วมมือกับลูกค้า และการฟื้นคืนการลงทุน ซึ่งปัจจุบันองค์ต่าง ๆ นิยมใช้การส่งเสริมการตลาดด้วยการประชาสัมพันธ์ ด้วยการสื่อสารถึงการตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แนวทางการดำเนินงานโลจิสติกส์สีเขียว และประโยชน์ที่สังคมจะได้รับ โดยรูปแบบที่เป็นที่นิยม ได้แก่ การสื่อสารผ่านเอนิเมชั่น หรืออินโฟกราฟฟิกที่สวยงามและเข้าใจง่าย ที่แสดงถึงประโยชน์ของโลจิสติกส์สีเขียวเกี่ยวกับ (1) ลดการสร้างมลพิษ (2) เปิดโอกาสทางการค้า (3) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า (4) ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลกำไร อันจะส่งผลให้ผู้บริโภคและสังคมมีการจดจำภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร</p>
ทรรศิกา ธานีนพวงศ์
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์
2024-08-29
2024-08-29
26 2
224
234
-
บทบาทของกลยุทธ์การตลาดสีเขียวต่อภาพลักษณ์แบรนด์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/279389
<p>ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก ทำให้กลายเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตระหนักถึงความร้ายแรง และร่วมมือร่วมใจในการลดปัญหาที่จะเกิด โดยภาคธุรกิจกลายเป็นจำเลยคนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้าหรือการบริการ เพราะต่างมีส่วนสำคัญในการใช้พลังงานจากฟอสซิลเพิ่มขึ้น และปล่อย CO2 มากขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ประกอบกับปัจจุบันผู้บริโภคมีความสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยอมจ่ายมากขึ้นหากผลิตภัณฑ์หรือบริการ มีส่วนสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้กลยุทธ์การตลาด สีเขียวมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แบรนด์ต่าง ๆ โดยเฉพาะท่ามกลางการแข่งขันทางการตลาดที่รุนแรง ทุกแบรนด์ต่างต้องการสร้างฐานลูกค้าที่มีความจงรักภักดีให้มากที่สุด ภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ดี สามารถสร้างคุณค่าและเชื่อมโยงไปยังผู้บริโภคได้ การสร้างคุณค่าของแบรนด์ต้องทำผ่านการบอกเล่าถึงคุณประโยชน์ของแบรนด์ที่มีให้ผู้บริโภคอย่างจริงใจ นอกจากนั้น แบรนด์ที่ดียังต้องสามารถสร้างประสบการณ์ผ่านวัฒนธรรมของแบรนด์ เพื่อเชื่อมโยงไปถึงบุคลิกภาพของผู้บริโภคได้ แบรนด์จึงจะมีภาพลักษณ์ที่ดี เช่น The Body Shop เป็นแบรนด์ที่มุ่งเน้น การใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้ ยังสนับสนุนโครงการที่ช่วยเหลือชุมชนทั่วโลก เช่น การค้าที่เป็นธรรม (Fair Trade) ซึ่งช่วยให้ชุมชนในประเทศกำลังพัฒนามีรายได้และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ภาพลักษณ์ของ The Body Shop จึงเชื่อมโยงกับการเป็นแบรนด์ที่ใส่ใจต่อทั้งผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ดังนั้นกลยุทธ์การตลาดสีเขียวจึงมีบทบาทในการเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้แบรนด์มีภาพลักษณ์ที่ดี และยังสามารถเชื่อมโยงไปยังกลุ่มผู้บริโภคที่สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมตลอดจนสามารถสร้างความยั่งยืนให้แบรนด์ได้</p>
ฤดี เสริมชยุต
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์
2024-08-29
2024-08-29
26 2
235
243
-
อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าเพื่อการบริโภคและอุปโภคที่นำเข้าจากประเทศจีนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275169
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าเพื่อการบริโภคและอุปโภคที่นำเข้าจากประเทศจีนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าเพื่อการบริโภคและอุปโภคที่นำเข้าจากประเทศจีนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริโภคที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และมีประสบการณ์เคยซื้อสินค้านำเข้าจากประเทศจีน จำนวน 400 คน ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดของสินค้านำเข้าจากประเทศจีน โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดของสินค้านำเข้าในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 และการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าเพื่อการบริโภคและอุปโภคที่นำเข้าจากประเทศจีนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร มีระดับความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.74 และการทดสอบด้วยสถิติการถดถอยพหุคูณ พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าเพื่อการบริโภคและอุปโภคที่นำเข้าจากประเทศจีน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งการทดสอบนี้ทำให้ผู้ประกอบการสินค้านำเข้าจากประเทศจีน ควรคำนึงถึงส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ที่ต้องมุ่งเน้นให้ตรงกับความต้องการของตลาด เน้นความหลากหลายของรูปแบบ การใช้งาน ขนาด และมีความทันสมัย การส่งเสริมการตลาดควรมุ่งเน้นการสื่อสารข้อมูลที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากที่สุดเพื่อกระตุ้น และจูงใจให้เกิดการตัดสินใจซื้อได้ ด้านราคาควรมีหลากหลายราคาให้ลูกค้าได้เลือกซื้อ และควรมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง</p>
