การพัฒนาตัวชี้วัดนวัตกรรมสื่อของไทย

Main Article Content

วิโรจน์ สุทธิสีมา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลนวัตกรรมสื่อในประเทศไทย ระเบียบวิธีวิจัยประกอบไปด้วย 1) การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) อันมีแหล่งข้อมูลหลักได้แก่ Digital News Initiative Fund (DNI Fund) ของ google.com และ สถาบัน Ranking Digital Rights (RDR) รวมถึงบทความวิชาการและตำราจากนักวิชาการต่างประเทศ และ 2) การใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) กับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมสื่อในไทย รวมทั้งสิ้น 19 ท่าน


ผลการศึกษาเผยให้เห็นว่ามี 10 ตัวชี้วัดที่สามารถนำมาใช้เพื่อการประเมินผลนวัตกรรมสื่อในไทย ได้แก่ 1) ความเปิดกว้างต่อการใช้งาน (Openness) 2) การสร้างผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงในสังคม (Effect and Change) 3) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน (User) 4) ความใหม่ (Newness) 5) ผู้สร้างและประกอบการนวัตกรรม (Creator and Entrepreneur)  6) ธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบทางดิจิทัล (Good Governance and Digital Accountability) 7) การทำบทบาทหน้าที่ (Function) 8) การเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้ (Freedom) 9) เทคโนโลยีและประสบการณ์ใช้งาน (Technology and Experience) และ 10) การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy)


หลังจากนำมาทดสอบการลงค่าคะแนนตามตัวชี้วัดกับนวัตกรรมสื่อ 10 ชิ้น ได้ข้อปรับปรุงเพิ่มเติมว่า เพื่อให้การชี้วัดความเป็นนวัตกรรมที่ดี มีความเข้ากันกับตัวของนวัตกรรมสื่อแต่ละประเภท จึงยังสามารถแบ่งประเภทของนวัตกรรมเป็นหมวดหมู่ก่อนที่จะนำมาพิจารณาองค์ประกอบตัวชี้วัด ดังเช่น การแบ่งออกเป็น นวัตกรรมสื่อเชิงกระบวนการทำงาน (Process Innovation)  นวัตกรรมด้านการวางตำแหน่งของสื่อ (Position Innovation) นวัตกรรมด้านกระบวนทัศน์ (Paradigmatic Innovation)  นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์  (Product Innovation) หรือ การแยกชนิดของตัวสื่อ  (Type) ก่อนนำมาลงคะแนนตามตัวชี้วัด ก็ได้เช่นกัน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

หนังสือ
มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ . กรุงเทพฯ :สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
นันทิยา ดวงภุมเมศ และ สิรินทร พิบูลภานุวัธน์ (2559). การสร้างตัวชี้วัดคุณภาพรายการไทยบีพีเอสตามมาตรฐานสื่อสาธารณะ.วารสารศาสตร์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2559.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2537). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Books
Bleyen, Valérie-Anne, Lindmark S.L., Ranaivoson, H., and Ballon, P. (2014). “A Typology of Media Innovations: Insights from an exploratory Study”. The Journal of Media Innovations. 1(1), 28-51.
Briggs, Mark. March 15, 2013. “What makes journalism 'innovative'? Lessons from this year's Scripps Howard Awards”. Poynter.
Bruns, Axel. (2014). “Media Innovations, User Innovations, Societal Innovations”. The Journal of Media Innovations. 1(1), 13-27.
Dogruel, Leyla. (2014). “What is so Special about Media Innovations? A Characterization of the Field”. The Journal of Media Innovations. 1(1), 52-69.
Krumsvik, Arne H., Milan, S., Ni Bhroin, N., and Storsul, T. (2019). “Making (Sense of) Media Innovations” In : Mark Deuze and Mirjam Prenger (eds). Making Media: Production, Practices, and Professions. (pp.193-205). Amsterdam University Press.
Pettersen, L. and Krumsvik, A.H. (2019). “Rocking the Boat: Proposing a Participatory Business Model for News”. The Journal of Media Innovations. Online first. pp.1-16.
Santos-Silva, Dora. (2020). “Paradigmatic innovation in European cultural journalism: the pursuit of sustainability”. The Journal of Media Innovations. online first, 1-14.
Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation theory, models and applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Storsul, T., & Krumsvik, A. H. (2013). “What is Media Innovation?” In: Media Innovations. A Multidisciplinary Study of Change (pp. 13–26). Gothenburg: Nordicom. Retrieved from https://www.academia.edu/4732092/What_is_Media_Innovation
UNAIDS Monitoring and Evaluation Division (2010). An Introduction to Indicators. UNAIDS, Geneva.

Website
https://newsinitiative.withgoogle.com/innovation-challenges/funding/
https://rankingdigitalrights.org/index2020/methodology