การสื่อสารภาพลักษณ์ทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของนักการเมืองไทย

Main Article Content

เกรียงไกร บุญมั่ง
ขวัญฟ้า ศรีประพันธ์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “การสื่อสารภาพลักษณ์ทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของนักการเมืองไทย” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสื่อสารภาพลักษณ์ทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของนักการเมืองไทย ที่เป็นตัวแทนของนักการเมืองทั้งจากพรรคร่วมรัฐบาล และพรรคร่วมฝ่ายค้าน ได้แก่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา  นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์  และคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ โดยอาศัยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ที่นักการเมืองสื่อสารผ่านช่องทางเฟซบุ๊ค (Facebook) ระหว่างวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ถึงวันที่ 10 ธันวาคม 2563


จากการศึกษาพบว่า ภาพลักษณ์ทางการเมืองที่นักการเมืองไทยสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์สามารถแบ่งได้ 5 ภาพลักษณ์ คือ 1) การให้ข้อมูลข่าวสาร (Information) และแสดงความรู้ความเข้าใจ (Knowledge) หรือ  “ผู้รู้” โดยการนำเสนอข้อมูล สถานการณ์ ปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมืองสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างผู้เชี่ยวชาญจากมุมมองของนักการเมือง เช่น ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ, การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ของประชาชน 2) ความรับผิดชอบและตำแหน่งหน้าที่ (Responsibility and Credential) หรือ “ผู้นำ” ด้วยการสื่อสารถึงการทำงาน ปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบของตนเอง รวมไปถึงกิจวัตรที่ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ  3) การสนับสนุน (Supporting) หรือ “ผู้สนับสนุน” สื่อสารถึงการได้รับการยอมรับจากสถาบันต่าง ๆ ทางสังคม ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ให้การสนับสนุนแก่สถาบันทางสังคมอื่น ๆ ด้วย  4) “ผู้มีประสบการณ์” (Experience) แสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ ที่เกิดจากประสบการณ์ อ้างอิงถึงผลงาน ตำแหน่งหน้าที่ และภารกิจที่เคยปฏิบัติมา  และ 5) บุคลิกภาพ (Personality) หรือ “ผู้มีบุคลิกภาพที่ดี” ที่สื่อสารภาพลักษณ์ผ่านวจนภาษา และอวจนภาษา เช่น การแต่งกาย การใช้ภาษาพูด ภาษาเขียน เป็นต้น


ภาพลักษณ์ทางการเมืองที่นักการเมืองไทยนิยมสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ ภาพลักษณ์การให้ข้อมูลข่าวสาร และแสดงความรู้ความเข้าใจ ภาพลักษณ์แสดงความรับผิดชอบและตำแหน่งหน้าที่ สื่อสารการทำงาน หน้าที่ และความรับผิดชอบของตน โดยภาพลักษณ์ทางการเมืองที่โดดเด่นของแต่ละท่าน แสดงให้เห็นถึงภาพลักษณ์ที่นักการเมืองต้องการนำเสนอสู่ประชาชนให้เป็นที่รับรู้และจดจำ รวมถึงเพื่อให้ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ทางการสื่อสารที่นักการเมืองตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท และสุนี เลิศแสวงกิจ. (2552). การพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ: ภิญโญการพิมพ์.

ตระหนักจิต ยุตยรรยง. 2562. การสร้างแบรนด์บุคคลในยุคประเทศไทย 4.0. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงาน

วิชาการระดับนานาชาติ UTCC Academic Day, 2: 1229-1337

ตวงพร จำปาศรี. (2547). ภาพลักษณ์ของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ที่นำเสนอในหนังสือพิมพ์ไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาตร์พัฒนาการ ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทรงชาย ศรีชาย และธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. 2563. บทบาททางการเมืองของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ พ.ศ. 2561-2562. งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. หน้า 1130-1141