อัญชลี เยาวราช
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์
2024-08-29
2024-08-29
26 2
1
15
-
อิทธิพลเชิงสาเหตุของประสบการณ์ตราสินค้าต่อความภักดีในตราสินค้าเครื่องประดับอัญมณี ในกลุ่ม Gen Y จังหวัดจันทบุรี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275928
<p>การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลเชิงสาเหตุของประสบการณ์ตราสินค้าต่อความภักดีในตราสินค้าเครื่องประดับอัญมณีกลุ่ม Gen Y ในจังหวัดจันทบุรี โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริโภคเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 28-43 ปี (กลุ่ม Gen Y) จังหวัดจันทบุรี ที่เคยซื้อ/หรือเคยสวมใส่เครื่องประดับอัญมณี จำนวน 385 คน โดยมีวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสําหรับทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 33-37 ปี เคยซื้อ/หรือเคยสวมใส่เครื่องประดับอัญมณีจังหวัดจันทบุรี ดำรงสถานภาพโสด ประกอบอาชีพข้าราชการ/ รัฐวิสาหกิจ ระดับการศึกษา ปริญญาตรี และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 10,001-30,000 บาท ซื้อเครื่องประดับอัญมณีของจังหวัดจันทบุรี 2-3 ตราสินค้าเป็นประจำ ซื้อเครื่องประดับมากกว่า 3 ครั้งต่อเดือน วัตถุประสงค์ในการซื้อเครื่องประดับอัญมณีเพื่อการลงทุนและใส่ในโอกาสไปร่วมงานพิธีต่าง ๆ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ตัวแปรประสบการณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อความภักดีในตราสินค้าเครื่องประดับอัญมณีจังหวัดจันทบุรีของผู้บริโภคมี 2 ปัจจัย คือ ประสบการณ์ตราสินค้าด้านความสัมพันธ์ และด้านพฤติกรรม</p>
ธีรวุฒิ สุทธิประภา
อัครเดช ฐิศุภกร
สหรัฐ ณ น่าน
ธนภ จิตรแจ้ง
กฤษณา ถนอมธีระนันท์
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์
2024-08-29
2024-08-29
26 2
16
29
-
การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและการจัดการสินค้าคงคลังด้วยกลยุทธ์การจัดซื้อของบริษัทก่อสร้างในประเทศไทย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/276628
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับกลยุทธ์การจัดซื้อ การจัดการสินค้าคงคลัง และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบริษัทก่อสร้างในประเทศไทย และ 2) อิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมของกลยุทธ์การจัดซื้อต่อการจัดการสินค้าคงคลัง และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบริษัทก่อสร้างในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบเชิงปริมาณ ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บริษัทก่อสร้างในประเทศไทย จำนวน 200 บริษัท ผู้วิจัยใช้โมเดลสมการโครงสร้างในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลวิเคราะห์ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด รองลงมาเป็น กลยุทธ์การจัดซื้อ และการจัดการสินค้าคงคลัง ตามลำดับ 2) กลยุทธ์จัดซื้อมีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและการจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการสินค้าคงคลังมีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และกลยุทธ์การจัดซื้อมีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน โดยมีอิทธิพลส่งผ่านการจัดการสินค้าคงคลัง ส่วนข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยไปใช้งานในแต่ละด้านนั้น ควรมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการจัดซื้อ หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน และมีการจัดทำคู่มือ ข้อระเบียบกฎเกณฑ์ให้เป็นแนวปฏิบัติเดียวกัน ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม เพื่อที่จะได้ลดขั้นตอนในการทำงาน จะทำให้งานมีประสิทธิภาพ ประสบความสำเร็จและส่งมอบตรงเวลา</p>
สุวิมล มาตชะดา
วิศวะ อุนยะวงษ์
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์
2024-08-29
2024-08-29
26 2
30
41
-
การพัฒนาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุ ของผู้ปฏิบัติงานพัสดุในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/277609
