https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/issue/feed วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ 2023-12-29T00:00:00+07:00 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ [email protected] Open Journal Systems <p><img src="https://so03.tci-thaijo.org/public/site/images/ysawita/msjournal1.jpg" /></p> <p><img src="https://so03.tci-thaijo.org/public/site/images/ysawita/msjournal2.jpg" /></p> <p><img src="https://so03.tci-thaijo.org/public/site/images/ysawita/msjournal3.jpg" /></p> <p><img src="https://so03.tci-thaijo.org/public/site/images/ysawita/msjournal4.jpg" /></p> <p><img src="https://so03.tci-thaijo.org/public/site/images/ysawita/msjournal5.jpg" /></p> https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/271069 แนวทางในการรับมือกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงหลังจากวิกฤตการณ์โควิด-19 ของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2023-11-10T11:10:28+07:00 ประเสริฐศักดิ์ โพธิ์ทอง [email protected] <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านทัศคติ การรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ และการยอมรับนวัตกรรมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงหลังจากวิกฤตการณ์โควิด-19 และเพื่อศึกษาแนวทางในการรับมือกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงหลังจากวิกฤตการณ์โควิด-19 ของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานวิธี ซึ่งใช้แบบสอบถามแบบออนไลน์เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคที่ใช้บริการเข้าพักโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน ผู้วิจัยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural equation modeling : SEM) ในการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารธุรกิจโรงแรมในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 17 คน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความเสี่ยง การยอมรับนวัตกรรมและทัศนคติ มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงหลังจากวิกฤตการณ์โควิด-19 (มีค่าเท่ากับ 0.64 , 0.13 , 0.12 และ 0.11 ตามลำดับ) ตามลำดับ ผลการตรวจสอบความสอดคล้องโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยด้านทัศคติ การรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ และการยอมรับนวัตกรรมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงหลังจากวิกฤตการณ์โควิด-19 ได้ค่า=36.760, df= 38, /df=0.937, p-value=0.527, RMSEA=0.000, RMR=0.005, GFI=0.99, AGFI=0.96, NFI= 0.99, IFI=1.00 ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ แนวทางในการรับมือพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงหลังจากวิกฤตการณ์โควิด-19 ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมควรใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อบริหารจัดการโรงแรม เช่น ระบบอัตโนมัติผ่านช่องทางออนไลน์ การสอบถามหรือแจ้งปัญหาผ่านแชตบอท การให้คำแนะนำข้อมูลออนไลน์ การเช็กอินเเละเช็กเอาต์ผ่านระบบแอปพลิเคชัน เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่มีหลากหลาย</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/272424 ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 2023-11-21T09:06:44+07:00 ปวันรัตน์ ตะริดโน [email protected] วันทนา เนาว์วัน [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์นี้เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรและนำเสนอแนวทางการสร้างความผูกพันของบุคลากรในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา วิธีการดำเนินการวิจัยแบบเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 64 คน ประกอบด้วยข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำและเจ้าหน้าที่ตามสัญญา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลวิจัยพบว่า ระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาโดยรวมอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.02,S.D.=0.493) รองลงมาคือด้านความเต็มใจที่จะใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการทำงานเพื่อองค์การ (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.26, S.D.=0.496) ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือความเชื่อมั่นและการยอมรับในเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.66, S.D.=0.615) ข้อเสนอแนวทางการสร้างความผูกพันของบุคลากรในคณะวิทยาการจัดการ ผู้บริหารควรให้ความเชื่อมั่นแก่บุคลากรว่าองค์กรมีความน่าเชื่อถือและมีความมั่นคง กำกับดูแลเรื่องการทำงานร่วมกันเป็นทีมและการมีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน การมอบหมายงาน สร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาผลงานร่วมกัน รวมทั้งการสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานให้บุคลากร ในด้านการส่งเสริมองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/271238 การศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดตั้งสถานบันเทิงแบบครบวงจร 2023-11-10T11:46:12+07:00 พรรษพล คำไล้ [email protected] คณิต เขียววิชัย [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดตั้งสถานบันเทิงแบบครบวงจร และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดตั้งสถานบันเทิงแบบครบวงจร จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่า t-test, F-test ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดตั้งสถานบันเทิงแบบครบวงจร ศึกษาความคิดเห็น 7 ประเด็น ภาพรวมของความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดตั้งสถานบันเทิงแบบครบวงจร ในระดับ มาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.96) ประกอบด้วย 1) การจัดการท่องเที่ยว (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.10) 2) สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.96) 3) การบริหารจัดการ (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.97) 4) ผลกระทบทางเศรษฐกิจ (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.87) 5) ผลกระทบทางสังคม (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.00) 6) ผลกระทบทางวัฒนธรรม (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.96) และ 7) ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.92) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดตั้งสถานบันเทิงแบบครบวงจร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยด้านเพศ ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อกการจัดตั้งสถานบันเทิงแบบครบวงจร ไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนนั้น ความคิดเห็นของประชาชนมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/271388 แนวทางพัฒนาความสามารถทางการตลาดของสถานีบริการน้ำมันโดยการสร้างความภักดีต่อตราผลิตภัณฑ์: กรณีสถานีบริการน้ำมันบางจากในเขต อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 2023-11-08T21:21:16+07:00 วทัญญู รัศมิทัต [email protected] พรรนภา สวนรัตนชัย [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสถานีบริการน้ำมันบางจาก อันได้แก่ คุณภาพการให้บริการของผู้ให้บริการสถานีบริการน้ำมันบางจาก (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณค่าของตราสินค้าของผู้ใช้บริการสถานีบริการน้ำมันบางจากได้แก่ คุณภาพการให้บริการของผู้ให้บริการสถานีบริการน้ำมันบางจาก (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความไว้วางใจ ได้แก่คุณค่าของตราสินค้าและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสถานีบริการน้ำมันบางจาก (4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีต่อตราผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ความพึงพอใจและความไว้วางใจ ของผู้ใช้บริการสถานีบริการน้ำมันบางจาก (5) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการ คุณค่าของตราสินค้าต่อความพึงพอใจ ความไว้วางใจ ต่อความภักดีในตราผลิตภัณฑ์ของสถานีบริการน้ำมันบางจาก ในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้บริการสถานีบริการน้ำมันบางจาก ในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ทั้งสิ้นจำนวน 300 คน ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบโควตา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณภาพการให้บริการมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสถานีบริการน้ำมันบางจาก (2) คุณภาพการให้บริการอิทธิพลทางบวกต่อคุณค่าของตราสินค้าของผู้ใช้บริการสถานีบริการน้ำมันบางจาก (3) คุณค่าของตราสินค้ามีอิทธิพลทางบวกต่อความไว้วางใจของผู้ใช้บริการสถานีบริการน้ำมันบางจาก (4) ความพึงพอใจมีอิทธิพลทางบวกต่อความไว้วางใจของผู้ใช้บริการสถานีบริการน้ำมันบางจาก (5) ความพึงพอใจมีอิทธิพลทางบวกต่อความภักดีในตราผลิตภัณฑ์ของผู้ใช้บริการสถานีบริการน้ำมันบางจาก (6) ความไว้วางใจมีอิทธิพลทางบวกต่อความภักดีในตราผลิตภัณฑ์ของผู้ใช้บริการสถานีบริการน้ำมันบางจาก</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/271399 ภาวะการลงทุนในตราสารทุนและปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อขาย ตราสารทุนของนักลงทุนภายในประเทศไทย 2023-11-10T16:14:31+07:00 สุพิชชา โชติกำจร [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การลงทุนในตราสารทุนของนักลงทุนภายในประเทศผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อขายตราสารทุนของนักลงทุนภายในประเทศผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยวิธีดำเนินการวิจัยจะเป็นรูปแบบเชิงปริมาณ ใช้ข้อมูลทุติยภูมิรายเดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2559 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 จำนวน 70 เดือน และใช้แบบจำลอง Autoregressive Distributed Lag ในการวิเคราะห์ข้อมูล </p> <p> ผลการวิจัย พบว่า จำนวนนักลงทุนที่เปิดบัญชีซื้อขายหุ้น และจำนวนบัญชีหุ้นของนักลงทุนที่เปิดบัญชีผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ.2563 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2564 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อขายตราสารทุนของนักลงทุนภายในประเทศผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลของตลาดหุ้นไทย มีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวกับมูลค่าการซื้อขายหุ้นสุทธิของนักลงทุนภายในประเทศในทิศทางเดียวกัน ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน มีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวกับมูลค่าการซื้อขายหุ้นสุทธิของนักลงทุนภายในประเทศในทิศทางตรงกันข้าม ดังนั้น ในช่วงปัจจุบันที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำ รัฐบาลควรส่งเสริมให้ประชาชนผู้ออมเงินหรือผู้ที่ต้องการนำเงินไปลงทุนหันมาเลือกลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้นมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะทำให้เงินออมงอกเงยขึ้นแล้ว ยังเป็นการช่วยเพิ่มช่องทางการระดมเงินทุนให้แก่บริษัทเพื่อนำไปขยายธุรกิจภายในประเทศต่อไป</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/271336 ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราความสามารถในการทำกำไรกับราคาตลาดหลักทรัพย์ของกลุ่มประกันภัยและประกันชีวิตที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2023-11-11T13:25:13+07:00 เสาวลักษณ์ ไชยนันทน์ [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราความสามารถในการทำกำไร ได้แก่ อัตรากำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์และอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นกับราคาตลาดหลักทรัพย์ของกลุ่มประกันภัยและประกันชีวิตที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยรวบรวมข้อมูลเป็นรายปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560–พ.