วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru <p><img src="https://so03.tci-thaijo.org/public/site/images/ysawita/msjournal1.jpg" /></p> <p><img src="https://so03.tci-thaijo.org/public/site/images/ysawita/msjournal2.jpg" /></p> <p><img src="https://so03.tci-thaijo.org/public/site/images/ysawita/msjournal3.jpg" /></p> <p><img src="https://so03.tci-thaijo.org/public/site/images/ysawita/msjournal4.jpg" /></p> <p><img src="https://so03.tci-thaijo.org/public/site/images/ysawita/msjournal5.jpg" /></p> th-TH msarujournal@gmail.com (วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์) msarujournal@gmail.com (นางสาวฐานิต พันธุ) Tue, 30 Apr 2024 11:18:17 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ปัจจัยแห่งความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์คลองลากค้อน ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/274003 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการจัดการของวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์คลองลากค้อน และ 2) ศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์คลองลากค้อน ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี การศึกษาครั้งนี้กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ สมาชิกกลุ่มและภาคีเครือข่าย จำนวน 17 คน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และสนทนากลุ่ม (Focus Group) การตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลให้มีความถูกต้องด้วยวิธีการตรวจแบบสามเส้า (Methodological Triangulation) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และนำเสนอเชิงพรรณนา (Description Analysis)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการจัดการของวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์คลองลากค้อน ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี มีการจัดโครงสร้างองค์กรในรูปแบบคณะกรรมการบริหารกลุ่มเกษตรอินทรีย์ มีการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบตามโครงสร้างการบริหารกลุ่ม มีการทำงานแบบช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ส่วนปัจจัยแห่งความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์คลองลากค้อน ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ในด้านการเงิน สมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นหลังจากเข้าร่วมโครงการ คิดเป็นร้อยละ 38.5 ด้านลูกค้าได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ ด้านกระบวนการภายในเน้นการมีส่วนร่วม มีการจัดแบ่งงานและการมอบหมายงานอย่างชัดเจน และด้านการเรียนรู้และการพัฒนา สมาชิกในกลุ่มมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์แก่วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์คลองลากค้อน ในด้านการสร้างรายได้แก่สมาชิก และคนในชุมชนจากการดำเนินงาน และเกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน นอกชุมชน และหน่วยงานภาคีเครือข่าย</p> ธันยธร ติณภพ, ภิญญาพัชญ์ นาคภิบาล, วิภาวดี ทูปิยะ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/274003 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนากลุ่มอาชีพแบบมีส่วนร่วมสู่กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์น้ำพริกชุมชน ตำบลท่าเจ้าสนุก อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/274452 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของกลุ่มอาชีพแบบมีส่วนร่วมสู่กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์น้ำพริกชุมชน 2) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของกลุ่มอาชีพแบบมีส่วนร่วมสู่กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์น้ำพริกชุมชน 3) พัฒนาโมเดลธุรกิจด้วยเครื่องมือผ้าใบโมเดลธุรกิจ (Business Model Canvas: BMC) กลุ่มอาชีพแบบมีส่วนร่วมสู่กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์น้ำพริกชุมชน 4) ศึกษาแนวทางในการพัฒนากลุ่มอาชีพแบบมีส่วนร่วมสู่กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์น้ำพริกชุมชน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ สมาชิกกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์น้ำพริก ชุมชนตำบลท่าเจ้าสนุก อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 10 คน ได้แก่ ผู้นำกลุ่มอาชีพจำนวน 3 คน และสมาชิกในกลุ่มจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจด้วย SWOT Analysis และการพัฒนาธุรกิจด้วย BMC</p> <p>ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของกลุ่มอาชีพ พบว่า จุดแข็ง คือ สมาชิกในครัวเรือนมีคุณภาพชีวิตด้านจิตใจที่เข้มแข็ง มีความสุขในการดำรงชีวิต มีการแบ่งหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจน จุดอ่อน คือ ขาดสภาพคล่องทางด้านการเงิน และขาดประสบการณ์ในการผลิตน้ำพริก โอกาส คือ มีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาสนับสนุนอบรมให้ความรู้ อุปสรรคของกลุ่ม คือ เกิดสถานการณ์โควิด ทำให้กลุ่มไม่สามารถรวมตัวกันได้อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของการพัฒนาโมเดลธุรกิจด้วย BMC พบว่า กลุ่มลูกค้า ได้แก่ ชาวบ้านในชุมชนและลูกค้าทั่วไป ซึ่งกลุ่มมีความใกล้ชิดกับคนในพื้นที่ รวมทั้งมีแหล่งตลาดในชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ใช้การกระจายสินค้า ทั้งออนไลน์และหน้าร้าน การผลิตและการเก็บถูกสุขอนามัย อุปกรณ์ในการผลิตได้มาตรฐาน มีการเลือกวัตถุดิบจากในพื้นที่ และออกแบบโลโก้ รวมทั้งคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของกลุ่มอาชีพ และใช้ BMC ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริก