ปัจจัยด้านการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจของตัวแทนขายประกันที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ณัฐนรี ดำรงเลาหพันธ์
กรวรรณ กฤตวรกาญจน์

บทคัดย่อ

การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง ปัจจัยด้านการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจของตัวแทนขายประกันที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ดังนี้  1) เพื่อศึกษาประกันชีวิตที่ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ซื้อ  2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจของตัวแทนขายประกันชีวิตในจังหวัดเชียงใหม่  3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้าน
การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจของตัวแทนขายประกันชีวิตที่ส่งผลต่อการซื้อประกันชีวิตของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่
ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ จากการเก็บแบบสอบถามประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอเชียงใหม่ จำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากประชาชนที่มีกรมธรรม์ประกันชีวิต แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว นำเสนอในรูปแบบตารางประกอบการบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า


  1. ผลประกันชีวิตที่ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ซื้อ พบว่า ส่วนใหญ่มีจำนวนกรมธรรม์ประกันชีวิต 1 ฉบับ ทำการซื้อประกันชีวิตจากตัวแทนขายประกันชีวิต เลือกทำประกันชีวิตกับบริษัทเอไอเอ (AIA) ในรูปแบบประกันชีวิตแบบประกันสุขภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อออมเงินและลดความเสี่ยง/ ป้องกันความเสี่ยง ซึ่งมีแฟน/ ครอบครัวเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมากที่สุด และมีการเปิดรับข้อมูล/ ข่าวสารการทำประกันชีวิตก่อนตัดสินใจซื้อจากคำแนะนำของเพื่อน/ ครอบครัว/ ญาติ (การบอกต่อ)

  2. ผลปัจจัยด้านการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจของตัวแทนขายประกันชีวิตในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือ อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ การแสดงให้เห็นทางเลือกทั้งด้านดีและ
    ด้านเสีย อยู่ในระดับมาก  และอันดับสามคือ การแสดงให้เห็นตามกระบวนการของเหตุผล อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ

  3. ผลปัจจัยด้านการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจของตัวแทนขายประกันชีวิตที่ส่งผลต่อการซื้อประกันชีวิตของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การแสดงให้เห็นทางเลือกทั้งด้านดีและด้านเสีย อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือ อยู่ในระดับมาก  และอันดับสามคือ การแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกและอารมณ์ร่วม อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ

            ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจมีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านการแสดงให้เห็นทางเลือกทั้งด้านดีและ
ด้านเสียเรื่องจำนวนกรมธรรม์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05


            

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กรรณิการ์ อัศวดรเดชา. (2550). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. (2546). คัมภีร์ระบบสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: เคทีพี แอนด์ คอนซัลท์.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ณัฐกมล ศานติมงคลวิทย์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตของผู้บริโภควัยทำงานงานในเขต
พื้นที่กรุงเทพมหานคร. ปทุมธานี: หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.
ทิพย์สุภา สุวรรณอทาน. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ของประชากรในกรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เธียรวิชญ์ จิตตมานนท์กุล. (2550). การวางแผนพัฒนาตัวแทนประกันชีวิตไทย กรณีศึกษา บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต
จํากัด. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
นิรณาภา ลาวงค์ และ เพ็ญศรี เจริญวานิช. (2555).ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อประกันชีวิตระยะยาวของประชากรในพื้นที่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข. 5 (2) ก.ค. - ธ.ค. 55, หน้า
35-54
เบญจอร งามอิ่มทรัพย์. (2559). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ทักษะการขายของตัวแทนขายประกัน และการสื่อสารการตลาด
แบบครบวงจร มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตของพนักงานบริษัทเอกชนในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปรมะ สตะเวทิน. (2546). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.
ประดิษฐ์เพชร แซ่ตั้ง. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ของผู้บริโภคในเขต
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปรัชญา ฑีฆะกุล. (2554). กลวิธีการใช้ภาษาเพื่อโน้มน้าวใจของตัวแทนประกันชีวิตเพศหญิง. กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พงศ์ธร รุ่งศุภกิจ. (2558). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการเลือกซื้อ และปัจจัยการตลาดบริการ 7P ที่มีผลต่อการ
ตัดสินใจซื้อประกันชีวิต AIA ผ่านระบบ iPos+ ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พรชัย สุนทรพันธุ์. (2545). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะประกันภัย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์บริษัท ธนธัชการพิมพ์ จำกัด.
ภัทรฎา โสภาสิทธิ์. (2557). พฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ บริษัท กรุงเทพประกัน
ชีวิต จํากัด (มหาชน) ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มุกดา โควหกุล. (2537). การประกันภัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สยามเตชั่นเนอรีซัพพลายส์.
ไมตรี เอี่ยมปรีชา. (2548). ทัศนคติต่อการเป็นตัวแทนประกันชีวิตของประชาชน กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
รตน แดงรัตนวงศ์. (2556). เนื้อสารของโฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์ผลิตภัณฑที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้สูงอายุ และความหมายของ
“สุขภาพ”. กรุงเทพฯ: สถาบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เรืองพร หนูเจริญ. (2562). กลยุทธ์ในการขายประกันชีวิตให้ประสบความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิรัช ลภิรัตนกุล. (2543). วาทนิเทศและวาทศิลป์ หลักทฤษฎีและวิธีปฏิบัติยุคสหัสวรรษใหม่. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
แวอาซีซะห์ ดาหะยี. (2553). ศิลปะการใช้ภาษาเพื่องานนิเทศศาสตร์. ยะลา: ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ศิริเพ็ญ เกษตรศิริกุล และพนม คลี่ฉายา. (2556). สารเพื่อการโน้มน้าวใจ และผลกระทบต่อการตัดสินใจเข้าร่วมธุรกิจขาย
ตรง. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา ปีที่ 6 ฉบับที่ 1, หน้า 83-110.
ศุภรัศมิ์ ฐิติกุลเจริญ. (2540). ใน ทฤษฎีการสื่อสาร (หน้า 6-14). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมาคมประกันชีวิตไทย. (2557). รายงานสถิติธุรกิจประกันชีวิต. กรุงเทพฯ: สมาคมประกันชีวิตไทย.
สหไทย ไชยพันธุ์. (กันยายน-ธันวาคม 2555). แนวคิดทฤษฎีการพูดสื่อสารในสังคม. วารสาร มหาวิทยาลัยนราธิวาสราช
นครินทร์, หน้า 140-154.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.). (2552). รายงานประจำปี สำนักงาน
คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
สุจรรยา น้ำทองคำ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคทางสื่อออนไลน์. กรุงเทพฯ: สถาบัน
บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เสรี วงษ์มณฑา. (2540). ใน ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด (หน้า 133). กรุงเทพฯ: บริษัท วิสิทธ์พัฒนา จำกัด.
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
สมศักดิ์ คุณเงิน. (2535). พระราชบัญญัติ ประกันชีวิต พ.ศ.2535.
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2525). ทฤษฎีการจูงใจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2550). ใน พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 2) (หน้า 13-26). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2537). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2549). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.
อรุณ วิสุทพิพัฒน์สกุล. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย.
นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยสุรนารี.
อาริสา ทองชุมสิน. (2557). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อสนับสนุนการขายให้กับตัวแทนประกันชีวิตในประเทศไทย.
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เว้น 1 บรรทัด
ภาษาอังกฤษ

