ระบบการจัดการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้: การให้บริการ สิ่งสนับสนุนการศึกษาทางด้านนิเทศศาสตร์ในมหาวิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ณฐรักษ์ พรมราช

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ วิเคราะห์เปรียบเทียบ ระบบและกลไกของการจัดการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้: การให้บริการสิ่งสนับสนุนการศึกษาทางด้านนิเทศศาสตร์ในมหาวิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่ และสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อระบบและกลไกของการจัดการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้: การให้บริการสิ่งสนับสนุนการศึกษาทางด้านนิเทศศาสตร์ของนักศึกษาภาควิชานิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ผลการศึกษาพบว่า ระบบและกลไกของการจัดการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้การให้บริการสิ่งสนับสนุนการศึกษาทางด้านนิเทศศาสตร์ในมหาวิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่มี 2 ลักษณะ คือ ระบบที่มีลักษณะเป็นระเบียบมีข้อปฏิบัติที่ระบุเป็นเอกสาร และระบบที่มีลักษณะเป็นข้อตกลงร่วมกัน มีกระบวนการจัดการด้านการจัดบุคลากร 2 ระบบ คือ ระบบเจ้าหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ และ ระบบอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้ให้บริการ ผลการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบมีความคล้ายคลึงกันในด้านการจัดการทรัพยากรหรือวัสดุ ด้านการจัดงบประมาณและด้านการบริหารจัดการโดยมีกระบวนการแต่งตั้งชุดคณะกรรมการดำเนินงาน ประชุม วางแผน ประเมินการทำงานและระดมความคิดเห็นหามติร่วมกันตามโครงสร้างและบริบทของแต่ละมหาวิทยาลัย
มีการสั่งการในระดับหัวหน้าลงมาโดยพิจารณามอบหมายงานตามความถนัดความเชี่ยวชาญ และความเหมาะสม ส่วนด้าน
ความแตกต่างมีความแตกต่างกันในด้านการดำเนินงานของผู้ให้บริการ บางมหาวิทยาลัยมีเจ้าหน้าที่สนับสนุนเป็นผู้ให้บริการ ตามระเบียบการและข้อปฏิบัติที่ระบุเป็นเอกสารเพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงาน บางมหาวิทยาลัยมีอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้ให้บริการเองโดยไม่มีเจ้าหน้าที่สนับสนุน ซึ่งอาจารย์ผู้สอนจะให้บริการนักศึกษาในระหว่างเรียนในชั่วโมงภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน ผลการสำรวจความพึงพอใจพบว่า ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่โดยรวมอยู่ในระดับมากคือ มีความพึงพอใจในการให้บริการด้วยความสุภาพและเป็นมิตร  ด้านคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมากคือ มีความพึงพอใจในภาพรวมต่อระบบและกลไกสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้การศึกษาทางนิเทศศาสตร์ และด้านการบริหารจัดการโดยรวมอยู่ในระดับมากคือ มีระบบและกลไกในการสั่งการผู้มาให้บริการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังมีระบบและกลไกในการควบคุมกำกับดูแลผู้มาให้บริการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย

Article Details

How to Cite
พรมราช ณ. (2022). ระบบการจัดการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้: การให้บริการ สิ่งสนับสนุนการศึกษาทางด้านนิเทศศาสตร์ในมหาวิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่. วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ, 10(1), 123–156. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/258565
บท
บทความวิจัย

References

จิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2549). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาบริการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาคหกรรม ศาสตร์ เอกสารการสอนชุดวิชาจิตวิทยาการบริการ หน่วยที่ 1-7.(พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยฯ.

ตุลา มหาพสุธานนท์. (2554). หลักการจัดการ. กรุงเทพ: บริษัท พี เอ็น เค แอนด์ สกายพริ้นติ้งส์จำกัด.

บูรชัย ศิริมหาสาคร. (2548). การจัดการความรู้สู่องค์กรอัจฉริยะ BEST PRACTICE. สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา

บูรชัย ศิริมหาสาคร. (2550). จัดการความรู้ สู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : แสงดาว,

ปรียาลักษณ์ อินเพลา. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล 4 แห่ง ในช่วง พ.ศ. 2551 – 2553. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พัฐชญาณ์ กลับกลาง. (2552). วิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practices) ของบรรณารักษ์วิเคราะห์หมวดหมู่และ ทำ รายการทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัย (เศรษฐศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขา บรรณารักษศาสตร์และ สารสนเทศศาสตร์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรโชค ไชยวงศ์. (2558). โครงการการศึกษาวิเคราะห์ดัชนีและเกณฑ์มาตรฐานประกันคุณภาพ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอส่วนประกันคุณภาพ สำนักบริหารวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรารัตน์ เขียวไพรี. (2553). ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ. ธนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2550).TQM คู่มือพัฒนาองค์กร สู่ความเป็นเลิศ (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: บริษัทเนชั่นบุ๊คส์ อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด.

สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์. (2561). ระบบ กลไกและการประเมินกระบวนการ : แนวคิดเพื่อพัฒนาผลของการบริหารหลักสูตรของ สถาบันอุดมศึกษาไทย. บทความวิชาการ วารสารบัณฑิตศึกษา ปีที่ 15 ฉบับที่ 68 มกราคม – มีนาคม 2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุรีพันธุ์ เสนานุช. (2557). visionary Leadership: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. กรุงเทพฯ: สถาบันรางวัลคุณภาพ แห่งชาติ.

อาภรณ์รัตน์ เลิศไผ่รอด. (2554). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการสาธารณะตามหลักสาราณียธรรมขององค์การ บริหารส่วนตำบลหนองกรด จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการ คณะสงฆ์, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.