ศ.2564 รวม 5 ปี จำนวน 15 บริษัท ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ความสัมพันธ์อัตรากำไรสุทธิกับราคาตลาดหลักทรัพย์ของกลุ่มประกันภัยและประกันชีวิตมีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวกในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.371 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์และอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นกับราคาตลาดหลักทรัพย์ของกลุ่มประกันภัยและประกันชีวิตไม่มีความสัมพันธ์กัน หากพิจารณาแยกเป็นรายบริษัท พบว่า มี 2 บริษัทที่อัตราความสามารถในการทำกำไรมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับราคาตลาดของหลักทรัพย์ คือ บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด (มหาชน): THREL และ บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน): TVI</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/271477 การพัฒนาระบบเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด ในการตรวจสอบระบบความปลอดภัยของรถยกสินค้า บริษัท รับจัดเก็บสินค้าแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2023-11-11T13:39:43+07:00 ปิยลักษณ์ เจริญชาติ [email protected] เพ็ญนภา ภู่กันงาม [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการตรวจสอบความปลอดภัยของรถยกสินค้าด้วยคิวอาร์โค้ด และ 2) ประเมินความพึงพอใจของระบบตรวจสอบความปลอดภัยของรถยกสินค้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานขับรถยกสินค้า จำนวน 12 คน สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบตรวจสอบความปลอดภัยของรถยกสินค้าด้วยคิวอาร์โค้ด และแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าจำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ระบบการตรวจสอบความปลอดภัยของรถยกสินค้าด้วยคิวอาร์โค้ด สามารถเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ทางสถิติได้ นำมาวิเคราะห์เรื่องการใช้งาน การซ่อม รวมถึงการบริการต่าง ๆ และมีการจัดเก็บของข้อมูลที่ชัดเจน สอดคล้องกับนโยบายของทางผู้บริหารที่ต้องการลดเรื่องการใช้กระดาษ และหันมาใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูลแทน อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ในการตรวจติดตามระบบบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และงานความปลอดภัยของส่วนกลางได้ และผลการศึกษาระดับความพึงพอใจ เรื่องพัฒนาระบบการตรวจสอบความปลอดภัยของรถยกสินค้าด้วยคิวอาร์โค้ด อยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /><strong>= </strong>4.58, S.D. = 0.431)</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/271615 การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของจีน: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยโครงสร้างประชากรกับ OFDI เมื่อจีนก้าวสู่สังคมสูงวัย 2023-11-21T09:12:42+07:00 พรทิพย์ ตันติวิเศษศักดิ์ [email protected] อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านโครงสร้างประชากรกับมูลค่าการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของจีน 2) ศึกษามูลค่าการลงทุน ประเภทธุรกิจที่ไปลงทุน และประเทศที่เข้าไปลงทุน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้ Pearson Correlation ทดสอบความสัมพันธ์ อ้างอิงข้อมูลสถิติราชการจีน และมีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การศึกษาเอกสาร</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับมูลค่าการลงทุนโดยตรงของจีน (Outward Foreign Direct Investment- OFDI) คือ 1) จำนวนประชากรสูงวัย 2) รายได้โดยเฉลี่ยต่อครัวเรือน 3) จำนวนประชากรในเมือง 4) ระดับการศึกษาปริญญาตรี 5) สวัสดิการจากภาครัฐ 6) แรงงานในภาคบริการ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับมูลค่าการลงทุนโดยตรงของจีนคือ 1) จำนวนคนในชนบท 2) ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายและตอนต้น โดยมูลค่าการลงทุนในช่วงปี 2010-2021 เพิ่มขึ้นทุกปี เฉลี่ย 1,307.63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี สำหรับประเภทธุรกิจที่มีการลงทุนมาก ได้แก่ 1) ธุรกิจการเช่าและให้บริการทางธุรกิจ 2) ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก 3) ธุรกิจผลิต 4) ธุรกิจตัวกลางทางการเงิน และ 5) ธุรกิจขนส่ง คลังสินค้าและไปรษณีย์ภัณฑ์ จีนเข้าไปลงทุนในประเทศต่างๆเกือบทุกภูมิภาคของโลก โดยเข้าไปลงทุนมากที่สุดในเขตปกครองพิเศษฮ่องกง, รองลงมาคือหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน และหมู่เกาะเคย์แมน สำหรับในกลุ่มอาเซียนจีนมีการลงทุนโดยตรงมากที่สุดในสิงคโปร์ รองลงมาคือ อินโดนีเซียและเวียดนาม</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/271872 การรับรู้และความคาดหวังของผู้ประกอบการรายใหม่ เกี่ยวกับการปฏิบัติทางภาษีอากร 2023-11-11T13:44:26+07:00 สายสมร สังข์เมฆ [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้และระดับความคาดหวังของผู้ประกอบการรายใหม่เกี่ยวกับการปฏิบัติทางภาษีอากร 2) เปรียบเทียบระดับการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติทางภาษีอากรของผู้ประกอบการรายใหม่ และ 3) เปรียบเทียบระดับความคาดหวังเกี่ยวกับการปฏิบัติทางภาษีอากรของผู้ประกอบการรายใหม่ ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทั่วประเทศ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการรายใหม่ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทั่วประเทศ ในระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนมีนาคม 2564 จำนวน 379 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน One-way ANOVA และ Paired Sample t-test</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการรับรู้ของผู้ประกอบการรายใหม่เกี่ยวกับการปฏิบัติทางภาษีอากร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=3.62, S.D.=0.30) เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการคำนวณและการนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ด้านหน้าที่ในการเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร และด้านกำหนดโทษกรณีปฏิบัติทางภาษีอากรไม่ถูกต้อง ตามลำดับ ส่วน ระดับความคาดหวังของผู้ประกอบการรายใหม่เกี่ยวกับการปฏิบัติทางภาษีอากร โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /><em>=</em>4.57, S.D.