รวมทั้งทราบแนวทางในการพัฒนากลุ่มอาชีพแบบมีส่วนร่วม</p> พรรษวรรณ สุขสมวัฒน์, แสงจิตต์ ไต่แสง Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/274452 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการจัดการพื้นที่สาธารณะของชุมชนบ้านดงยางไทย ตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/274418 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้พื้นที่สาธารณะในปัจจุบัน สภาพปัญหาและความต้องการในการใช้งานพื้นที่สาธารณะของชุมชน และแนวทางการจัดการพื้นที่สาธารณะของชุมชนบ้านดงยางไทย ตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ประชาชนในชุมชนบ้านดงยางไทย ประกอบด้วย (1) อายุระหว่าง 5-17 ปี จำนวน 5 คน (2) อายุระหว่าง 18-64 ปี จำนวน 5 คน และ (3) อายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน และการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ (1) ตัวแทนประชาชนในชุมชนบ้านดงยางไทย จำนวน 3 คน (2) ผู้นำชุมชนและคณะกรรมการชุมชนบ้านดงยางไทย จำนวน 5 คน และ (3) ผู้แทน อบต.หนองแหน จำนวน 2 คน ทำการวิเคราะห์เนื้อหา การจัดกลุ่มข้อมูล เพื่อหาข้อสรุป และนำเสนอในรูปการบรรยายตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันพื้นที่หรือสถานที่ที่ชุมชนบ้านดงยางไทยใช้ทำกิจกรรมทั้งส่วนตัว ครอบครัว และชุมชน ได้แก่ วัดดงยาง โรงเรียนหนองแหนวิทยา องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแหน สถานีอนามัยหนองแหนหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแหน บ้านผู้ใหญ่บ้านดงยางไทย และบ้านสมาชิกสภา อบต.หนองแหน พื้นที่หรือที่ดินในชุมชนบ้านดงยางไทยที่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองตามกฎหมายทั้งหมด เพียงแต่ปล่อยให้รกร้างหรือน้ำท่วมขังไม่ได้ใช้ประโยชน์ใด ๆ บางครั้งเป็นที่รวมตัวของกลุ่มวัยรุ่น เป็นที่ทิ้งขยะ เป็นที่อยู่ของสัตว์ที่เป็นอันตราย และใช้เป็นทางเดินผ่าน อาจเป็นการบุกรุกพื้นส่วนบุคคล และชุมชนบ้านดงยางไทยต้องการที่จะมีพื้นที่ที่เป็นส่วนกลางของหมู่บ้านหรือตำบล ในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันตามวิถีชีวิตของชุมชนที่เคยปฏิบัติมา และแนวทางการจัดการพื้นที่สาธารณะของชุมชนบ้านดงยางไทย ตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ PAB Model ประกอบด้วย P (Participation) การมีส่วนร่วมของชุมชน A (Administration) การบริหารจัดการ และ B (Budget) งบประมาณ</p> วนิดา รุ่งแสง, สินีนาถ เริ่มลาวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/274418 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของกลุ่มอาชีพมัดย้อมมัดยิ้ม ตำบลบางขะแยง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/274607 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพ มัดย้อมมัดยิ้ม กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มอาชีพ มัดย้อม มัดยิ้ม สมาชิก จำนวน 25 คน เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในประเด็น รูปแบบผลิตภัณฑ์ เทคนิคและวัสดุที่ใช้ในการผลิต ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติ จากใบไม้ ดอกไม้ ให้สีแตกต่างกัน เช่น ตะขบ ให้สีเหลือง ใบสัก ให้สีม่วงชมพู ใบสบู่เลือด ให้สีเขียวเหลือง ดอกดาวเรือง ให้สีส้ม และดอกพวงชมพู ให้สีส้ม เป็นต้น การวางใบไม้ ดอกไม้ ทำให้ผ้ามีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใครและมีการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ 4 ผลิตภัณฑ์ คือ เสื้อ ผ้าคลุมไหล่ กระเป๋า และปลอกหมอน สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนในรูปแบบใหม่ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 30 ของมูลค่าเดิม รายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 60 เป็นแนวทางในการสร้างรายได้เพิ่มให้แก่ชุมชน ที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน</p> อัจฉราวรรณ สุขเกิด Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/274607 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การลดปัญหาขาดแคลนสินค้าคงคลัง ด้วยการพัฒนาระบบการวางแผนบริหารทรัพยากรองค์กร กรณีศึกษา บริษัท MMM https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/274631 <p>การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการบริหารสินค้าคงคลังและจัดการข้อมูลเดิม 2) เพื่อลดปัญหาขาดแคลนสินค้าคงคลัง โดยการพัฒนาระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลและเป็นศูนย์กลางในการจัดการข้อมูล บริษัท MMM ซึ่งสาเหตุหลักในการเกิดปัญหาเนื่องจากไม่มีระบบจัดการฐานข้อมูลในการบริหารงานองค์กร แต่เดิมใช้การจดในกระดาษ ขาดวิธีการในการสื่อสารที่เหมาะสม ทำให้ง่ายต่อการเกิดความเข้าใจผิดในการสื่อสารและผู้ปฏิบัติงานขาดประสบการณ์และความชำนาญทำให้อาจเกิดความผิดพลาดในการจัดเก็บข้อมูล ประชากร คือ พนักงานในบริษัท MMM ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ จำนวน 18 ตัวอย่าง โดยการสัมภาษณ์ในเชิงลึกรายบุคคล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแผนผังสาเหตุและผลแสดงปัญหาการขาดแคลนสินค้าคงคลัง การพัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูลผ่านเว็บแอปพลิเคชันระบบการวางแผนบริหารทรัพยากรองค์กร ผ่านการออกแบบผังงานและแผนภาพแสดงการไหลของข้อมูล</p> <p> จากการศึกษาพบว่าหลังจากการดำเนินงานปรับปรุงบริษัทสามารถลดระยะเวลาในการประมวลผลและปฏิบัติงานจาก 13.25 นาทีต่อรายการธุรกรรม เหลือ 6.7 นาทีต่อรายการธุรกรรม ลดลงร้อยละ 49.43 จากเวลาเดิม จากเดิมการขาดแคลนสินค้าคงคลัง จำนวน 31 หน่วยจัดเก็บ เหลือ 5 หน่วยจัดเก็บ ลดลงร้อยละ 83.87 เมื่อพิจารณาการลดลงของมูลค่าความเสียหายจาก 570,500 บาท/เดือน เหลือ 23,000 บาท/เดือน ลดลงร้อยละ 95.97% ตามลำดับ</p> คุณากร วิวัฒนากรวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/274631 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การคัดเลือกที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าด้วยรูปแบบการถ่วงน้ำหนักเพื่อเพิ่มศักยภาพการส่งมอบสินค้ากรณีศึกษา บริษัทน้ำดื่มแห่งหนึ่ง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/274636 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการคัดเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้า 2) ศึกษารูปแบบการถ่วงน้ำหนักในการคัดเลือก 3) เพิ่มศักยภาพการส่งมอบสินค้าหลังคัดเลือกศูนย์กระจายสินค้า รูปแบบการศึกษาวิจัยเป็นเชิงปฏิบัติการ โดยใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักปัจจัยในการคัดเลือกที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้า และแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ<br />ในการเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล ผลวิจัยพบว่า 1) ผลการคัดเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้า โดยรูปแบบการถ่วงน้ำหนักที่มีค่าสัดส่วนการถ่วงน้ำหนักปัจจัยของบริษัทน้ำดื่มแห่งหนึ่ง ร้อยละ 88.25 เลือกจังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีผลต่อศักยภาพส่งมอบสินค้าของบริษัทน้ำดื่มแห่งหนึ่งมากที่สุด รองลงมาจังหวัดอุบลราชธานีร้อยละ 79.75 และจังหวัดมหาสารคามร้อยละ 77.50 2) ปัจจัยในการคัดเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าของบริษัทน้ำดื่มแห่งหนึ่ง ได้แก่ (1) แหล่งลูกค้า (2) กำลังซื้อของลูกค้า (3) ค่าเช่าอาคาร (4) ขนาดพื้นที่อาคาร (5) ความปลอดภัย (6) คลังสินค้าคู่แข่ง และ (7) ระยะทางจากศูนย์กระจายสินค้าถึงลูกค้า ซึ่งมีความเหมาะสมและสามารถเพิ่มศักยภาพการส่งมอบสินค้า 3) ศักยภาพการส่งมอบสินค้าหลังคัดเลือกศูนย์กระจายสินค้าจังหวัดร้อยเอ็ด มีศักยภาพสามารถตอบสนองความต้องการถูกต้อง รวดเร็ว และสามารถส่งมอบสินค้าตามกำหนดเวลาได้ร้อยละ 95 องค์กรต้องพิจารณากิจกรรมหลักที่สามารถทำกำไร (Core Value) ประกอบการพิจารณาเพื่อให้สามารถตอบสนองที่มีความยืดหยุ่นว่องไวในทุกสถานการณ์</p> กวินเวทย์ พิพิธนาธันยธร, ชาริณี พลวุฒิ, นิลุบล สุทธิอาภา , วิมลวัลย์ ทรงศิริยศ, ปัญญา สำราญหันต์, ณรงค์ฤทธิ์ ยิ้มเจริญพรสกุล Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/274636 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยการตลาดบริการที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อกาแฟสดของผู้บริโภคในจังหวัดปราจีนบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/274654 <p>งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคในการเลือกซื้อกาแฟสดของผู้บริโภคในจังหวัดปราจีนบุรี 2)เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการเลือกซื้อกาแฟสดของผู้บริโภคในจังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริโภคที่เคยซื้อกาแฟสดและอาศัยอยู่ในพื้นที่ 7 อำเภอในจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 406 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาณเพื่อทดสอบสมติฐานใช้สถิติ ไคสแควร์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05</p> <p> ผลการวิเคราะห์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20-40 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้ 5,000-15,000 บาท บริโภคกาแฟสดอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง ช่วงเวลา 9.00-12.00 บริโภคเอสเพรสโซ เลือกซื้อเพราะรสชาติของผลิตภัณฑ์ ค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้งอยู่ที่ 40-60 บาท และมีการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง ส่วนปัจจัยการตลาดบริการที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อกาแฟสดอยู่ในระดับ มากทุกด้าน โดยเรียงลำดับปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมมากที่สุดได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านบุคลากร ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ</p> <p> จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อกาแฟสดที่ต่างกันทุกประเด็น ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนปัจจัยการตลาดบริการทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการให้บริการ ผลต่อพฤติกรรมการซื้อกาแฟสดของผู้บริโภคทุกประเด็น ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p> นรภัทร สถานสถิตย์ , ๋จรรยา วังนิยม Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/274654 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของการตลาดโซเชียลมีเดีย การสื่อสารปากต่อปากแบบอิเล็กทรอนิกส์ การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ และ การตลาดเนื้อหา ต่อความตั้งใจในการจองห้องพักโรงแรมในพัทยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/274833 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจองห้องพักโรงแรมในพัทยา เปรียบเทียบความตั้งใจในการจองห้องพักโรงแรมในพัทยาจำแนกตาม เพศ รายได้ การศึกษา และอาชีพ และศึกษาอิทธิพลของการตลาดโซเชียลมีเดีย การสื่อสารปากต่อปากแบบอิเล็กทรอนิกส์ การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ และการตลาดเนื้อหา ต่อความตั้งใจในการจองห้องพักโรงแรมในพัทยา กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัย คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีประสบการณ์การจองห้องพักโรงแรมในพัทยาผ่านออนไลน์จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน โดยใช้ ค่าสถิติ t การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่าอายุที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการจองห้องพักโรงแรมในพัทยาแตกต่างกัน