การรายงานข่าวเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของกลุ่มผู้ที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบาง

Main Article Content

อลงกรณ์ ปริวุฒิพงศ์

บทคัดย่อ

โดยทั่วไปแล้ว การรายงานข่าวเรื่องผู้ที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบางไม่ใช่ประเด็นที่กองบรรณาธิการของสื่อให้ความสำคัญมากเมื่อเปรียบเทียบกับข่าวหลักประเภทอื่น การวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาการนำเสนอข่าวที่มีเนื้อหาส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนของกลุ่มผู้ที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบางในประเทศไทยทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ผู้สูงอายุ บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ผู้พิการ และกลุ่มชาติพันธุ์ จากหนังสือพิมพ์กระแสหลักแนวคุณภาพ และแนวประชานิยม รวมทั้งสำนักข่าวที่เป็นสื่อออนไลน์ รวม 12 ฉบับซึ่งเผยแพร่ต่อสาธารณะระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2561 รวมจำนวน 753 ข่าว


ผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่แล้วกองบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์แนวคุณภาพและสื่อออนไลน์มักจะให้ความสนใจเรื่องผู้ที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบางระดับสูงกว่าหนังสือพิมพ์แนวปริมาณ แต่ไม่ได้หมายความว่าหนังสือพิมพ์แนวปริมาณจะไม่ให้ความสำคัญด้านนี้ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการใช้แหล่งข่าวจากรัฐบาลและหน่วยงานราชการมากที่สุดเพื่อความเป็นทางการ แต่มีปัจเจกบุคคลที่เป็นตัวแทนกลุ่มค่อนข้างน้อย การศึกษายังพบว่าการรายงานข่าวเรื่องสิทธิมนุษยชนนั้นมีจุดเน้นในมิติด้านสังคม-คุณภาพชีวิตสูงที่สุด ตามมาด้วยมิติด้านเศรษฐกิจ-อาชีพ และมิติด้านการเมือง-ความเป็นพลเมืองในความถี่ที่น้อยกว่า และมีทิศทางในแนวตั้งรับ (Reactive) กล่าวคือมีลักษณะเสริมแรง/ตอกย้ำมิติด้านสิทธิต่าง ๆ มากกว่าทิศทางในแนวรุก (Proactive) ที่มีลักษณะส่งเสริม/สนับสนุน หรือขับเคลื่อนมิติด้านสิทธิต่าง ๆ


ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าในการนำเสนอข่าวสารด้วยความเคารพศักดิ์ศรี ส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนของกลุ่มผู้ที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบางนั้น สื่อควร 1) ปรับฐานคิด โดยใส่เรื่อง “คุณค่าคน” ลงไปใน “คุณค่าข่าว” 2) ปรับคุณภาพ โดยเน้นเนื้อหาที่เจาะลึก และ แหล่งข่าวที่หลากหลาย มากกว่ารูปแบบการนำเสนอ  และ 3) เพิ่มจุดเน้นที่ครอบคลุมมิติด้านสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ อย่างรอบด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย
กระทรวงการต่างประเทศ. (2551). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights). กรุงเทพฯ: ชมนาด
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ. (2562). แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จันทรา
นรินทร์ นำเจริญ. (2549). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการรายงานข่าว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ และ อังธิดา ลิ้มป์ปัทมปาณี. (2556). พิมพ์ครั้งที่ 3. “หน่วยที่ 5. องค์ประกอบข่าวและประเด็นข่าว” ใน ประมวลสาระชุดวิชา 16338 การข่าวเบื้องต้น เล่มที่ 1. สาขาวิชานิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มาลี บุญศิริพันธุ์. (2556) วารสารศาสตร์เบื้องต้น: ปรัชญาและแนวคิด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ราชกิจจานุเบกษา. (2555). ข้อกำหนดคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ว่าด้วยการกำหนดบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป้าหมายเป็นผู้รับบริการสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2555. เล่ม 129 ตอนพิเศษ 173, ประกาศวันที่ 16 พฤศจิกายน 2555, หน้า 17.
สุรสิทธิ วิทยารัฐ. (2561). หลักและเทคนิคงานข่าว. กรุงเทพฯ: ฝ่ายธุรกิจมัลติมีเดียวเพื่อการศึกษา (ศูนย์หนังสือ) มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ (2559). จริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2559 http://www.presscouncil.or.th/ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรม เข้าถึงวันที่ 2 มีนาคม 2562
อลงกรณ์ ปริวุฒิพงศ์. (2562). บทความเรื่อง “หนังสือพิมพ์ไทยกับกรอบการรายงานข่าวที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของผู้สูงวัย” ใน วารสารไทยศึกษา. 15 (2), 219-253. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล (2562). “หลักการและวิสัยทัศน์” https://www.amnesty.or.th/ เข้าถึงวันที่ 29 มีนาคม 2562

ภาษาอังกฤษ
Carter, MJ. (2013). "The Hermeneutics of Frames and Framing." SAGE Open, 3 (2), 1-12.
de Vreese, C. (2005). News Framing: Theory and Typology. Information Design Journal, 13 (1), 51-62.
McCombs, M.E. and Shaw, D.L. (1972). The Agenda-Setting Function of Mass Media. London: Oxford University Press.
McCombs, M.E.; Shaw, D.L. (1993). "The Evolution of Agenda-Setting Research: Twenty-Five Years in the Marketplace of Ideas". Journal of Communication, 43 (2), 58–67.
Tankard, J., Hendrickson, L., Silbernab, J., Bliss, K., & Ghanem, S. (1991). Media frames: Approaches to conceptualization and measurement. Paper presented to the Association for Education in Journalism and Mass Communication, Boston, MA.