=0.19) เรียงลำดับค่าเฉลี่ย ได้แก่ ด้านหน้าที่ในการเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ด้านการคำนวณและการนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ด้านกำหนดโทษกรณีปฏิบัติทางภาษีอากรไม่ถูกต้อง ตามลำดับ 2) ผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับรูปแบบการจดทะเบียนนิติบุคคลและมีทุนจดทะเบียนของสถานประกอบการแตกต่างกันมีระดับการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติทางภาษีอากรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีข้อมูลทั่วไปของสถานประกอบการแตกต่างกันมีระดับความคาดหวังเกี่ยวกับการปฏิบัติทางภาษีอากรไม่ต่างกัน</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/272255 อิทธิพลของการสร้างรูปแบบในการทำงานที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศบริษัทเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร 2023-11-08T21:28:07+07:00 กฤติมา เอี่ยมบรรณพงษ์ [email protected] วงศ์ลัดดา วีระไพบูลย์ [email protected] <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทดสอบการสร้างรูปแบบในการทำงาน ความผูกพันในงาน ความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงาน ความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงาน 2) ทดสอบการสร้างรูปแบบในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันในงาน ความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงาน ความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน 3) ศึกษาความผูกพันในงาน ความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงาน ความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานที่เป็นตัวแปรส่งผ่านความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างรูปแบบ และผลการปฏิบัติงาน งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ มีเครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม และกลุ่มตัวอย่างคือพนักงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในบริษัทเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 380 ราย มีการวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบจําลองสมการโครงสร้างโดยนําผลที่ได้จากวิธีเชิงปริมาณมาสรุปเป็นแบบจําลองทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า การตรวจสอบข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าดัชนีความกลมกลืนดังนี้ CMIN/df = 2.113, GFI = 0.917, CFI = 0.971, RMR = 0.030, RMSEA = 0.054, RMR = 0.047 ผลการทดสอบสมมติฐาน มีการยอมรับสมมติฐานทั้ง 8 ข้อ โดยการสร้างรูปแบบในการทำงาน ความผูกพันในงาน ความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงาน ความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับผลปฏิบัติงานของพนักงาน ทั้งนี้ ผู้บริหาร และฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรสามารถนำผลการวิจัยไปเป็นแนวทางการสร้างแรงจูงใจและความมุ่งมั่นทุ่มเทในงานให้กับพนักงานเพื่อเป็นการเพิ่มผลการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กร</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/271484 ปัจจัยแรงจูงใจ และปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเริ่มต้น(สตาร์ตอัป) ร้านอาหารในประเทศไทย 2023-11-14T09:02:19+07:00 ทศพล ปรีชาศิลป์ [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการตัดสินใจเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเริ่มต้น (สตาร์ตอัป) ร้านอาหาร ในประเทศไทย และเพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจ ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเริ่มต้น(สตาร์ตอัป) ร้านอาหารในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจเริ่มต้น (สตาร์ตอัป) ร้านอาหารในประเทศไทย จำนวน 200 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอนเดียว</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ระดับการตัดสินใจเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเริ่มต้น (สตาร์ตอัป) ร้านอาหารในประเทศไทย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การตัดสินใจโดยคำนึงถึงเหตุ รองลงมา คือ การตัดสินใจโดยคำนึงถึงผล สำหรับระดับปัจจัยแรงจูงใจเกี่ยวกับการตัดสินใจเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเริ่มต้น (สตาร์ตอัป) ร้านอาหารในประเทศไทย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความต้องการประสบความสำเร็จ รองลงมา คือ ด้านการตั้งเป้าหมาย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านอดทนต่อความไม่แน่นอน ส่วนระดับปัจจัยภายนอกเกี่ยวกับการตัดสินใจเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเริ่มต้น (สตาร์ตอัป) ร้านอาหารในประเทศไทย ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเศรษฐกิจ รองลงมา คือ ด้านการเมือง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านกฎหมาย ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยแรงจูงใจ และปัจจัยภายนอกมีผลต่อการตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจ(สตาร์ตอัป) ร้านอาหารในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/272470 การศึกษาการบริหารจัดการเมืองกับแหล่งมรดกโลก: บทสังเคราะห์จากแหล่งมรดกโลกที่ถูกถอดถอน 2023-11-14T09:12:55+07:00 มูนีเราะฮ์ ยีดำ [email protected] <p>การศึกษาการบริหารจัดการเมืองกับแหล่งมรดกโลก: บทสังเคราะห์จากแหล่งมรดกโลกที่ถูกถอดถอน <br />มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแหล่งมรดกโลกที่ถูกถอดถอนโดยองค์การยูเนสโก และ 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบหาความสอดคล้องร่วมกันและแตกต่างกันของแหล่งมรดกโลกที่ถูกถอดถอนโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการศึกษาเปรียบเทียบ โดยวิธีการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์เพื่อสังเคราะห์สู่การถอดบทเรียนการบริหารจัดการแหล่งมรดกโลก</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. แหล่งมรดกโลกที่ถูกถอดถอนโดยองค์การยูเนสโก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 4 แหล่ง โดยแบ่งเป็น แหล่งมรดกโลกที่ถูกถอดถอนสมบูรณ์ จำนวน 3 แหล่ง จำแนกเป็นประเภทมรดกโลกทางธรรมชาติ 1 แหล่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์อาหรับโอริกซ์ ประเทศโอมาน ประเภทมรดกโลกทางวัฒนธรรม 2 แหล่ง ได้แก่หุบเขาเดรสเดน เอลเบ ประเทศเยอรมนี และเมืองแห่งการค้าทางทะเลลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร และแหล่งมรดกโลกที่ถูกถอดถอนบางส่วน จำนวน 1 แหล่งซึ่งเป็นประเภทมรดกโลกทางธรรมชาติ ได้แก่ มหาวิหารบากราติ ประเทศจอร์เจีย 2. แหล่งมรดกโลกที่ถูกถอดถอนมีลักษณะความเหมือนความต่างจากการศึกษาเปรียบเทียบ โดยพิจารณาจาก (1) ประเภทของแหล่งมรดกโลก (2) เกณฑ์การขึ้นทะเบียนของแหล่งมรดกโลก (3) ผลกระทบสำคัญ และ (4) ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นประเด็นการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการมีโครงการขนาดใหญ่ของรัฐในระดับชาติและระดับท้องถิ่น รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและบูรณะแหล่งมรดกโลก</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/272022 ปัจจัยภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2023-11-10T10:48:10+07:00 วุฒิชัย ยังปรางค์ [email protected] ธัญนันท์ บุญอยู่ [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค จำนวน 400 คน ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ภาพลักษณ์ตราสินค้ามีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เรียงตามลำดับดังนี้ ภาพลักษณ์ตราสินค้าด้านคุณประโยชน์ (b=0.355) ด้านความชื่นชอบ (b=0.275) ด้านคุณค่า (b=0.169) และด้านคุณสมบัติ (b=0.117) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.585-0.834 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.818 และมีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R<sup>2</sup>) มีอำนาจในการพยากรณ์รวมเท่ากับร้อยละ 66.90 โดยเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยได้ คือ = 0.582 + 0.332 (BB)* + 0.263 (BD)* + 0.176 (BS)* + 0.113 (BA)* ซึ่งจากผลการวิจัยได้ข้อค้นพบว่า เมื่อประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีภาพลักษณ์ตราสินค้าไม่ว่าจะในด้านคุณสมบัติ ด้านคุณประโยชน์ ด้านคุณค่า และด้านความชื่นชอบจะมีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลการวิจัยไปพัฒนาสินค้าของตนให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคได้</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/272058 การวัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ด้านการบริการลูกค้าและกิจกรรมสนับสนุน เพื่อเพิ่มอัตราความสามารถในการจัดส่งสินค้า กรณีศึกษา แผนกบริการลูกค้าของผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำแข็งแห่งหนึ่ง 2023-11-14T09:19:50+07:00 นิศากร มะลิวัลย์ [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อวัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ด้านการบริการลูกค้าและกิจกรรมสนับสนุน 2. เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงาน และ 3. เพื่อเพิ่มอัตราความสามารถในการจัดส่งสินค้า โดยวัดประสิทธิภาพ โลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม (Industrial Logistics Performance Index: ILPI) เป็นการวิจัยที่เป็นรูปแบบผสมผสาน มีขั้นตอนการวิจัยโดยเริ่มจากทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ จากนั้นศึกษาและเข้าไปฝังตัวในสถานประกอบการเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและวัดประสิทธิภาพด้านการบริการลูกค้าและกิจกรรมสนับสนุนเลือกกิจกรรมที่ควรปรับปรุงนำไปประชุมหารือร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแผนกบริการลูกค้าและร่วมกันวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อเพิ่มอัตราความสามารถในการจัดส่งสินค้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม (Industrial Logistics Performance Index: ILPI) Why Why Analysis การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ผลวิจัยพบว่า มิติด้านต้นทุน ILPI2C สัดส่วนต้นทุนการให้บริการลูกค้าต่อยอดขายร้อยละ 8.57 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี มิติด้านเวลา ILPI2T ระยะเวลาเฉลี่ยการตอบสนองคำสั่งซื้อจากลูกค้าเท่ากับ 3 ชั่วโมง ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี และมิติด้านความน่าเชื่อถือ ILPI2R อัตราความ สามารถในการส่งมอบสินค้าได้ร้อยละ 84.72 อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องปรับปรุง จึงใช้หลักการ Why–Why Analysis มาระบุสาเหตุของปัญหาพบว่าสาเหตุของการส่งสินค้าไม่ครบและการส่งสินค้าไม่ตรงเวลาเกิดจากเรียงสินค้าสูงเกินไปสินค้าจึงเสียสมดุลและใช้หลักการ ECRS ในการแก้ไขปรับปรุงการเรียงสินค้าซ้อนกันบนรถเข็นโดยประยุกต์ใช้รูปแบบ BLOCK และแบบ PINWHEEL ทำให้สินค้าที่บรรทุกบนรถเข็นมีความมั่นคงไม่สูงเกินไปเข็นง่ายตรวจนับจำนวนสินค้าง่ายขึ้นบรรทุกสินค้าได้มากขึ้น และควบคุมจำนวนสินค้าที่ขนส่งในแต่ละรอบได้สูงสุดไม่เกิน 25 ถุง ส่งผลให้เพิ่มอัตราความสามารถในการจัดส่งสินค้าเป็นร้อยละ 95.10 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/272328 ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กรุงเทพมหานคร 2023-11-14T09:43:05+07:00 สุชลี สงวนตัด [email protected] <p>การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร และระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพและการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ในระยะที่หนึ่ง ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้บริหาร จำนวน 4 คน และสนทนากลุ่มกับเจ้าหน้าที่ จำนวน 10 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยกระบวนการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) เพื่อสรุปปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากร ในระยะที่สอง เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการวิจัย (IOC=0.95) โดยมีบุคลากรสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กรุงเทพมหานครตอบแบบสอบถาม 90 คน วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย (Descriptive statistics) และความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inference Statistics) โดยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ระดับความผูกพันของบุคลากรสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 (SD = .50) และทราบถึงปัจจัยความผูกพันของบุคลากร ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านลักษณะงาน 