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อการดำเนินงานด้านการจัดซื้อจัดจ้างของผู้ปฏิบัติงานพัสดุในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อการดำเนินงานด้านการจัดซื้อ จัดจ้างของผู้ปฏิบัติงานพัสดุในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดซื้อจัดจ้างของผู้ปฏิบัติงานพัสดุในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเก็บข้อมูลจากหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เจ้าหน้าที่พัสดุ หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ด้านพัสดุ ของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามได้จำนวนรวม 131 ฉบับ โดยการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยเลือกใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้และการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA หรือ F-test) และการทดสอบ t-test</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นต่อการดำเนินงานด้านการจัดซื้อจัดจ้างของผู้ปฏิบัติงานพัสดุใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ปฏิบัติงานพัสดุ หน่วยงานที่สังกัด เพศ ตำแหน่งหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน อายุ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานด้านการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุในภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่ผู้ปฏิบัติงานพัสดุที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ด้านพัสดุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานด้านการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุในภาพรวมแตกต่างกัน และการเสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดซื้อจัดจ้างของผู้ปฏิบัติงานพัสดุในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ควรจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างแต่ละปีงบประมาณ ดำเนินการจัดหาติดตามและประเมินผลการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ เพื่อนำไปวางแผนการจัดหาพัสดุที่เหมาะสม มีการทบทวนการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน และเอกสารตัวอย่างของการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อเป็นรูปแบบให้ปฏิบัติงานเป็นแนวทางเดียวกัน พัฒนาผู้ปฏิบัติงานให้เข้ารับการอบรม ด้านกฎหมาย และระเบียบพัสดุวางแนวทางการควบคุมพัสดุให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง และนำระบบการควบคุมพัสดุเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อความสะดวกและการควบคุมที่เป็นระบบ ก่อนการจำหน่วยพัสดุ กรณีที่พัสดุหมดความจำเป็นในการใช้งาน ให้หน่วยงานทำหนังสือแจ้งเวียนให้หน่วยงานอื่นๆ ทราบว่ามีพัสดุที่มีสภาพดีที่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ โดยการโอนพัสดุและมีการสำรวจรายการพัสดุตามทะเบียนเพื่อดำเนินการจำหน่ายพัสดุตามขั้นตอน</p>
ทศพล ถาวร
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์
2024-08-29
2024-08-29
26 2
42
57
-
การสื่อสารการตลาดตราสินค้าผู้ท้าชิงของธุรกิจเบเกอรี่กับการรับรู้ และพฤติกรรมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ตราเลอแปง
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/277960
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ตราเลอแปงในฐานะแบรนด์ผู้ท้าชิง (Brand challenger) และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดของกลยุทธ์ของผู้ท้าชิง (Brand challenger) ที่มีผลต่อการรับรู้และพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ตราเลอแปงของผู้บริโภค โดยแบ่งรูปแบบการวิจัยเป็น 2 ส่วน คือส่วนแรกเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ตราเลอแปงในฐานะที่เป็นแบรนด์ผู้ท้าชิง (Brand challenger) ในรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเจาะลึก (In-Depth interview) จำนวน 5 คน ดำรงตำแหน่งในส่วนงานด้านการตลาดและการส่งเสริมการขายและส่วนที่สองเป็นการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของส่วนประสมทางการตลาดของกลยุทธ์ของผู้ท้าชิง (Brand challenger) ที่มีผลต่อการรับรู้และพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ตราเลอแปงของผู้บริโภค โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการสำรวจซึ่งใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภค ณ จุดจำหน่ายสินค้าร้าน 7-Eleven ในเขตกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น 20 ร้าน จำนวน 400 คน ขั้นตอนที่ 1 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling) ขั้นตอนที่ 2 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ขั้นตอนที่ 3 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐาน (Hypothesis Testing) ใช้สถิติ Chi- Square, T-Test และ F-Test เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ตราเลอแปงในฐานะที่เป็นแบรนด์ผู้ท้าชิง มีการกำหนด กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดโดยใช้กลยุทธ์การเลือกเข้าตี