Generation Z เป็นกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยความตั้งใจในการจองห้องพักโรงแรมในพัทยาสูงสุด การตลาดอินฟลูเอนเซอร์(IM) มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการจองโรงแรมในพัทยามากที่สุด (B = 0.287) รองลงมาคือ การตลาดเนื้อหา (CM) (B = 0.255) การสื่อสารปากต่อปากแบบอิเล็กทรอนิกส์ (eWOM) (B = 0.167) และการตลาดโซเชียลมีเดีย (SMM) (B = 0.096) ตามลำดับ และได้สมการพยากรณ์ความตั้งใจในการจองห้องพักโรงแรมในพัทยาดังนี้ Y = 0.746 + 0.287*IM + 0.255*CM + 0.167*eWOM + 0.096*SMM</p> งามสิริ วิฑูรย์พันธุ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/274833 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 สมรรถนะหลักของบุคลากรในองค์การ กรณีศึกษาบริษัทผู้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ XYZ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275060 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดสมรรถนะหลักของบุคลากรในองค์การกรณีศึกษาบริษัทผู้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ XYZ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้บริหารระดับสูงในระดับผู้กำหนดนโยบาย แผนกลยุทธ์ขององค์การ และการบริหารจัดการองค์การ จำนวน 5 ท่าน กำหนดการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ประกอบ ด้วยระยะที่ 1 การกำหนดสมรรถนะหลักของบุคลากร เพื่อให้ทราบถึงความต้องการในสมรรถนะหลักของบุคลากรบริษัทผู้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ XYZ จากผู้บริหาร และระยะที่ 2 การตรวจสอบและยืนยันสมรรถนะหลักของบุคลากร เพื่อกำหนดสมรรถนะหลักและระดับพฤติกรรมที่แสดงออกตามแต่ละระดับตำแหน่งงาน โดยใช้แบบตรวจสอบรายการสมรรถนะหลัก ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะหลักของบุคลากรในองค์การบริษัทผู้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ XYZ ประกอบด้วยสมรรถนะหลัก 5 ด้าน ได้แก่ 1) ความรับผิดชอบ 2) การทำงานเป็นทีม 3) ความคิดสร้างสรรค์ 4) การสื่อสาร และ 5) การมีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อกำหนดแนวทางให้บุคลากรในองค์การมีรูปแบบการดำเนินงานที่ชัดเจนทั้งในรายละเอียดงานและเป้าหมายที่จะเกิดขึ้น โดยใช้ระบบสมรรถนะหลักเป็นพื้นฐานในการพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลภายในองค์การ ส่งผลให้เกิดความสามารถ และความได้เปรียบทางการในการแข่งขันภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว</p> ยุทธพงษ์ ดวงรัตน์, ชุติเนตร บัวเผื่อน Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275060 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยการมีส่วนร่วม ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดภัย ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275085 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดภัย ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และนำเสนอกระบวนทัศน์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดภัย ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 5 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดภัย กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งสิ้น 50 คน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดภัย ยังคงใช้การประชาสัมพันธ์แบบดั้งเดิม คือ แบบปากต่อปาก การติดป้ายโฆษณาในแหล่งชุมชน รวมถึงการประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกกลุ่ม การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐในการออกบูธเพื่อจัดแสดงสินค้าต่าง ๆ ทั้งนี้ชุมชนมีความต้องการที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีรูปแบบที่หลากหลาย โดยการสื่อสารผ่านการตลาดเชิงกิจกรรมเป็นหลักและใช้เครื่องมือทางการตลาดอื่นๆทั้งออนไลน์ และออฟไลน์เข้ามาบูรณาการ เพื่อสร้างความแตกต่างและความเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดภัย ให้มีความโดดเด่นจากผลิตภัณฑ์ชุมชนทั่วไป จากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างกระบวนทัศน์ในการพัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้ชื่อว่า “The SPECIAL Paradigm” เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการสื่อสารการตลาดในอนาคตได้</p> วรีรัตน์ สัมพัทธ์พงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275085 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 การสื่อสารการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า E-Sports ผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภค https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275098 <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยการตลาดสร้างเนื้อหาแบ่งปันข้อมูล (Content Marketing) ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า E-sports ผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภค (2) ศึกษาปัจจัยการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Marketing) ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า E-Sports ผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภค (3) ศึกษาปัจจัยการตลาดโดยใช้เว็บไซต์ (Website Marketing) ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า E-Sports ผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภค (4) ศึกษาปัจจัยการตลาดผ่านผู้มีอิทธิพล (Influencer Marketing) ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า E-Sports ผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภค และ (5) ศึกษาปัจจัยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail Marketing) ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า E-Sports ผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภค เป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้า E-Sports ผ่านช่องทางออนไลน์ ที่มาจากการคำนวณขนาดกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้สูตร ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ที่มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Sampling Random) แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าสถิติค่าเอฟ (F-test) </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) การตลาดสร้างเนื้อหาแบ่งปันข้อมูลส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า E<strong>-</strong>Sports ผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภค (2) การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า E<strong>-</strong>Sports ผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภค (3) การตลาดโดยใช้เว็บไซต์ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า E<strong>-</strong>Sports ผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภค (4) การตลาดผ่านผู้มีอิทธิพลส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า E<strong>-</strong>Sports ผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภค (5) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า E<strong>-</strong>Sports ผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภค</p> พรธิดา รถทอง, วีราวัลย์ เจริญกิจรุจี , ประภาศิริ นำเจริญสมบัติ, ศศิภรณ์ มีสุข, บุศยรินทร์ กองแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275098 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์ค้าปลีกสมัยใหม่ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล ในจังหวัดนนทบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275134 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การให้ระดับความสำคัญกับกลยุทธ์ค้าปลีกสมัยใหม่ของผู้บริโภคกลุ่ม<br />มิลเลนเนียล 2) การเลือกใช้บริการร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล และ 3) กลยุทธ์ค้าปลีกสมัยใหม่ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล กลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 ราย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามอำเภอในจังหวัดนนทบุรี สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณด้วยวิธี enter</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์ค้าปลีกสมัยใหม่ด้านการกำหนดราคา ด้านการออกแบบร้านค้าและการตกแต่งร้านค้า ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลให้ความสำคัญมากที่สุด 2) ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล เลือกใช้บริการร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นมากที่สุด 3) กลยุทธ์ค้าปลีกสมัยใหม่ ด้านการเลือกทำเลที่ตั้ง การกำหนดราคา การสื่อสารทางการตลาด และการออกแบบร้านค้าและการตกแต่งร้านค้าส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> สุนทรีย์ สองเมือง Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275134 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และตราสินค้าสำหรับผ้าทอปกาเกอะญอ บนฐานวัฒนธรรมพื้นถิ่น บ้านซอระแตะ ตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275249 <p>การพัฒนาผลิตภัณฑ์และตราสินค้าสำหรับผ้าทอปกาเกอะญอบนฐานวัฒนธรรมพื้นถิ่นบ้านซอระแตะ ตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอปกาเกอะญอบนฐานวัฒนธรรมพื้นถิ่น 2) เพื่อพัฒนาตราสินค้าผ้าทอปกาเกอะญอบนฐานวัฒนธรรมพื้นถิ่น และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์และตราสินค้าผ้าทอปกาเกอะญอบ้านซอระแตะ ตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ สมาชิกกลุ่มแม่บ้านผ้าทอบ้านซอระแตะ จำนวน 10 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทน ใช้ประเด็นคำถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยการจำแนกและจัดระบบข้อมูล รวมถึงการหาความสัมพันธ์ของข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอปกาเกอะญอบนฐานวัฒนธรรมพื้นถิ่น โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าของที่ระลึก กระเป๋าสำหรับสุภาพสตรีแบบต่าง ๆ จำนวน 6 รูปแบบ 2) ผลการพัฒนาตราสินค้าผ้าทอปกาเกอะญอบนฐานวัฒนธรรมพื้นถิ่น มีลักษณะเป็นสติ๊กเกอร์ติดประกอบกับบรรจุภัณฑ์ จำนวน 2 รูปแบบ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับผู้บริโภคจำนวน 385 ราย โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น ด้วยวิธีแบบเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 3) ผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์และตราสินค้า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 โดยด้านผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 และด้านตราสินค้า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.74 เช่นกัน</p> พรรณธิภา เพชรบุญมี, จักรพันธ์ วงศ์ฤกษ์ดี Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275249 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจเรื่องเล่าอาหารเมืองเพ็ชร์: เมืองสามรส https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275372 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดเพชรบุรีและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจเรื่องเล่าอาหารเมืองเพ็ชร์: เมืองสามรส กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เคยทำกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ผลโดยการใช้วิธีหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลวิจัยพบว่า พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเคยเดินทางไปทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดเพชรบุรีครั้งล่าสุดเดินทางไป ไม่เกิน 1 ปี มีการเดินทางเพื่อตามรอยการรับประทานอาหารท้องถิ่น มีค่าใช้จ่ายต่อครั้งในการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารหรือเป็นของฝาก ต่ำกว่า 5,000 บาท และมีประสบการณ์ความทรงจำนึกถึงอาหารของจังหวัดเพชรบุรี คือ ด้านรสชาติของอาหารท้องถิ่น ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจเรื่องเล่าอาหารเมืองเพ็ชร์: เมืองสามรส พบว่า มี 5 องค์ประกอบเรื่องเล่า ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 เรื่องเล่ารู้แหล่งที่มาของอาหาร ประกอบด้วย 9 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 2 เรื่องเล่าวัตถุดิบของอาหาร ประกอบด้วย 9 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 3 เรื่องเล่ามรดกของอาหาร ประกอบด้วย 8 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 4 เรื่องเล่ากรรมวิธีการทำอาหารในท้องถิ่น ประกอบด้วย 3 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 5 เรื่องเล่าภูมิปัญญาและความปลอดภัยของอาหาร ประกอบด้วย 3 ตัวแปร</p> ภณพรรธน์ ธนภูวนัตถ์ภาคิน, ระชานนท์ ทวีผล , จุฑามาศ พีรพัชระ , ณนนท์ แดงสังวาลย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275372 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์จักสานพลาสติก กลุ่มแม่บ้านศรีพราน อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275388 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต วิเคราะห์ผลตอบแทน วิเคราะห์จุดคุ้มทุนและวางแผนกำไรให้กับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านจักสานพลาสติกศรีพราน อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ในช่วงมีนาคม 2566- กุมภาพันธ์ 2567 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-deep interview) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือกลุ่มผู้ผลิต ตำบลศรีพราน อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ กลุ่มแม่บ้านจักสานพลาสติกศรีพราน จำนวน 8 ราย เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนการผลิต และผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์จุดคุ้มทุนในรูปแบบการคำนวณทางการบัญชี</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มแม่บ้านจักสานพลาสติกศรีพราน มีการประกอบอาชีพจักสานโดยทำเป็นอาชีพหลัก ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มประกอบด้วย ตะกร้า กระเป๋า กล่องกระดาษทิชชู ลักษณะการขายเป็นการขายปลีกโดยมีหน้าร้าน การจัดทำบัญชีของกลุ่มไม่มีรูปแบบในการจัดทำบัญชี ไม่มีการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต ไม่ได้จัดทำงบการเงินเพื่อวิเคราะห์หาผลตอบแทนและไม่สามารถวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยตามหลักการบัญชีต้นทุน ไม่สามารถคำนวณต้นทุนวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิตได้ ในส่วนการกำหนดราคาขายใช้วิธีกะประมาณและดูราคาของคู่แข่งเพื่อมากำหนดราคาขายเองตามความเหมาะสมและไม่มีการวางแผนกำไร จากการคำนวณต้นทุนการผลิตพบว่า กระเป๋ามีต้นทุน 74.20 บาท/หน่วย ตะกร้ามีต้นทุน 74.20 บาท/หน่วย และกล่องใส่กระดาษทิชชูมีต้นทุน 52.80 บาท/หน่วย การวิเคราะห์ผลตอบแทนพบว่า มีรายได้จากการขายกระเป๋า ตะกร้าและกล่องใส่กระดาษทิชชู 830,000 บาทต่อปี มีกำไรสุทธิรวมเท่ากับ 406,200 บาทต่อปี การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทน พบว่า กระเป๋าและตะกร้ามีอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขาย เท่ากับ ร้อยละ 50.53 และกล่องใส่กระดาษทิชชู มีอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขาย เท่ากับ ร้อยละ 34.00 การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนพบว่าทางกลุ่มต้องขายสินค้าให้ได้ 200 หน่วยต่อเดือนจึงจะคุ้มทุน แนวทางการวางแผนกำไรให้ผลิตภัณฑ์จักสานพลาสติกจะได้ราคาขายใหม่จากการวางแผนกำไรโดยกำหนด อัตราส่วนเพิ่ม 150% ราคาขายผลิตภัณฑ์จะเท่ากับ 185.5 บาทต่อใบ</p> ภาวินีย์ ธนาอนวัช, เพ็ญนภา หวังที่ชอบ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275388 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดบริการสำหรับธุรกิจสปาและนวดแผนไทย ในจังหวัดสมุทรปราการ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275390 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการสปาและนวดแผนไทยของผู้บริโภค จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล 2) ศึกษาส่วนประสมการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ สปาและนวดแผนไทยของผู้บริโภค จำแนกตามกลุ่มข้อมูลส่วนบุคคลที่มีกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการสปาและนวดแผนไทยแตกต่างกัน 3) ศึกษารูปแบบกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดบริการสำหรับธุรกิจสปาและนวดแผนไทย กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคที่มาใช้บริการสปาและนวดแผนไทยในจังหวัดสมุทรปราการจำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่น .97 วิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test ANOVA และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression analysis) ด้วยวิธี stepwise</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริโภคที่มีอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัท/ลูกจ้าง และไม่ได้ประกอบอาชีพ มีกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการสปาและนวดแผนไทยแตกต่างจากอาชีพอิสระ/รับจ้างทั่วไป นอกนั้นไม่แตกต่างกัน 