ประสิทธิผลการสื่อสารเพื่อการถ่ายทอดความรู้ คุณประโยชน์ “สนามเด็กเล่น สร้างปัญญา” เพื่อการพัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการรับรู้และการให้ความร่วมมือจากชุมชน

Main Article Content

กรวรรณ กฤตวรกาญจน์
สุธิชา ภิรมย์นุ่ม
พีรวิชญ์ คำเจริญ
ชญานิธิ แบร์ดี้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการสื่อสารในการถ่ายทอดความรู้และคุณประโยชน์ “สนามเด็กเล่น สร้างปัญญา”


ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2. เพื่อศึกษาการรับรู้ถึงประโยชน์และการให้ความร่วมมือในการสร้าง “สนามเด็กเล่น สร้างปัญญา” ของประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย 3. รายงานผลประสิทธิผลการถ่ายทอดคุณประโยชน์ “สนามเด็กเล่น สร้างปัญญา” กับการพัฒนาเด็กเล็กและการให้ความร่วมมือจากชุมชน พร้อมเสนอแนะให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นข้อมูลให้เกิดการพัฒนางานด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยวีธีสำรวจด้วยวิธีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่การควบคุมดูแลขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มีการจัดทำโครงการ “สนามเด็กเล่น สร้างปัญญา” ที่ได้รับการจัดตั้งเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กปฐมวัยขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้งหมด 13 พื้นที่ พื้นที่ละ 35 คน รวม 455 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ได้รับความรู้เรื่องคุณประโยชน์ “สนามเด็กเล่น สร้างปัญญา” จากนายกเทศมนตรี/นายกองค์การบริหารส่วนตำบล มากที่สุด โดยได้รับความรู้ในลักษณะการประชุมของแกนนำหมู่บ้าน มากที่สุด และมีการนำมาพูดคุยกับคนในชุมชนกันบ่อย ๆ เมื่อได้พบปะกัน มากที่สุด ส่วนข้อมูลที่คนในชุมชนรับรู้มากที่สุดคือ “สนามเด็กเล่น สร้างปัญญา” คือห้องเรียนนอกโรงเรียนที่สร้างเด็กให้เป็นคนดีง่าย ๆ จากการเล่นอย่างธรรมชาติ ดีกว่าเล่นกับของเล่นจากร้านค้า ด้านการรับรู้และความเข้าใจของชุมชนเรื่องคุณประโยชน์ของ “สนามเด็กเล่น สร้างปัญญา” เรื่องที่คนในชุมชนรับรู้มากที่สุดคือ สนามเด็กเล่นมีประโยชน์เพราะการเล่น สามารถสร้างสุข สร้างอิสระทางความคิดที่เป็นธรรมชาติ เด็กสนุกเพลิน มีจิตใจที่เป็นสุข ด้านการนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการไปปรับใช้หรือพัฒนาการปฏิบัติงาน ประชาชนได้นำความรู้ที่ได้รับไปสู่การปฏิบัติ/นำไปใช้ประโยชน์ คิดเป็นร้อยละ 98.46 มีการนำความรู้จากการอบรม ไปดำเนินการต่อ มีเผยแพร่ความรู้จากการฝึกอบรมต่อคนในชุมชนและครอบครัว และ พยายามนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาสนามเด็กเล่นต่อไปเรื่อย ๆ คิดเป็นร้อยละ 94.29 ด้านการให้ความร่วมมือในฐานะสมาชิกของชุมชน พบว่า ยินดีให้ความร่วมมือด้วยการใช้แรงชาวบ้านลงแขกก่อสร้างตามที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งความประสงค์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 ด้านการมีส่วนร่วมส่วนบุคคล พบว่า ยินดีให้สนับสนุนการสร้างสนามเด็กเล่น การเรียนนอกห้องเรียนที่ให้ความสำคัญของการเล่นด้วยการส่งลูกหลานเข้าเรียนที่ศูนย์เด็กเล็กในชุมชน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 ด้านพฤติกรรมต่อการใช้สนามเด็กเล่น พบว่า กิจกรรมที่ชอบและประทับใจในสนามเด็กเล่น คือ ฐานเรือสลัดลิงมากที่สุด เนื่องจากการเล่นทำให้เด็กสนุก ได้ความรู้ เด็กมีพัฒนาการที่ดี เด็กได้ทำขนมหรือของเล่นโบราณ ได้ฟังนิทานจากครูและผู้ปกครองที่เล่าสู่กันฟัง มีกิจกรรมให้เด็ก ๆ ทำหลายอย่างได้เรียนรู้หลายด้าน โดยปัญหาที่พบจากการใช้งาน “สนามเด็กเล่น สร้างปัญญา” ของชุมชนมากที่สุด พบว่าส่วนใหญ่แล้วประชาชนคิดว่าไม่มีปัญหา แต่ยังคงพบข้อคิดเห็นว่า อยู่ไกลบ้านเกินไป เดินทางไม่สะดวกและขาดการซ่อมบำรุงที่ต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

