การผลิตมิวสิกวิดีโอด้วยแนวเพลงสไตล์การแร็ปเพื่อการประชาสัมพันธ์ดิจิทัล

Main Article Content

เกรียงไกร พละสนธิ
ธนาวุฒิ ปักการะนัง
พนัดดา โพธิ์พรมศรี

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อผลิตและประเมินคุณภาพของเพลง “DC เรามี” ด้วยแนวเพลงสไตล์การแร็ป  2) เพื่อผลิตและประเมินคุณภาพของมิวสิกวิดีโอประชาสัมพันธ์รูปแบบใหม่ “DC เรามี” ด้วยแนวเพลงสไตล์การแร็ป และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจหลังการรับชมมิวสิกวิดีโอประชาสัมพันธ์ “DC เรามี” ด้วยแนวเพลงสไตล์การแร็ป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพจำนวน 99 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดกรุงเทพมหานครจำนวน 99 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 198 คน โดยกําหนดกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ 1) เพลง “DC เรามี” ด้วยแนวเพลงสไตล์การแร็ป  2) แบบประเมินคุณภาพของเพลง “DC เรามี” ด้วยแนวเพลงสไตล์การแร็ปที่ผ่านการประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) 3) มิวสิกวิดีโอประชาสัมพันธ์ “DC เรามี” ด้วยแนวเพลงสไตล์การแร็ป 4) แบบประเมินคุณภาพของมิวสิกวิดีโอประชาสัมพันธ์ “DC เรามี” ด้วยแนวเพลงสไตล์การแร็ปที่ผ่านการประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจหลังการรับชมมิวสิกวิดีโอประชาสัมพันธ์ “DC เรามี” ด้วยแนวเพลงสไตล์การแร็ปที่ผ่านการประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) ใช้ค่ามาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale)


            ผลการศึกษาพบว่า 1) เพลง “DC เรามี” ด้วยแนวเพลงสไตล์การแร็ป มีกระบวนการผลิตด้วยขั้นตอน 3P ประกอบด้วย Pre-Production, Production และ Post- Production โดยการผลิตเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักสูตรสาขาเทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อสารมวลชน เป็นการนำเสนอข้อมูลของสาขาผ่านเนื้อเพลง ด้วยรูปแบบแนวเพลงสไตล์การแร็ปรูปแบบใหม่ 2) ผลการประเมินคุณภาพเพลง “DC เรามี” ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย () = 4.42 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.68 3) ผลการผลิตมิวสิกวิดีโอประชาสัมพันธ์ “DC เรามี” ด้วยแนวเพลงสไตล์การแร็ป มีกระบวนการผลิตด้วยขั้นตอน 3P ประกอบด้วย Pre-Production, Production และ Post- Production โดยการทำมิวสิกวิดีโอประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลและสื่อสารมวลชนรูปแบบใหม่ด้วยแนวเพลงสไตล์การแร็ป ด้วยรูปแบบการนำเสนอภาพโดยการวาดที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับหลักสูตรและมีการเคลื่อนไหวตัวอักษรประกอบทำนองเพลง โดยทั้งสองส่วนสอดคล้องกัน 4) ผลการประเมินคุณภาพมิวสิกวิดีโอ “DC เรามี” ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย () = 4.53 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.64 และ 5) ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย () = 4.81 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


(S.D.) = 0.49


 


คำสำคัญ: มิวสิกวิดีโอ,  แนวเพลงสไตล์การแร็ป,  การประชาสัมพันธ์,  หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อดิจิทัล
              และสื่อสารมวลชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

รายการอ้างอิง

ภาษาไทย

กฤษฏิ์ เลกะกลุ. (2561). แร็ป-ฮิปฮอป ลำนำสะท้อนชีวิตแอฟริกัน-อเมริกัน สู่บทเพลงแห่งเสรีภาพในสังคมไทย. สืบค้นเมื่อ

วันที่ 10 ตุลาคม 2564, จาก shorturl.asia/k6QlL.

เกียรติคุณ เยาวรัตน์. (2560). กลยุทธ์การสร้างคลิปวิดีโอในสื่อสังคมออนไลนเ์พื่อแรงจูงใจในการออกกาลังกายด้วยการวิ่ง

กรณีศึกษา เฟซบุ๊คแฟนเพจ “Runner’s Journeys”. (การค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะนิเทศ

ศาสตร์, สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล.

คชาชัย วิชัยดิษฐ. (2548). จุดกำเนิดและการแพร่กระจายของวัฒนธรรมดนตรีฮิพฮอพในประเทศไทย. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

ฉันทนา ปาปัดถา, จารุพัฒน์ ธนบรรณ, ณพัทธ์พล บุญพระรักษ,์ รัชพงษ์ สุพรส, พัทธนันท์ พันธุมณี, ภักดีเศรษฐ เมธาพิพัฒน์

และ พีรพงศ์ อินพลับ. (2561). การรับรู้ข่าวสารผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ของ นักศึกษาของนักศึกษาคณะเทคโนโลยี.

วารสารการบริหารและการจัดการ, 6(2), 10.

ณัชชา ตั้งตรงหฤทัย และพรพรรณ ประจักษ์เนตร. (2559). การศึกษาบทบาทของเพลงร็อคในการปลูกฝังคุณค่าและการสร้าง

กำลังใจ ในการดาเนินชีวิตของเยาวชน. วารสารการสื่อสารและการจัดการ, 2(2), 19.

เบญจวรรณ สังข์มงคล. (2561). การออกแบบและผลิตสื่อมิวสิกวิดีโอเพลง 7 มหัศจรรย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ราชมงคลพระนคร.

ปัณณทัต กาญจนะวสิต. (2560). แนวทางการพัฒนาการประชาสัมพันธ์ของกองทัพบกในยุค 4.0. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกัน

ราชอาณาจักร

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). สถิติการศึกษาประจำปี

(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: อักษรไทย.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. จำนวนนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2564, จาก http://reg.rmutk.ac.th/

registrar/home.asp.

สุนิสา ประวิชัย. (2560). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิง

วัฒนธรรม, 7(2), 3.

หงส์หยก (นามแฝง). (2563). 5 เสน่ห์แนวเพลงRap. สืบค้นมื่อวันที่ 5 กันยายน 2564 , จาก shorturl.asia/0vt5Q

อมรรัตน์ ทิพย์เลิศ. (2544). เพลง: ความเป็นมนุษย์ สาระชีวิต และมิวสิกวิดีโอ. นิเทศศาสตร์ปริทัศน์, 5(3), 118-121.

อาทิตยา ทรัพย์สินวิวัฒน์ และรัตนวดี เศรษฐจิตร. (2562). รูปแบบการสื่อสารของมิวสิกวิดีโอทางยูทูบกับปรากฎการณ์ 100

ล้านวิว. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 2(14), 198-199.

ภาษาอังกฤษ

Report. (2019). Public relations channels through digital media, PR and communication strategies.

Retrieved. October 18, 2021, from https://www.mreport.co.th/news/industry-movement/049-

Industry4-PR-Communication