Bateson, J. R. (1951). Communication: the Socia Matrix of Psychiatry. New York: W.W.Norton & Co.
Carl I. Hovland, I. L. (1953). Communication and Persuasion. New York Haven: Yale University Press.
Gerbner, G. (1966). An Institutional Approach to Mass Communications Research .
Glenn Harrison, K. M. (2020). The Determinants of Good and Bad Insurance Decisions.
Osgood, C. E. (1974). The Process and effect of mass communication. Urbana: University of Illinois.
Peng, W. W. (2016). A Discourse Study of Insurance Sales Agent-Client Interactions in China’s Rural Areas—
From the Perspective of Topic Management . English Language and Literature Studies, p. 146-160.
Perloff, R. M. (2010). The Dynamics of Persuasion: Communication and Attitudes in the 21st Century. New
York: Routledge.
Petty, R. E.; Cacioppo, J. T. and Schumann, D. 1986. Central and Peripheral Routes to Advertising
Effectiveness: The Moderating Role for Involvement. Journal of Consumer Research. 10 (1): 135-
146. Schiffman, L. &. (1994). Consumer behavior (5 th ed.). New Jersy: Prentice - Hall, Inc.
Simon, H. W. (1976). Persuasion understanding, practice and analysis. Massachusetts: Addison-Wesley.
Walters, C. (1978). Consumer behavior (3 rd ed.). Homewood Illonois: Richard D.Irwin, Inc.

สื่อออนไลน์

สมาคมประกันชีวิตไทย. (7 กันยายน 2564). ปี 2564 ธุรกิจประกันชูประกันสุขภาพนำเทรนด์ คาดเศรษฐกิจพ่นพิษทำ
ธุรกิจทรงตัว. เข้าถึงได้จาก tlaa: shorturl.asia/28Nu4
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.). (10 เมษายน 2563). คปภ. เผยยอดรวมสถิติ
การสอบขอรับใบอนุญาต ปี 2555. เข้าถึงได้จาก https://www.oic.or.th/th/consumer/news/releases/6650
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.). (14 กันยายน 2564). ตัวแทน/นายหน้า
ประกันภัย. เข้าถึงได้จาก oic: https://www.oic.or.th/th/education/broker
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.). (16 กันยายน 2564). ความหมายของการ
ประกันชีวิต. เข้าถึงได้จาก oic: shorturl.asia/dtqn6
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (15 กันยายน 2564). ประกันชีวิต (20 กุมภาพันธ์ 2555). เข้าถึงได้จาก legacy:
shorturl.asia/edyFx