รายการอ้างอิง

ภาษาไทย

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2562). กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2564. สืบค้นจากhttp://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2019/9 /2278_6112.pdf

จิราวรรณ ยิ้มปลื้ม. (2561). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารในองค์กรของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.).”

ดนยา สุเวทเวทิน. (2562). สนามเด็กเล่น สร้างปัญญาได้อย่างไร?. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564.

สืบค้นจาก http://https://www.thaihealth.or.th/Content/49244-ล่ามชุมชน+ตัวกลางเชื่อมกลุ่มชาติพันธุ์.html

ปฐม นวลคำ. (2560). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสาร สุขภาพภาคประชาชน. ปีที่ 12 ฉบับที่ 1. หน้า 36 - 45.

ปิยะนันท์ บุญณะโยไทย. (2556). "การรับรู้ และทัศนคติ ของผู้บริโภคต่อสื่อกิจกรรมการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท ปูนซิเมนต์ ไทย จำกัด (มหาชน)." นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นันทิยา หุตานุวัตร, ณรงค์ หุตานุวัตร. (2546) การพัฒนาองค์กรชุมชน. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562). ปฏิรูปสุขภาวะและการพัฒนาเด็กในศตวรรษที่ 21.

สืบค้นจาก https://dspace.rmutk.ac.th/bitstream/handle/123456789/2909/26.%20C - 190117005002.pdf?sequence=1&isAllowed=y

สุชาดา จักรพิสุทธิ์. (2547). ปฏิรูปการศึกษาในสังคมไทยชุมชนกับการมีส่วนร่วมจัดการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2564. สืบค้นจาก http://www:midnightuniv.org/midnight2545/document9562.html.

สิริพัฒน์ ลาภจิตร. (2550). ปัจจัยทีส่งผลต่อการตัดสินในมีส่วนร่วมของประชาชนในการสนับสนุนการบริหารงานขององค์การ บริหารส่วนตําบล อําเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี.วิทยานิพนธ์ รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ : บัณฑิต วิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์ฝึกอบรมและแพทยศาสตรศึกษา .(2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการของเด็กอายุ 3 - 5 ปี. รายงานของ ศูนย์ฝึกอบรมและแพทยศาสตรศึกษา ศูนย์อนามัยที่ 5 จังหวัดราชบุรี.

ภาษาต่างประเทศ

David K. Berlo. (1960). The Process of Communication. New York: The Free Press.

Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis, 2nd Edition, New York: Harper and Row.

Varona, F. (1996). Relationship Between Communication Satisfaction and Organizational Commitment in Three Guatemalan Organizations. Journal of Business Communication, 33(2), 111 – 140. doi:10.1177/002194369603300203

Wang Xingli. (2013). Communication satisfaction and organizational effectiveness as perceived by Nurses in University Hospitals, Kunming, The Peoples Republic of China. Master of Nursing Science, Chiang Mai University.