โดยมีการสื่อสารผ่านทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การสื่อสารผู้บริโภค (Customer) การสื่อสารผ่านราคา (Cost) การสื่อสารผ่านช่องทางการจัดจำหน่าย (Convenience) และการสื่อสารผ่านการส่งเสริมการตลาด (Communication) เมื่อนำมาปรับใช้กับกลยุทธ์การตีด้านข้าง (Flanking Attack) จึงทำให้เป็นจุดเด่นที่เหนือกว่าผู้นำ และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากเพราะการสื่อสารผ่านช่องทางการจัดจำหน่าย (Convenience) และผลการวิจัยเกี่ยวกับการรับรู้และพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้น พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดของตราสินค้าผู้ท้าชิงผลิตภัณฑ์ตราเลอแปงนั้นมีการสื่อสารผ่านผู้บริโภค (Customer), ราคา (Cost), ความสะดวกในการหาซื้อ (Convenience) และการสื่อสารทางการตลาด (Communication) โดยมีการนำมาใช้ควบคู่และผสมผสานกลมกลืนกัน และใช้ทุกเครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนด้านการสื่อสารทางการตลาด (Marketing Communication) ผลิตภัณฑ์ตราเลอแปงก็ถือว่าประสบความสำเร็จอีกเช่นกัน เพราะได้ใช้โซเชียลมีเดียเข้ามาจับกลุ่มเป้าหมายอย่างกลุ่มวัยรุ่นที่ทางบริษัทกำหนดเอาไว้ได้เป็นอย่างดี และสะท้อนให้เห็นถึงการตอบรับจากผู้บริโภคได้อย่างชัดเจน</p>
อนุสรา มู่ฮัมหมัด
ฐิติ ลีละโรจน์
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์
2024-08-29
2024-08-29
26 2
58
71
-
ภาวะการว่างงานและปัจจัยที่มีผลต่อการว่างงานในประเทศไทย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/278142
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การว่างงานในประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการว่างงานในประเทศไทย โดยวิธีดำเนินการวิจัยจะเป็นรูปแบบเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วยจังหวัดในประเทศไทยทั้งหมด จำนวน 77 แห่ง ซึ่งได้มาจากการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ และกระทรวงแรงงาน ใน ปี พ.ศ.2565 และใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ในการวิเคราะห์ข้อมูล</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ตัวเลขอัตราการว่างงานของประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ.2556-2565 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามการปรับตัวที่เพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ว่างงาน และประเทศไทยมีอัตราการว่างงานที่ต่ำมากหากเทียบกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศไทยมีเศรษฐกิจนอกระบบขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก นอกจากนี้ จากผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการว่างงานในประเทศไทย พบว่า จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา มีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ว่างงานในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในขณะที่ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ มีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ว่างงานในทิศทางตรงกันข้าม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น รัฐบาลควรพยายามผลักดันให้เศรษฐกิจนอกระบบกลับเข้าสู่ในระบบมากขึ้น เพื่อทำให้ตัวเลขอัตราการว่างงานสามารถสะท้อนภาพรวมของตลาดแรงงานได้อย่างแท้จริง อีกทั้ง ควรส่งเสริมงานที่ใช้ประโยชน์จากกำลังแรงงานทักษะสูง หรือแรงงานที่มีการศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา เพื่อลดจำนวนผู้ว่างงานในประเทศ</p>
สุพิชชา โชติกำจร
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์
2024-08-29
2024-08-29
26 2
72
84
-
การสื่อสารทางการตลาดออนไลน์และส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ อาหารสุนัขและแมวผ่านสื่อสังคมออนไลน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/278708
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของการสื่อสารทางการตลาดออนไลน์ ส่วนประสมทางการตลาด และการตัดสินใจซื้อ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการสื่อสารทางการตลาดออนไลน์และส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารสุนัขและแมวออนไลน์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานวิเคราะห์ด้วยการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าระดับความสำคัญอยู่ในระดับมากทุกปัจจัยโดยเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ส่วนประสมทางการตลาด การตัดสินใจซื้อและการสื่อสารทางการตลาดออนไลน์ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การสื่อสารทางการตลาดออนไลน์ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการตลาดผ่านเว็บไซต์ ด้านการตลาดผ่านเนื้อหา และด้านการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์ ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารสุนัขและแมวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยการสื่อสารทางการตลาดออนไลน์มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารสุนัขและแมว ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ร้อยละ 28.50 นอกจากนั้นยังพบว่าส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 3 ด้านได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารสุนัขและแมวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารสุนัขและแมวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ร้อยละ 43.80</p>
กมลวรรณ โกธรรม
ภาศิริ เขตปิยรัตน์
กุลยา อุปพงษ์
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์
2024-08-29
2024-08-29
26 2
85
97
-
การเปรียบเทียบต้นทุนฐานกิจกรรมและผลตอบแทนจากการปลูกอ้อย ระหว่างการรดน้ำแบบวิธีน้ำหยดกับวิธีน้ำราด กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ตำบลหัวทะเล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/278485
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1<strong>)</strong> วิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมของการปลูกอ้อยระหว่างการรดน้ำแบบวิธีน้ำหยดและวิธีน้ำราด 2<strong>) </strong>เปรียบเทียบผลตอบแทนและต้นทุนฐานกิจกรรมจากการปลูกอ้อยระหว่างการรดน้ำแบบวิธีน้ำหยดและวิธีน้ำราด รูปแบบการศึกษาเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ <strong>(</strong>Qualitative Research<strong>)</strong> โดยใช้เครื่องมือการสนทนากลุ่ม <strong>(</strong>Focus Group<strong>)</strong> จากนั้นการสัมภาษณ์เชิงลึก <strong>(</strong>In<strong>-</strong>depth Interview<strong>)</strong> และการสังเกตการณ์ (Observation<strong>) </strong>กลุ่มตัวอย่างการศึกษา ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยรายย่อยที่ขึ้นทะเบียน จำนวน 10 คน และผู้ที่มีส่วนร่วมในการปลูก จำนวน 6 คน ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive Sampling<strong>) </strong></p> <p> ผลการวิจัยพบว่า การปลูกอ้อยที่รดน้ำแบบวิธีน้ำหยดมีต้นทุนฐานกิจกรรมทั้งสิ้น 195,752.90 บาท หรือคิดเป็นต้นทุนฐานกิจกรรมต่อไร่ 11,514.88 บาท และการรดน้ำแบบวิธีน้ำราดมีต้นทุนฐานกิจกรรมทั้งสิ้น 100,425.42 บาท หรือคิดเป็นต้นทุนฐานกิจกรรมต่อไร่ 10,042.54 บาท ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนฐานกิจกรรม การปลูกอ้อยโดยรดน้ำแบบวิธีน้ำหยดจะมีต้นทุนที่มากกว่าการรดน้ำแบบวิธีน้ำราด 1,472.34 บาทต่อไร่ สำหรับผลตอบแทนจากการปลูกอ้อยที่วิธีรดน้ำแบบวิธีน้ำหยดได้ผลตอบแทนมากกว่าวิธีน้ำราดเป็นเงิน 3,890.39 บาทต่อไร่ และรายได้จากการขายอ้อยที่รดน้ำแบบวิธีน้ำหยดได้มากกว่าการรดน้ำแบบวิธีน้ำราด 5,362.73 บาทต่อไร</p>
ภารดี นึกชอบ
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์
2024-08-29
2024-08-29
26 2
98
110
-
คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/278508
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นคุณภาพชีวิตการทำงานต่อองค์กรของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) ระดับความคิดเห็นความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่วิเคราะห์หาค่าถดถอยแบบพหุคูณ</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1)คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล ด้านความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว ด้านค่าตอบแทนที่พอเพียงและยุติธรรม และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านมีความสัมพันธ์ทางสังคมในการทำงาน 2) ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความตั้งใจที่ยังคงความเป็นสมาชิกขององค์กร รองลงมา คือ ด้านความเชื่อมั่นในเป้าหมายและค่านิยมขององค์กร และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความพร้อมที่จะทุ่มเทในการทำงานให้องค์กร 3) คุณภาพชีวิตการทำงานส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
ธีรวัฒน์ โทนมี
ทศพล ปรีชาศิลป์
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์
2024-08-29
2024-08-29
26 2
111
123
-
รูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้งของ เยาวชนในจังหวัดนนทบุรี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/278795