2) ปัจจัยด้านบุคคลและสังคมในองค์กร 3) ปัจจัยด้านระบบองค์กร และ 4) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมขององค์กร โดยปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมขององค์กร และปัจจัยด้านลักษณะงาน มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ที่เป็นปัจจัย มีค่าเท่ากับ .582 และ .204 ตามลำดับมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/272418 รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับชุมชนบ้านท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2023-11-11T14:04:59+07:00 กนกวรรณกรณ์ หลวงวังโพธิ์ [email protected] สิทธิศักดิ์ เตียงงา [email protected] <p>งานวิจัยนี้เป็นวิจัยที่นำไปใช้พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้ชุมชนบ้านท่าม่วง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับชุมชน (2) สร้างรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับชุมชน (3) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากกลุ่มประชาชนในชุมชนซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวในชุมชนโดยตรงที่ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน โดยใช้แบบสอบถามความต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการเรียนรู้ และแบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อคู่มือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม (t-test) และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแบบสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัญหาหลักคือ ส่วนมากเป็นวัยสูงอายุ จำคำศัพท์ได้ยาก พื้นฐานภาษาอังกฤษค่อนข้างน้อย ไม่ค่อยมีโอกาสฝึกฝน จึงขาดความมั่นใจ (2) รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ควรเป็นคู่มือที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ในลักษณะของสมุดพกพามีรูปภาพ คำศัพท์ภาษาอังกฤษพร้อมคำอ่านตัวอักษรใหญ่ เฉพาะหมวดตามความต้องการของชุมชน และมีหน้าว่างเพื่อใช้บันทึกคำศัพท์ใหม่โดยนำไปปรับใช้กับภาษาอื่นได้ จากนั้นหาความหมายเอง ซึ่งต้องผ่านการอบรมการใช้ก่อนจึงนำไปใช้ (3) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการใช้คู่มือการเรียนรู้ฯ มีคะแนนสูงสุดเป็นเพศหญิง ซึ่งคู่มือการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของชุมชน</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/272277 การเพิ่มประสิทธิภาพการส่งออกด้วยการจัดการโซ่อุปทานยืดหยุ่น การจัดการความเสี่ยง และการจัดการนวัตกรรมในอุตสาหกรรมอัญมณีเครื่องประดับ 2023-11-15T07:36:26+07:00 จันทิมา มณีนาคา [email protected] ปรีชา วรารัตน์ไชย [email protected] ภคพร ผงทอง [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการโซ่อุปทานยืดหยุ่น การจัดการความเสี่ยง การจัดการนวัตกรรม และประสิทธิภาพการส่งออกของอุตสาหกรรมอัญมณีเครื่องประดับ 2) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้าง ศึกษาอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมของ การเพิ่มประสิทธิภาพการส่งออกด้วยการจัดการโซ่อุปทานยืดหยุ่น การจัดการความเสี่ยงและการจัดการนวัตกรรมในอุตสาหกรรมอัญมณีเครื่องประดับ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เจ้าของบริษัท ผู้บริหาร ตลอดจนผู้จัดการในอุตสาหกรรมอัญมณีเครื่องประดับ จำนวน 400 แห่ง ใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างมีระบบ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 8 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการส่งออก การจัดการโซ่อุปทานยืดหยุ่น การจัดการความเสี่ยงและ การจัดการนวัตกรรมในอุตสาหกรรมอัญมณีอยู่ในระดับที่สูง 2) การจัดการโซ่อุปทานยืดหยุ่น การจัดการความเสี่ยงและการจัดการนวัตกรรมมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการส่งออก และ 3) การจัดการโซ่อุปทานยืดหยุ่นมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการส่งออกโดยมีอิทธิพลส่งผ่านการจัดการความเสี่ยงและการจัดการนวัตกรรม ซึ่งผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลจากการวิจัยสามารถนำไปใช้ในเชิงปฏิบัติโดยผู้ประกอบการต้องพัฒนาความสามารถในการเพิ่มผลผลิต บริหารวัตถุดิบให้เพียงพอกับความต้องการและการลดต้นทุนการทำงาน ลดระยะเวลาการผลิตสินค้าและส่งมอบตามกำหนด เน้นการวิจัยและออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่หลากหลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ อีกทั้งต้องสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับคู่ค้าด้วยการแบ่งปันข้อมูล การแลกเปลี่ยนทรัพยากร การคาดการณ์ความต้องการล่วงหน้า และการตัดสินใจร่วมกันเพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและการทำงานร่วมกันเพื่อลดความเสี่ยงเกี่ยวกับการแข่งขันและแรงกดดันจากคู่แข่งรายเดิม ป้องกันไม่ให้คู่แข่งล่วงรู้ข้อมูลที่เป็นความลับ มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มรวดเร็ว ถูกต้อง และมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลง มีแผนรองรับการหยุดชะงักที่ไม่คาดคิดได้อย่างรวดเร็วเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างต่อเนื่องพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงและสร้างผลกำไรจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/271169 การจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อสนับสนุนความผูกพันของบุคลากรในองค์การหน่วยงานกำกับ ของภาครัฐแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร 2023-11-25T11:52:40+07:00 รสสุคนธ์ นาคภิบาล [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของหน่วยงานในกำกับของภาครัฐ ด้านการสรรหาและคัดเลือก การฝึกอบรมและการพัฒนา แรงงานสัมพันธ์ การบริหารค่าตอบแทน และการบริหารจัดการด้านประสิทธิภาพการทำงาน 2) เพื่อศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในหน่วยงานกำกับของภาครัฐ ด้านความคงอยู่ ด้านบรรทัดฐาน และด้านจิตใจ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับความผูกพันในองค์กรของบุคลากรหน่วยงานกำกับของภาครัฐ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือบุคลากร จำนวน 355 