การรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าและคุณค่าตราสินค้ากับการใช้บริการแหลมเจริญซีฟู้ดของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สุมิตรา ปานขลิบ
กรวรรณ กฤตวรกาญจน์

บทคัดย่อ

การรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าและคุณค่าตราสินค้ากับการใช้บริการแหลมเจริญซีฟู้ดของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าแหลมเจริญซีฟู้ดของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการรับรู้คุณค่าตราสินค้าแหลมเจริญซีฟู้ดของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาการใช้บริการแหลมเจริญซีฟู้ดของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าแหลมเจริญซีฟู้ดกับการใช้บริการแหลมเจริญซีฟู้ดของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ และ 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณค่าตราสินค้าแหลมเจริญซีฟู้ดกับการใช้บริการแหลมเจริญซีฟู้ดของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด โดยสำรวจกับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และรู้จักร้านอาหารแหลมเจริญซีฟู้ด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบไค - สแควร์


ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าแหลมเจริญซีฟู้ด ลำดับแรก คือ ด้านสินค้าหรือบริการ การรับรู้จัดอยู่ในระดับมาก 2) การรับรู้คุณค่าตราสินค้าแหลมเจริญซีฟู้ด ลำดับแรก คือ ด้านการรับรู้ถึงคุณภาพของสินค้า การรับรู้จัดอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่เคยใช้บริการ โดยมีเหตุผลที่ยังไม่เคยใช้บริการแหลมเจริญซีฟู้ด เพราะปกติทำอาหารทานที่บ้าน ซึ่งในอนาคตผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้บริการแหลมเจริญซีฟู้ดแน่นอนโดยในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามที่เคยใช้บริการ ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าราคาเหมาะสมกับคุณภาพ มีวัตถุประสงค์หลักที่ใช้บริการ คือเพื่อรับประทานอาหารในโอกาสทั่วไป โดยแหล่งที่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับแหลมเจริญซีฟู้ดส่วนใหญ่ คือ สื่อโฆษณา มีความถี่ในการใช้บริการแหลมเจริญซีฟู้ด นาน ๆ ครั้ง และมักไปใช้บริการกับญาติพี่น้องมากที่สุด โดยในแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการแหลมเจริญซีฟู้ด ระหว่าง 1,000 - 2,000 บาท 4) การรับรู้คุณค่าตราสินค้าแหลมเจริญซีฟู้ดมีความสัมพันธ์กับการใช้บริการแหลมเจริญซีฟู้ดของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านแหล่งที่มา ไม่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการแหลมเจริญซีฟู้ดของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ และ 5) การรับรู้คุณค่าตราสินค้าแหลมเจริญซีฟู้ดมีความสัมพันธ์กับการใช้บริการแหลมเจริญซีฟู้ดของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านความเชื่อมโยงกับตราสินค้าที่ไม่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการแหลมเจริญซีฟู้ดของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย
ชูชัย สมิทธิไกร. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภากุล กรรณาลงกรณ์. (2556). คุณค่าของแบรนด์และส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า SLOAN ของผู้บริโภค: กรณีศึกษาลูกค้าของบริษัท สุขกมลรัชดา จำกัด. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปัทมาพร จิระบุญมา และสิริภักตร์ ศิริโท. (2556). คุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ “ฮอนด้า” ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พรนิภา หาญมะโน. (2558). พฤติกรรมการซื้อสินค้าของกลุ่ม Generation B Generation X และ Generation Y ที่ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการบริหารธุรกิจ, 4(1), 54 - 75.
พิบูล ทีปะปาล. (2537). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
วิชวัฒน์ เวสพันธ์. (2552). อิทธิพลของภาพลักษณ์ของประเทศแหล่งกำเนิดนาฬิกาข้อมือ. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศรุดา นิติวรการ. (2557). อาหารไทย: มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 171 - 179.
ศศินภา เลาหสินณรงค์. (2557). คุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อ (ความตั้งใจ ความสนใจ ความต้องการและการตัดสินใจซื้อ) สินค้าแบรนด์เนมแท้. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศศิพิสิฐ นิวัธน์มรรคา. (2561). ความสัมพันธ์ของวิถีความเชื่อล้านนา และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศประวัติศาสตร์ในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2544). พฤติกรรมผู้บริโภค (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เอ.อาร์.บิซิเนสเพรส.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่. (2561). รายงานประจำปีของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี 2561. เชียงใหม่: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่.
สุพิชญ์ฌา ลาภพานิช. (2558). ส่วนประสมการตลาด การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ และความจงรักภักดีของลูกค้าสำหรับธุรกิจร้านอาหารแหลมเจริญซีฟู้ด ในเขต กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อรัญญา แสงทอง. (2558). การรับรู้สื่อโฆษณา คุณค่าตราสินค้า และการตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
อ้าว จาง. (2557). ผลกระทบของคุณค่าตราสินค้าที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภาษาอังกฤษ
Kotler, P., & Amstrong, G. (2014). Principle of Marketing (15th ed.). England: Pearson.
Laiho, M. & Inha, E. (2012). Brand Image and Brand Awareness Case Study: Finnair in Indian Market. (Bachelor’s thesis). Halmstad University.
Laroche, M., Papadopoulos, N., Heslop, L.A., & Mourali, M. (2005). The influence of country image structure on consumer evaluations of foreign products. International Marketing Review, 22(1), 96 - 115.
Lin, C.H. , & Kao, D.T. (2004). The impacts of country - of - origin on brand equity. Journal of American Academy of Business, 5(1), 37 - 40.
Nagashima, A. (2017). A comparison of Japanese and U.S. attitudes toward foreign Products. Journal of Marketing, 34(1), 68 - 74.
Papassapa, P., & Kenneth E. M. (2007). Relationship Quality as a Predictor of B2B Customer Loyalty, Journal of Business Research, 60(1), 1 - 8.
Yamane, T. (1970). Statistic : An Introductory Analysis. New York : Harper & Row.