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้ง 2) เปรียบเทียบรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้งและ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้ง กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบรายคู่ตามแบบของเชฟเฟ่ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้งมีความน่าจะซื้อในระดับมาก 2) พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้งของเยาวชน ส่วนใหญ่ซื้อผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้งซื้อเพื่อเป็นของฝาก โดยการแนะนำของพนักงานขาย ซื้อประมาณ 3-4 ครั้งต่อเดือน แต่ละครั้งซื้อมากกว่า 80 บาท ซื้อในช่วงเย็น และร้านที่ขายผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้งโดยเฉพาะ 3) รูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้งเมื่อจำแนกตามเพศ และอาชีพ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนเยาวชนที่มีอายุ วุฒิระดับการศึกษา และรายได้ แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4) มีความสัมพันธ์ระหว่างรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้ง ในระดับน้อยมาก เช่น ด้านวัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์มีความทนความร้อนและความเย็น น้ำหนักเบา มีความแข็งแรงทนทาน มีความเป็นกลาง ไม่ทำปฏิกิริยากับผลิตภัณฑ์ที่ถูกบรรจุ ด้านสีที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ เป็นสีที่จดจำง่าย มีเหมาะสมกับวัสดุ กับรูปทรง</p>
เจณิภา คงอิ่ม
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์
2024-08-29
2024-08-29
26 2
124
134
-
การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้ประกอบการตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดเลย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/278883
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดเลย และ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้ประกอบการตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดเลย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยมีประชากรในการศึกษาเป็นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จำนวน 50 ราย ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจที่พัก จำนวน 20 คน กลุ่มธุรกิจเพื่อสุขภาพ (สปา นวด สมุนไพร) จำนวน 18 คน และ กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ จำนวน 12 คน โดยการวิเคราะห์เนื้อหาการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาในการหาค่าความถี่และร้อยละ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ตามประเด็นการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดเลย การแปลผลและการให้ความหมายข้อมูลเชิงคุณภาพ สำหรับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์นำเสนอด้วยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) </p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดเลย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 51–60 ปี ระดับการศึกษา ปริญญาตรี มีตำแหน่งเป็นเจ้าของและมีหุ้นส่วน โดยการบุกเบิกกิจการด้วยตัวเอง ได้รับการสนับสนุนให้คำปรึกษา ผ่านการฝึกอบรม มีประสบการณ์ มีทักษะและเรียนรู้ธุรกิจด้วยตัวเอง รูปแบบของสถานประกอบการเป็นเจ้าของคนเดียว มี 3 กลุ่มผู้ประกอบการหลัก โดยรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประกอบด้วย (1) ธุรกิจที่พัก มีสถานที่ กิจกรรมต่าง ๆ เหมาะกับการพักผ่อน พร้อมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้สร้างประสบการณ์ได้ โดยใช้ภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยเป็นจุดเด่น และเน้นวัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติ งดการใช้สารเคมี นำสมุนไพรมาใช้ในการปรุงอาหาร เพื่อเป็นอาหารสุขภาพ (อาหารตามธาตุ) (2) ธุรกิจเพื่อสุขภาพ (สปา นวด สมุนไพร) มีการใช้ท่าทางในการนวด ทุกกระบวนท่ามาจากวิถีชีวิต เช่น ท่าหงส์เหิน, ยกฮิ้ว ใช้หินแร่ มาประกอบการนวด (หินดำ, หินน้ำโขง) การลงน้ำหนักขณะนวด ใช้เท้านวด 80% เข่า-ศอก 20% วิธีการนวด มีท่าในการนวดโดยเฉพาะ จัดทำเป็นคู่มือการนวด ใช้ผ้าขาวม้าประกอบการนวด และ (3) ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ มีเมนูเพื่อสุขภาพที่ปรุงมาจากวัตถุดิบในท้องถิ่นของจังหวัดเลย การใช้พื้นฐานองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณค่าทางโภชนาการของวัตถุดิบท้องถิ่นผสมผสานความเป็นไทยและตะวันตก โดยมีคุณค่าทางโภชนาการ จำนวน 4 เมนู ได้แก่ คีชเห็ดหอม (Quiche Shiitake) เบอร์เกอร์เห็ดหอม เห็ดหอมยัดไส้ และอโวคาโด Cocktail กุ้ง จะเห็นได้ว่า รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เกิดจากงานวิจัยสอดคล้องกับสาขาของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในด้านอาหารและแพทย์แผนไทย</p>
วรากรณ์ ใจน้อย
เหมวดี กายใหญ่
รภัสสา ชาติกุล
ธงชัย สุภา
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์
2024-08-29
2024-08-29
26 2
135
148
-
ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณวิชาชีพและความรับผิดชอบกับคุณภาพงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/278900
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 2) ศึกษาระดับความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณวิชาชีพกับคุณภาพงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบกับคุณภาพงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สอบบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 262 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation)</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับจรรยาบรรณในวิชาชีพบัญชี พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับความรับผิดชอบในวิชาชีพบัญชี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณวิชาชีพกับคุณภาพงานบัญชีของผู้สอบบัญชี มีความสัมพันธ์ในภาพรวมเชิงบวกระดับสูง โดยจรรยาบรรณวิชาชีพด้านความซื่อสัตย์สุจริต สูงที่สุด รองลงมาเป็นด้านความเที่ยงธรรม มีความสัมพันธ์กับคุณภาพงานบัญชีของผู้สอบบัญชี ด้านการรักษาความลับ และจรรยาบรรณวิชาชีพด้านพฤติกรรมทางวิชาชีพ การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องมีความสัมพันธ์กับคุณภาพงานบัญชีของผู้สอบบัญชีต่ำที่สุด และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบกับคุณภาพงานบัญชีของผู้สอบบัญชี มีความสัมพันธ์ในภาพรวมเชิงบวกระดับกลาง โดยจรรยาบรรณวิชาชีพด้านด้านความรับผิดชอบต่อหน้าที่สูงที่สุด รองลงมาเป็นด้านความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการมีความสัมพันธ์กับคุณภาพงานบัญชีของผู้สอบบัญชี และด้านความรับผิดชอบต่อผู้ร่วมวิชาชีพ</p>
ปฐมาภรณ์ คำชื่น
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์
2024-08-29
2024-08-29
26 2
149
162
-
คุณภาพการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มสื่อนิยายออนไลน์ readAwrite ตามบทบาทของการยอมรับเทคโนโลยี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/279206
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของแพลตฟอร์มสื่อนิยายออนไลน์ readAwrite 2) เพื่อศึกษาความภักดีของผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มสื่อนิยายออนไลน์ readAwrite 3) เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มสื่อนิยายออนไลน์ readAwrite 4) เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มสื่อนิยายออนไลน์ readAwrite โดยมีบทบาทของการยอมรับเทคโนโลยีด้านการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งาน และด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งานเป็นตัวแปรแทรก ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มสื่อนิยายออนไลน์ readAwrite โดยมีข้อมูลผู้ใช้งาน (Registered Users) จากแบบแสดงข้อมูลรายงานประจำปี 2566 จำนวนกว่า 10 ล้านราย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้เครื่องมือแบบสอบถามที่ได้รับการพัฒนาจากการทบทวนวรรณกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความภักดีของผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มสื่อนิยายออนไลน์ readAwrite อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ส่วนการยอมรับเทคโนโลยีมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มสื่อนิยายออนไลน์ readAwrite ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งานส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มสื่อนิยายออนไลน์ readAwrite อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และด้านการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มสื่อนิยายออนไลน์ readAwrite อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05</p>
กัญญาวีร์ สกุลทอง
จิตพนธ์ ชุมเกตุ
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์
2024-08-29
2024-08-29
26 2
163
176
-
การศึกษาพฤติกรรมการซื้อ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และความต้องการผลิตภัณฑ์มัดย้อม ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/279329
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และความต้องการผลิตภัณฑ์มัดย้อมของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคที่เคยซื้อหรือเคยใช้ผลิตภัณฑ์มัดย้อมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 399 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20 – 25 ปี และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท นิยมซื้อผลิตภัณฑ์มัดย้อมเพื่อไปเป็นของฝาก ของที่ระลึก ซื้อจากงานแสดงสินค้า ค่าใช้จ่ายในการซื้อ 201-300 บาทต่อครั้ง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ได้แก่ ลวดลาย ราคา และคุณภาพ มีความพึงพอใจต่อส่วนประสมการตลาดผลิตภัณฑ์มัดย้อมระดับมาก ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัญหาของผลิตภัณฑ์มัดย้อม ได้แก่ รูปแบบไม่ทันสมัย มีประเภทสินค้าให้เลือกน้อย สถานที่จำหน่ายอยู่ห่างไกล ดูแลรักษายาก และราคาไม่เหมาะสม ผลิตภัณฑ์มัดย้อมที่ผู้บริโภคมีความต้องการ ได้แก่ เสื้อ หมวก กระเป๋าสตรี กางเกง และผ้าคลุมไหล่</p>