2) ส่วนประสมการตลาดบริการที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสปาและนวดแผนไทยของผู้บริโภคอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัท/ลูกจ้าง และไม่ได้ประกอบอาชีพ ได้แก่ ด้านภูมิทัศน์แหล่งบริการ ด้านการจัดจำหน่าย/สถานที่ ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านกระบวนการ ส่วนด้านผู้ให้บริการมีอิทธิพลเชิงลบ และส่วนประสมการตลาดบริการที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสปาและนวดแผนไทยของผู้บริโภคอาชีพอิสระ/รับจ้างทั่วไป ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านผู้ให้บริการ และด้านราคา 3) รูปแบบกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดบริการสำหรับธุรกิจ สปาและนวดแผนไทย มี 2 รูปแบบ</p> ภัทรา สุขะสุคนธ์, ยุวลักษณ์ เวชวิทยาขลัง, จันทวัลย์ สุ่นสวัสดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275390 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของไคเซ็นความปลอดภัยและการตระหนักความปลอดภัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอลูมิเนียมแห่งหนึ่ง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275436 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอลูมิเนียมแห่งหนึ่งที่มีต่อไคเซ็นความปลอดภัย วัฒนธรรมความปลอดภัย การตระหนักความปลอดภัย และพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงาน และ 2) ศึกษาอิทธิพลของไคเซ็นความปลอดภัยและการตระหนักความปลอดภัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอลูมิเนียมแห่งหนึ่ง โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างพนักงานส่วนสำนักงาน ส่วนโรงงาน และส่วนสโตร์จัดส่งที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในโรงงานอุตสาหกรรมอลูมิเนียมแห่งหนึ่ง จำนวน 500 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง Smart PLS 4.0 ผลการศึกษาพบว่า 1) ไคเซ็นความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 การตระหนักความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 และวัฒนธรรมความปลอดภัย ด้านการรับรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 ด้านพฤติกรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 และด้านจิตวิทยาภายในองค์กร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน 2) ตัวแปรปัจจัยด้านไคเซ็นความปลอดภัยมีอิทธิพลเชิงบวกต่อปัจจัยด้านวัฒนธรรมความปลอดภัย ตัวแปรปัจจัยด้านความตระหนักเรื่องความปลอดภัยมีอิทธิพลเชิงบวกต่อปัจจัยด้านวัฒนธรรมความปลอดภัย ตัวแปรปัจจัยด้านวัฒนธรรมความปลอดภัยมีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ตัวแปรปัจจัยด้านความตระหนักเรื่องความปลอดภัยมีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมความปลอดภัยใน การทำงาน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านไคเซ็นความปลอดภัยไม่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญ</p> เอกชัย อิสสรา, สุรสิทธิ์ อุดมธนวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275436 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของภาพลักษณ์และการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อความภักดีของนักท่องเที่ยวชาวไทยการท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275444 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาพลักษณ์และการรับรู้คุณค่าการท่องเที่ยวเชิงอาหารที่ส่งผลต่อความภักดีของนักท่องเที่ยวชาวไทยการท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 200 ตัวอย่าง ที่มาท่องเที่ยวและรับประทานอาหารหรือซื้ออาหารจากร้านอาหารที่ได้รับรางวัลจาก Michelin Guide 2024 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา งานวิจัยนี้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power 3.1.9.2 กับการเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31 – 40 ปี การศึกษาปริญญาตรี รับราชการและรัฐวิสาหกิจ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ค่าใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยว 1,001 – 2,000 บาท/ครั้ง ใช้รถส่วนตัวในการเดินทางมาท่องเที่ยว และมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ การรับรู้คุณค่า และความภักดีต่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารนั้นมีความเห็นโดยรวมในระดับมาก สำหรับการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ภาพลักษณ์ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว การรับรู้คุณค่าด้านสังคมและด้านความคุ้มค่า มีอิทธิพลต่อความภักดีของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวเชิงอาหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> กนกกาญจน์ กล่อมเกลา, วสุธิดา นุริตมนต์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275444 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา อู่ซ่อมรถยนต์ เอการช่าง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275467 <p>การทำวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การจัดกลุ่มอะไหล่โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์เอฟเอสเอ็น 2) เพื่อออกแบบปรับปรุงพื้นที่ของการจัดเก็บอะไหล่กลุ่มเอฟ (วัสดุที่มีการหมุนเวียนเร็ว) และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการลดระยะเวลาในการเบิกจ่ายอะไหล่กลุ่มเอฟ (วัสดุที่มีการหมุนเวียนเร็ว) ผู้วิจัยได้ศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการทำงานในคลังอะไหล่พบว่าอะไหล่ในคลังไม่มีการแยกประเภทการจัดเก็บที่ชัดเจน ไม่มีป้ายบอกรุ่นและรหัส ทำให้เสียเวลาในการรื้อย้ายอะไหล่ที่ไม่ต้องการ และเสียเวลาในการจัดเก็บอะไหล่เข้าที่เดิมส่งผลให้ การเบิกจ่ายอะไหล่ใช้เวลานานและเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย ผู้วิจัยจึงมีแนวทางการแก้ปัญหาด้วยการจัดกลุ่มอะไหล่ให้เป็นหมวดหมู่โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์เอฟเอสเอ็น ทำปรับปรุงระบบการจัดวางอะไหล่โดยกำหนดตำแหน่งแบบตายตัว และประยุกต์ใช้เทคนิคการควบคุมด้วยการมองเห็นมาช่วยการเบิกจ่ายเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเบิกจ่ายและเกิดประสิทธิภาพในการทำงานยิ่งขึ้น</p> <p> ผลการศึกษาพบว่าจากการจัดกลุ่มอะไหล่ด้วยวิธี FSN Analysis สามารถแบ่งกลุ่มอะไหล่ออกเป็น กลุ่ม F จำนวน 62 รายการ กลุ่ม S จำนวน 23 รายการ และกลุ่ม N จำนวน 25 รายการ และทำการจัดวางอะไหล่ในคลังใหม่โดยใช้ระบบการจัดเก็บแบบกำหนดตำแหน่งตายตัว โดยกลุ่มอะไหล่ที่มีปริมาณการหมุนเวียนมากและอยู่ในกลุ่ม F จะถูกจัดวางใกล้ประตูทางออกมากที่สุดเพื่อสะดวกต่อการเบิกจ่าย ส่วนกลุ่ม S และกลุ่ม N จะถูกจัดวางไว้ในตำแหน่งที่ไกลจากประตูตามลำดับและทดสอบประสิทธิภาพพบว่าเวลาเบิกจ่ายอะไหล่กลุ่ม F เวลาเฉลี่ยรวมก่อนการปรับปรุงอยู่ที่ 32.03 นาที หลังการปรับปรุงอยู่ที่ 25.12 นาที สามารถลดเวลาในการเบิกจ่ายได้ 6.91 นาที ลดลงร้อยละ 21.57 แสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงตามแนวทางที่ผู้วิจัยทำช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ดีขึ้น</p> มานะ ขาวเงิน Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275467 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบสารสนเทศจัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด วันชัย เมทัลเวิร์ค https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275451 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศจัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด วันชัย เมทัลเวิร์ค 2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศจัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด วันชัย เมทัลเวิร์ค 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบสารสนเทศจัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด วันชัย เมทัลเวิร์ค โปรแกรมที่ใช้ Sublime Text3 โดยใช้ภาษา PHP ในการพัฒนาระบบ และใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล MySQL ในการจัดเก็บข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบสารสนเทศจัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด วันชัย เมทัลเวิร์ค 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศจัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด วันชัย เมทัลเวิร์ค และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานกลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ จำนวน 3 คน และผู้ใช้งานระบบ จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า ระบบสามารถจัดการข้อมูลลูกค้า ข้อมูลสินค้า ข้อมูลรายการการสั่งซื้อ คำนวณรายการการสั่งซื้อ สามารถค้นหาข้อมูลสินค้า ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลรายการการสั่งซื้อ นอกจากนั้นระบบออกรายงาน ได้แก่ ใบเสนอราคา บิลเงินสด ใบกำกับภาษี ใบสำคัญรับเงิน ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.63, S.D.=0.43) และผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.07, S.D.=0.45)</p> อธิบ โพทอง, สุภาพร ณ หนองคาย Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275451 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 บทบาทของกาแฟที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275419 <p>การดื่มกาแฟรสชาติดี ๆ ในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลด้านบวกต่อกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ร้านกาแฟหรือคาเฟกลายเป็นศูนย์กลางของผู้คนอย่างปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งเมื่อย้อนเวลากลับไปในหลายศตวรรษที่ผ่านมา แอนเน็ตต์ โมลด์เออร์ ผู้เขียนหนังสือ The Coffee Book ได้กล่าวว่า สำหรับหลายล้านคนทั่วโลก การได้นั่งในร้านกาแฟสักแห่งหนึ่งกับการดื่มกาแฟอร่อย ๆ คือความสุขอันยิ่งใหญ่ของชีวิต วัฒนธรรมการดื่มกาแฟกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คน การเดินทางเข้ามาของกาแฟทั้งสายพันธุ์อาราบิกาและโรบัสตาที่ได้รับความนิยมในประเทศไทยนั้น ทำให้คนปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในการดำเนินชีวิตและเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการท่องเที่ยวตามมา บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งเป็นผลมาจากการดื่มกาแฟจนกลายมาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งอย่างแยกออกจากกันไม่ได้ของผู้คนในสังคมปัจจุบัน เนื้อหาของบทความนี้เพิ่มรูปแบบของการท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มซึ่งเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวเฉพาะตามความสนใจพิเศษ แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการท่องเที่ยวดังกล่าวจัดทำเพื่อรองรับความต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีเป้าหมายทางการท่องเที่ยวที่แตกต่างไปจากรูปแบบเดิม การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่นี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบการท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มแบบไร้ความเร่งรีบ โดยการนำเสนอเนื้อหาของบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับตัวทางการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวรูปแบบเฉพาะกลุ่มและเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืนต่อไป</p> นภัสนันท์ ทองอินทร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/275419 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700