การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์จักสานพลาสติก กลุ่มแม่บ้านศรีพราน อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • ภาวินีย์ ธนาอนวัช สาขาวิชาการการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • เพ็ญนภา หวังที่ชอบ สาขาวิชาการการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ต้นทุนผลิตภัณฑ์, ผลตอบแทน, จักสานพลาสติก, กระเป๋า, ตะกร้า, กล่องใส่กระดาษทิชชู่

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต วิเคราะห์ผลตอบแทน วิเคราะห์จุดคุ้มทุนและวางแผนกำไรให้กับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านจักสานพลาสติกศรีพราน อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ในช่วงมีนาคม 2566- กุมภาพันธ์ 2567 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-deep interview) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือกลุ่มผู้ผลิต ตำบลศรีพราน อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ กลุ่มแม่บ้านจักสานพลาสติกศรีพราน จำนวน 8 ราย เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนการผลิต และผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์จุดคุ้มทุนในรูปแบบการคำนวณทางการบัญชี

            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มแม่บ้านจักสานพลาสติกศรีพราน มีการประกอบอาชีพจักสานโดยทำเป็นอาชีพหลัก ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มประกอบด้วย ตะกร้า กระเป๋า กล่องกระดาษทิชชู ลักษณะการขายเป็นการขายปลีกโดยมีหน้าร้าน การจัดทำบัญชีของกลุ่มไม่มีรูปแบบในการจัดทำบัญชี ไม่มีการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต ไม่ได้จัดทำงบการเงินเพื่อวิเคราะห์หาผลตอบแทนและไม่สามารถวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยตามหลักการบัญชีต้นทุน ไม่สามารถคำนวณต้นทุนวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิตได้ ในส่วนการกำหนดราคาขายใช้วิธีกะประมาณและดูราคาของคู่แข่งเพื่อมากำหนดราคาขายเองตามความเหมาะสมและไม่มีการวางแผนกำไร จากการคำนวณต้นทุนการผลิตพบว่า กระเป๋ามีต้นทุน 74.20 บาท/หน่วย ตะกร้ามีต้นทุน 74.20 บาท/หน่วย และกล่องใส่กระดาษทิชชูมีต้นทุน 52.80 บาท/หน่วย การวิเคราะห์ผลตอบแทนพบว่า มีรายได้จากการขายกระเป๋า ตะกร้าและกล่องใส่กระดาษทิชชู 830,000 บาทต่อปี มีกำไรสุทธิรวมเท่ากับ 406,200 บาทต่อปี การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทน พบว่า กระเป๋าและตะกร้ามีอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขาย เท่ากับ ร้อยละ 50.53 และกล่องใส่กระดาษทิชชู มีอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขาย เท่ากับ ร้อยละ 34.00     การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนพบว่าทางกลุ่มต้องขายสินค้าให้ได้ 200 หน่วยต่อเดือนจึงจะคุ้มทุน แนวทางการวางแผนกำไรให้ผลิตภัณฑ์จักสานพลาสติกจะได้ราคาขายใหม่จากการวางแผนกำไรโดยกำหนด อัตราส่วนเพิ่ม 150% ราคาขายผลิตภัณฑ์จะเท่ากับ 185.5 บาทต่อใบ

References

Kiattikulwattana, P. (2018). Cost accounting. Bangkok: Witthayaphat.

Kittimanorom, P. (2017). Management Accounting. Bangkok: O.S. Printing House.

Meeampol. S. (2015). Managerial Accounting (23th ed.). Bangkok: Sematham

Rattanaprom, T., Pattanawong, N., Prasopsook, N., & Petpradub, N. (2021). Cost and return analysis of Zip around box products from Krajood Raya. In The 12th Hatyai National and International Conference (pp.1531-1544).

Senachan, N. (2023). Cost Analysis and Break-Even Points in Herb Pickled Fish Production Business of Ban Nong Phue Community Enterprise, Ban Phai District, Khon Kaen Province. NEU Academic and Research Journal, 13(4), 151-163.

Thanaanawat, P. (2020). Production Cost Analysis and Pricing of Traditional Thai Dessert of Community Enterprise Product, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Journal of Management Science Review, 22(2), 169-180.

Upradit, A. (2023). Costs and Returns of Community Enterprises in Plastic Lines Weaving of Ban Mohluang, Mae Moh District, Lampang Province. NEU academic and research journal, 13(4), 252–263. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/268033

Wangtichob, P., & Jongruk, S. (2021). Use of Accounting Information for Administration of Community Product Manufacturers: Case Study of Water Hyacinth Weave Group at Ban Kub Sub-District, Han Sang Sub-district, Bang Pahan District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Journal of MCU Social Science Review, 10(3), 122-130. Retrieved form https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/issue/view/16981

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29