อภิชาติ การะเวก
วีระศักดิ์ ศรีลารัตน์
มนสิชา อนุกูล
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์
2024-08-29
2024-08-29
26 2
177
186
-
ความสัมพันธ์ของความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อหอโหวดชมเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/279440
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความแตกต่างของความคาดหวังและการรับรู้ของของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวหอโหวดชมเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะด้านประชากรศาสตร์และพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวหอโหวดชมเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ โดยการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก จำนวน 400 คน จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ สถิติการวิเคราะห์ไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1. ความแตกต่างระหว่างความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวหอโหวดชมเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยภาพรวมนักท่องเที่ยวได้รับคุณค่าเป็นเลิศ โดยความแตกต่างของความคาดหวังของนักท่องเที่ยวมีค่าน้อยกว่าการรับรู้ของนักท่องเที่ยว 2. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะด้านประชากรศาสตร์และพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวหอโหวดชมเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้และพฤติกรรมนักท่องเที่ยวด้านวัตถุประสงค์ ด้านการหาข้อมูลเพื่อวางแผนตัดสินใจ ด้านประเภทแหล่งท่องเที่ยวที่ชื่นชอบในการเดินทางท่องเที่ยวและด้านบุคคลที่อ้างอิงต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวหอโหวดชมเมืองจังหวัดร้อยเอ็ดมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ ระดับ 0.01</p>
สิทธิศักดิ์ เตียงงา
กนกวรรณกรณ์ หลวงวังโพธิ์
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์
2024-08-29
2024-08-29
26 2
187
201
-
การพัฒนารูปแบบการจัดการของกลุ่มผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ความยั่งยืน บ้านต้อน ตำบลทุ่งทอง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/279602
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานรูปแบบการจัดการกลุ่มผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน 2)เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ความต้องการรูปแบบการจัดการของกลุ่มผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน และ 3) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการกลุ่มผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน สู่ความยั่งยืนบ้านต้อน ตำบลทุ่งทอง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ ดำเนินการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 103 คน ที่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลบ้านต้อน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการสัมภาษณ์ เชิงลึก จำนวน 12 คน สนทนากลุ่มย่อย จำนวน 20 คน สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สังเคราะห์ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย เพื่อสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย โดยนำเสนอเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานรูปแบบการจัดการกลุ่ม ในภาพรวมคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับ “มาก” สภาพทั่วไปในการดำเนินงานของกลุ่ม โดยส่วนใหญ่มีจุดเริ่มต้นในการจัดตั้งกลุ่มจากแรงบันดาลใจที่เกิดจากการได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ โดยเริ่มจากการเข้าร่วมฝึกอบรม และการได้รับสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการผลิตสินค้า แต่เมื่อผลิตสินค้าแล้วนำไปขายเป็นสินค้าเสริมจากสินค้าหลัก ซึ่งสินค้าหลักคือผ้าไหม จึงทำให้สินค้าเหล่านี้อาจเป็นได้แค่ของสมนาคุณให้กับลูกค้า หรือเป็นของฝากให้กับแขกที่มาเยือน แต่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากสินค้าเหล่านี้เท่าที่ควร ซึ่งแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน หน่วยงานภาครัฐควรเป็นพี่เลี้ยงในการเสริมทักษะในการพัฒนาการผลิตสินค้า เพิ่มทักษะการบริหารงานของกลุ่มให้มีประสิทธิภาพ</p>
คุณัญญาฐ์ คงนาวัง
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์
2024-08-29
2024-08-29
26 2
202
215