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของหน่วยงานกำกับของภาครัฐแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณารายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การสรรหาและคัดเลือก การฝึกอบรมและการพัฒนา แรงงานสัมพันธ์ การบริหารค่าตอบแทน และการบริหารจัดการด้านประสิทธิภาพการทำงาน (2) ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร โดยรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณารายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความผูกพันด้านความคงอยู่ ความผูกพันด้านบรรทัดฐาน ความผูกพันด้านจิตใจ และ (3) การจัดการทรัพยากรมนุษย์กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรในหน่วยงานกำกับของภาครัฐแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกระดับสูง (r=0.738) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/271509 แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยววัดพระศรีรัตนศาสดารามหลังสถานการณ์โควิด ของนักท่องเที่ยวชาวจีน 2023-11-15T10:26:31+07:00 WU YUECHAN [email protected] บรรดิษฐ พระประทานพร [email protected] ปรีชา วรารัตน์ไชย [email protected] <p>วัดพระแก้วที่รู้จักกันทั่วไปว่าวัดพระศรีรัตนศาสดารามถือเป็นวัดชาวพุทธที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในประเทศไทย มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติสนใจเข้ามาท่องเที่ยวมากมายและช่วยสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยววัดพระแก้วหลังสถานการณ์โควิดของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่สนใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่สำรวจประชากรจากนักท่องเที่ยวชาวจีนในมณฑลกวางสีประเทศจีน ที่สนใจเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย จำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการทดสอบการถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย แรงจูงใจการท่องเที่ยวด้านกายภาพ ด้านวัฒนธรรม และด้านศาสนา มีอิทธิพลการตัดสินใจการท่องเที่ยวในวัดพระแก้ว</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/272490 การเปรียบเทียบความได้เปรียบในการส่งออกทุเรียนไปประเทศจีน ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเวียดนาม 2023-11-21T09:18:49+07:00 อมรสุดา เชื้อสุวรรณ [email protected] ภิญญาพัชญ์ สอนสุวิทย์ [email protected] นิรันดร์รัตน์ ทัพพันธ์ดี [email protected] เฌอร์มารินทร์ วัฒนะธนิษฐ์กุล [email protected] อรอนงค์ ศรีมุลทา [email protected] ณัฐธิดา รักษาพล [email protected] อิสราพร บุญชู [email protected] อัษดิน เสืออุดม [email protected] <p>การวิจัยนี้เป็นการเปรียบเทียบความได้เปรียบในการส่งออกทุเรียนไปประเทศจีนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเวียดนามมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิดและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องทางทฤษฎีความได้เปรียบเชิงแข่งขันระหว่างประเทศโดยใช้ระบบเพชร (Diamond model) ซึ่งครอบคลุมปัจจัยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ สภาวะปัจจัยการผลิตในประเทศ อุปสงค์ภายในประเทศ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องและสนับสนุนกัน และทำเลที่ตั้งของประเทศ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบการส่งออกทุเรียนไปประเทศจีน เปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับประเทศเวียดนาม โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการเก็บรวบรวมเอกสาร และบทความงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดจนข้อมูลที่ได้จากหน่วยงานต่าง ๆ และมีวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Method) และนำผลลัพธ์ที่ได้มาเปรียบเทียบความได้เปรียบกัน ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีความได้เปรียบประเทศเวียดนามคือ มีการส่งออกทุเรียนไปจีนมากกว่า 10 ปี จึงทำให้แรงงานมีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูง ในขณะที่ประเทศเวียดนามพึ่งสามารถส่งออกทุเรียนอย่างเป็นทางการได้เพียง 1 ปี จึงทำให้แรงงานขาดความรู้และไม่ค่อยมีประสบการณ์ในธุรกิจทุเรียน ประเทศไทยปลูกทุเรียนได้มากถึง 937,607 ไร่ แต่เวียดนามสามารถปลูกได้เพียง 672,000 ไร่ ประเทศไทยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 18-38 องศาเซลเซียสตลอดทั้งปี ในขณะที่เวียดนามมีอุณหภูมิ 38 องศาเซลเซียสเฉพาะเดือนพฤษภาคมถึงกันยายนเท่านั้น ความต้องการบริโภคทุเรียนของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 39.96% ซึ่งถ้าเทียบกับเวียดนามจะเพิ่มขึ้นเพียง10-15% ประเทศไทยมีการนำเทคโนโลยี smart sensors และระบบ lots มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตทุเรียน แต่ประเทศเวียดนามยังไม่มีเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการผลิต</p> <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"> </span></span></p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/271145 กลยุทธ์การสร้างประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคลเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน และการสร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่งขันให้แก่ธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย 2023-11-10T10:54:21+07:00 อังคาร คะชาวังศรี [email protected] อนพัทย์ พัฒนวงศ์วรัณ [email protected] วรลักษณ์ เขียวมีส่วน [email protected] <p style="font-weight: 400;">บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอกลยุทธ์การสร้างประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคลเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและการสร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่งขันให้แก่ธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย โดยใช้วิธีการศึกษาจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีข้อค้นพบหรือข้อสรุปสำคัญที่เกิดจากการศึกษาซึ่งจะเป็นประโยชน์/สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย ดังนี้ ด้วยการสร้างประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคลถือเป็นกลยุทธ์การตลาดในรูปแบบหนึ่งที่นักการตลาดใช้เทคโนโลยีหรือเครื่องมือเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล การทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมทั้งการศึกษาในสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ เพื่อให้ตราสินค้าสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้าได้แบบเฉพาะบุคคล ดังนั้นนักการตลาดสามารถนำเทคโนโลยีทางการตลาดมาใช้เพื่อจัดเก็บข้อมูลและวัดผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้ตราสินค้าสามารถใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายที่ซับซ้อนได้ และทำให้ตราสินค้าสามารถคาดการณ์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายในอนาคต รวมถึงความต้องการแบบเฉพาะบุคคล โดยนำผลลัพธ์ที่ได้มาใช้กับกลยุทธ์การตลาดแบบเฉพาะบุคคล เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญประกอบด้วย ได้แก่ 1) กลยุทธ์การรู้จักกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 2) กลยุทธ์การแบ่งกลุ่มผู้ชม 3) กลยุทธ์การเลือกใช้เครื่องมือปรับแต่ง 4) กลยุทธ์การนำเสนอเนื้อหาที่เหมาะสม 5) กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพโปรแกรมทางการตลาด และ 6) กลยุทธ์การจัดลำดับความสำคัญและการปกป้องข้อมูลลูกค้า</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/271567 ปัจจัยหนุนเสริมที่มีผลในการบริหารทางการเงินส่วนบุคคลของบุคลากร สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) 2023-11-21T09:00:41+07:00 สุภารัตน์ ปานผดุง [email protected] ชเนตตี พุ่มพฤกษ์ [email protected] <p>บทความวิชาการ เรื่อง ปัจจัยหนุนเสริมในการบริหารทางการเงินส่วนบุคคลของบุคลากรสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้มีประสิทธิภาพภายใต้ความมั่นคงในการบริหารการเงินส่วนบุคคล ประกอบด้วย (1) การบริหารการเงินส่วนบุคคลของบุคลากร (2) การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล (4) ปิระมิดวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล อย่างไรก็ดีนับเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับปัจจัยหนุนเสริมเหล่านั้น เพื่อประยุกต์สู่การวางแผนทางการเงินได้อย่างเป็นระบบ เล็งเห็นแนวทางในการวางแผนการเงินในอนาคต มีเงินใช้จ่ายในวัยเกษียณอายุ การเงินส่วนบุคคล การบริหารการเงิน การวางแผนทางการเงินแบบตามระยะเวลา การวางแผนทางการเงินแบบช่วงวัย การวางแผนทางการเงินเปลี่ยนตามวิธีการ ประโยชน์ของการบริหารการเงินส่วนบุคคล ก่อให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินที่เพียงพอ อีกทั้งยังเสนอให้บุคคลควรมีการจัดทำงบประมาณใช้จ่ายล่วงหน้า ลดรายจ่ายและภาระการผ่อน รักษาสุขภาพ ลดความเสี่ยงค่าใช้จ่าย หารายได้เสริม รักษาวินัยทางการเงินโดยเริ่มปลูกฝั่งการออม ซึ่งมิได้อยู่ในรูปแบบการออมอย่างเดียวเสมอไป อีกทั้งสร้างเกราะป้องกันความเสี่ยงทางการเงินหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันและสร้างความมั่นคงของชีวิต ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับการบริหารการเงินส่วนบุคคลที่เหมาะสมจะทำให้เกิดความผาสุกในการดำเนินชีวิตสูงสุด</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/272349 ปัจจัยทุนมนุษย์และการจัดการธุรกิจเชิงกลยุทธ์กับความสำเร็จขององค์กรธุรกิจในยุคดิจิทัล 2023-11-11T13:51:36+07:00 ปาริฉัตร แตงเนื้อเหลือง [email protected] ตระกูล จิตวัฒนากร [email protected] สยาม อัจฉริยประภา [email protected] <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับปัจจัยทุนมนุษย์และการจัดการธุรกิจเชิงกลยุทธ์กับความสำเร็จขององค์กรธุรกิจ โดยการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร บทความวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสรุปและตีความจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอตามวัตถุประสงค์ และ ผลการศึกษา พบว่า ทุนมนุษย์ หมายถึง ทรัพยากรที่มีอยู่ในตัวบุคลากรในองค์กร ได้แก่ ความรู้ความชำนาญ ความสามารถ ความสามารถพิเศษ ทักษะ ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ ดุลพินิจ และประสบการณ์ ส่วนการจัดการธุรกิจเชิงกลยุทธ์เป็นกระบวนการเลือกทางเลือกในการจัดการธุรกิจที่เหมาะสม เพื่อนำไปปฏิบัติให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ในขณะที่ปัจจัยด้านทุนมนุษย์และการจัดการธุรกิจเชิงกลยุทธ์มีความเกี่ยวข้องกับความสำเร็จขององค์กรธุรกิจอย่างใกล้ชิด เนื่องจากองค์กรธุรกิจนั้นดำเนินการด้วยคนหรือทรัพยากรมนุษย์ซึ่งจะต้องใช้ทุนมนุษย์ในการดำเนินการ และการวัดความสำเร็จขององค์กรธุรกิจในยุคดิจิทัลสามารถวัดด้วยแนวคิดการจัดการแบบสมดุล โดยสามารถจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ ประกอบด้วย (1) ความสำเร็จที่เป็นตัวเงิน เช่น ความสำเร็จในการลดต้นทุนและสร้างรายได้กับผลกำไร และ (2) ความสำเร็จที่ไม่เป็นตัวเงิน เช่น ความพึงพอใจของลูกค้า และความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรในองค์กร</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/272474 เงินบาทดิจิตอล 2023-10-14T15:25:17+07:00 ภัทราพร จันตะนี [email protected] <p>เงินบาทดิจิตอล ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยสกุลเงินดิจิตอล เรียกว่า บาทดิจิตอล และเงินบาทดิจิตอลเป็นตัวเงินจริงแต่อยู่ในรูปของดิจิตอลที่ไม่สามารถจับต้องได้ (ไม่ได้อยู่ในรูปเงินสดหรือธนบัตรแบบเดิม) เงินบาทดิจิตอลมีความแตกต่างจากเงินสดที่อยู่ในรูปธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ ปกติเวลาจะใช้เงินสดก็ต้องถอนเงินฝากมาเพื่อใช้จ่ายเงินผ่านมือกันซึ่งต่างจากเงินบาทดิจิตอลที่ไม่มีอะไรให้จับต้องได้แต่เป็นเงินที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายและมีสินทรัพย์ภาครัฐหนุนหลังเหมือนเงินสด ดังนั้น ก่อนจะใช้งานได้จะต้องนำเงินฝาก/เงินสดมาแลกไปเก็บไว้ในกระเป๋าเงินดิจิตอล แล้วเก็บเอาไว้ในแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนที่ทางธนาคารหรือ ผู้ให้บริการทางการเงินที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดูแล แต่หากไม่มีสมาร์ทโฟน อินเทอร์เน็ตหรือบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงิน สามารถเข้าถึงการใช้งานได้โดยผ่านการ์ดที่ใช้แตะเพื่อรับจ่ายเงิน </p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์