นวพร คล้ายโพธิ์ทอง. (2550). วาทะทางการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนายสมัคร สุนทรเวช ก่อนการเลือกตั้ง. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวาทวิทยา ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพย์ วรกิจโภคาธร. (2537). ภาพพจน์นั้นสำคัญยิ่ง : การประชาสัมพันธ์ภาพพจน์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัตติกร จงวิศาล. (2545). “ปัจจัยด้านเชาวน์อารมณ์ บุคลิกภาพ และภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา และผลการปฏิบัติงานของหัวหน้างานระดับกลางในองค์การธุรกิจ”. รัฐประศาสนศาสตร์, 3(1), 77–111.

วิภา ประดิษฐผลพานิช. (2545) . การรับรู้ทางการเมืองเดี่ยวกับภาพลักษณ์ของนักการเมืองในทัศนะของนักศึกษามหาวิทยาลัยเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริพร ประกอบกิจ. (2558). “กำนันสุเทพ”ในฐานะนักสื่อสารรณรงค์ทางการเมือง จากมุมมองของนักข่าวสายการเมือง นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ และด้านรัฐศาสตร์่. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศุภชัย ยาวะประภาษ และ ปิยากร หวังมหาพร. (2527). การสื่อสารทางการเมืองภาครัฐ ใน ประมวลสารชุดวิชาการสื่อสารการเมือง หน่วยที่ 8-15. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สติธร ธนานิธิโชติ. (2562). การปรึกษาหารือสาธารณะ: แนวคิด ประสบการณ์ และข้อเสนอรูปแบบสำหรับการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาบันพระปกเกล้า.

สมบัติ จันทรวงศ์. (2540). การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2539: การศึกษายุทธศาสตร์การสร้างภาพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2562). ภาพรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทางด้าน ICT ของประเทศไทย (Hard Infrastructure). [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา

https://www.etda.or.th/content/infrastructure.html วันที่สืบค้น 19 พฤศจิกายน 2563

เสริมยศ ธรรมรักษ์. (2554). “การสร้างแบรนด์บุคคล: ปั้นคนให้เป็นแบรนด์”. วารสารนักบริหาร, 31(1), 106-116.

เสรี วงษ์มณฑา. (2540). การประยุกต์ทฤษฎีการสื่อสาร ใน เอกสารการสอนชุดวิชาหลัก และทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 9-15. (พิมพ์ครั้งที่ 13). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

เสรี วงษ์มณฑา. (2540). การสื่อสารการตลาดส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้สำหรับความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: A.N. การพิมพ์.

อัญญรัตน์ เอี่ยมเอิบ. (2553). การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมือง และกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองไทยผ่านเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม. วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต (วารสารสนเทศ). กรุงเทพฯ: ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brain, M. (1995). An introduction to political communication. London: Routledge.

Kaminchenko D.I. Political Image of the Regional on Instagram // Administrative consulting. 2021. N8.

P.18-34

Kaputa, A. (2006). U R A BRAND! : How smart people brand themselves for business success. California: Davies-Black Publishing.

Montoya, P. and Vandehey, T. (2009). The Brand Called You. New York: McGrawHill.

Mireille, L. and Vincent, R. (2017). The Power of Political Image: Justin Trudeau, Instagram, and Celibrity Politics. American Behavioral Scientist, 1-37.

Oeldorf-Hirsch, A. and Sundar, S. S. (2012, August). Engagement with news content in online social

networks. Paper presented in the Communication Technology Division at

the 95th annual conference of the Association for Education in Journalism and Mass Communication, Chicago, IL.

Syaza, F.B.M.S. (2021). Dignity and Political Expectation of Malay Electorate in Malaysia. Intellectual Discourse, 149-174.

Solito, L. and Sorrentino, C. (2018): Political Communication and Social Change. Political Communication and Challenges in the Digital Age, Icono 14, volume 16(1), pp.22-41. Doi: 10.7195/ri14.v16i1.1161