คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง

          วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ เปิดรับบทความวิจัยเต็มรูปแบบ (Full Paper) และบทความวิชาการ (Academic Article) จากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยวารสารจะรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทความที่นำเสนอในวารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ ประกอบด้วย ศาสตร์ทางด้านบริหารธุรกิจ การจัดการ เศรษฐศาสตร์ บัญชีการเงิน การท่องเที่ยว ทรัพยากรมนุษย์ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ และศาสตร์อื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับบริหารธุรกิจ

          วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์มีการเผยแพร่เป็นประจำ ปีละ 3 ฉบับ คือ เดือนมกราคม – เมษายน  เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม และเดือนกันยายน – ธันวาคม โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และเป็นข้อคิดเห็นของผู้ส่งบทความเท่านั้น โดยบทความจะต้องผ่านการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการ (copycatch) ไม่เกิน 10%

          เกณฑ์การพิจารณาบทความ คือ บทความจะต้องผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาไม่น้อยกว่า 3 ท่าน แบบ Double Blinded และบทความจะต้องผ่านการประเมินในระดับดีจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่านขึ้นไป ซึ่งกองบรรณาธิการอาจให้ผู้เขียนปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้บทความที่ตีพิมพ์เป็นไปตาม รูปแบบมาตรฐานตามเกณฑ์การรับรองคุณภาพวารสาร และทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตัดสินการตีพิมพ์ให้หรือไม่ก็ได้ และวารสารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความละ 3,000 บาท ท่านสามารถชำระอัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ หลังจากบรรณาธิการตอบรับบทความเบื้องต้นก่อนส่งผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความเท่านั้น (หากบทความไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ วารสารจะไม่คืนค่าธรรมเนียมในทุกกรณี)

การเตรียมต้นฉบับบทความ

  1. บทความวิจัย หรือบทความวิชาการ อยู่ในขอบเขตของวารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ ประกอบด้วยศาสตร์ทางด้านบริหารธุรกิจ การจัดการ เศรษฐศาสตร์ บัญชีการเงิน การท่องเที่ยว ทรัพยากรมนุษย์ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ และศาสตร์อื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับบริหารธุรกิจ
  2. จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word (เป็นไฟล์ .docx) และกำหนดขนาดกระดาษเป็นชนิด B5
  3. กำหนดรูปแบบของตัวอักษรทั้งบทความเป็น TH SarabunPSK
  4. กำหนดขอบกระดาษ เว้นระยะ 5 นิ้ว ทุกด้าน
  5. กำหนดการตั้งค่าระยะบรรทัด ให้ใช้ค่าตามปกติ 1 เท่า หรือ 1 Single
  6. ชื่อบทความภาษาอังกฤษ ชื่อผู้วิจัย หน่วยงานที่สังกัด และชื่อสถาบันของผู้วิจัย ให้ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่
  7. ข้อมูลของผู้วิจัยทุกคน ต้องระบุชื่อ นามสกุล หน่วยงานที่สังกัด และชื่อสถาบัน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และระบุอีเมล์ของผู้วิจัยทุกคน
  8. กำหนดให้ใส่เครื่องหมาย * ไว้ต่อจากเลขลำดับของผู้วิจัยที่เป็นผู้รับผิดชอบบทความหลักหรือผู้ประสานบทความ (Corresponding Author) จำนวน 1 คนเท่านั้น
  9. บทคัดย่อ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความยาวไม่เกิน 150 – 300 คำ และมีเนื้อหาในบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ตรงกัน โดยสรุปประเด็นที่สำคัญของบทความไว้อย่างกระชับ ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ อย่างครบถ้วน
  10. ความยาวของบทคัดย่อแต่ละภาษาควรไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความยาวรวมไม่เกิน 2 หน้า
  11. คำสำคัญ (ภาษาไทย) ข้อมูลสำหรับชื่อบทความเพื่อการตีพิมพ์ (ไม่เกิน 5 คำ ใช้การเว้นวรรค ไม่ต้องใส่ , ระหว่างคำ) มีรูปแบบการเขียน คือ

           คำสำคัญ: คำสำคัญที่1 คำสำคัญที่2 คำสำคัญที่3

  1. คำสำคัญ (ภาษาอังกฤษ) สอดคล้องกับคำสำคัญภาษาไทย มีรูปแบบการเขียน คือ

           Keyword:  keyword1, keyword2, keyword3

  1. บทนำ ส่วนแสดงข้อมูลครอบคลุมความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย
    1. ความเป็นมาและความสำคัญของงานวิจัย ควรเขียนในรูปแบบของเรียงความให้รวมเป็นเนื้อเดียวกัน นำเสนอเนื้อหาที่สอดคล้องกับงานวิจัย และต้องมีอ้างอิงไม่ต่ำกว่า 4 แหล่งอ้างอิง
    2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ ข้อความที่ผู้วิจัยกำหนดว่าต้องการค้นหาข้อเท็จจริงใดบ้าง
    3. ขอบเขตของการวิจัย
    4. สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
    5. กรอบแนวคิดในการวิจัย
  2. แนวคิดทฤษฎี นำเสนอทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และการทบทวนวรรณกรรม โดยในแต่ละวรรณกรรมต้องมีอ้างอิงไม่ต่ำกว่า 2 แหล่งอ้างอิง และนำเสนอให้สอดคล้องกับกรอบแนวคิดการวิจัย มีแหล่งอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ ควรอ้างอิงจากต้นฉบับ
  3. วิธีดำเนินการวิจัย คือ ข้อมูลประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
  4. สรุปผลการวิจัย การนำเสนอข้อค้นพบจากการวิจัยโดยสรุป
  5. อภิปรายผล สรุปประเด็นที่สำคัญ พร้อมทั้งอภิปรายผลการวิจัยให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การวิจัย หรือสมมติฐานการวิจัย ข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย
  6. ข้อเสนอแนะ การเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ และข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
  7. องค์ความรู้ใหม่จากการวิจัย นำเสนอผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ผลการวิจัย สามารถนำเสนอในรูปแบบของโมเดล หรือแผนผัง พร้อมคำอธิบายที่กระชับ และเข้าใจง่าย
  8. กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) กล่าวขอบคุณต่อองค์กร หน่วยงาน หรือบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือ ร่วมมือในการวิจัย รวมทั้งแหล่งที่มาของเงินทุนวิจัย และหมายเลขของทุนวิจัย
  9. เอกสารอ้างอิง การอ้างอิงเอกสารด้วยระบบการเขียนตามแบบ APA7 ย่อหน้าเยื้องแบบ Hanging 1.00 cm. ทำการใส่เอกสารอ้างอิงเฉพาะที่ปรากฏในบทความเท่านั้น ทำการอ้างอิงให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ และห้ามอ้างอิงงานที่ไม่ปรากฏการอ้างอิงในเนื้อหา
  10. การอ้างอิงในเนื้อหาและบรรณานุกรมต้องมีความสัมพันธ์กัน คือ หากมีการอ้างอิงในเนื้อหา รายการนั้นต้องปรากฏในบรรณานุกรม ในทางกลับกัน หากมีในบรรณานุกรมต้องมีการอ้างอิงในเนื้อหาด้วย
  11. บรรณานุกรมที่สืบค้นข้อมูลมาจากอินเทอร์เน็ตต้องระบุ URL
  12. ทำการจัดเรียงเอกสารอ้างอิงตามลำดับอักษร โดยเริ่มต้นด้วยภาษาไทย และตามด้วยภาษาอังกฤษ เช่น ภาษาไทย ก-ฮ และภาษาอังกฤษ A-Z