การรู้เท่าทันข่าวลวงในสื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

คมสัน รัตนะสิมากูล
อัญมณี ภักดีมวลชน
กฤศ โตธนายานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความเข้าใจลักษณะรูปแบบการเขียนข่าวลวงของกลุ่มวัยรุ่นและผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความเข้าใจลักษณะรูปแบบการเขียนข่าวลวงระหว่างกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้สูงอายุ 3) เพื่อศึกษาการรู้เท่าทันข่าวลวงของวัยรุ่นและผู้สูงอายุ 4) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการรู้เท่าทันข่าวลวงระหว่างกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้สูงอายุ และ 5) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการรู้เท่าทันสื่อข่าวลวงของกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธีเชิงสำรวจ ด้วยวิธีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างกลุ่มวัยรุ่นและผู้สูงอายุ จำนวน 400 คน ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความเข้าใจลักษณะรูปแบบการเขียนข่าวลวงของกลุ่มวัยรุ่น อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.220, S.D.=0.919) กลุ่มผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.080, S.D.=0.931) 2) กลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้สูงอายุมีระดับความเข้าใจลักษณะรูปแบบการเขียนข่าวลวงแตกต่างกัน โดยกลุ่มวัยรุ่นมีระดับความเข้าใจลักษณะรูปแบบการเขียนข่าวลวงมากกว่ากลุ่มผู้สูงอายุ 3) การรู้เท่าทันข่าวลวง กลุ่มวัยรุ่นมีการรู้เท่าทันข่าวลวงอยู่ในระดับมาก ( = 3.490, S.D.=0.913 ผู้สูงอายุมีการรู้เท่าทันข่าวลวงอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.350, S.D.=0.916) 4) กลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้สูงอายุมีการรู้เท่าทันข่าวลวงแตกต่างกัน โดยกลุ่มวัยรุ่นมีการรู้เท่าทันข่าวลวงมากกว่ากลุ่มผู้สูงอายุ และ 5) ระดับการศึกษา รายได้ เวลาการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เฉลี่ยต่อครั้ง และระดับความเข้าใจลักษณะรูปแบบการเขียนข่าวลวง มีอิทธิพลต่อการรู้เท่าทันข่าวลวงของกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้สูงอายุ (R2=56.10)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิติมา สุรสนธิ. (2533). ความรู้ทางการสื่อสาร. พิมพ์ครั้งที่3 กรุงเทพฯ : คณะวาสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กานท์กลอน รักธรรม. (2560). “คุณคือสำนักข่าวปลอม!” ทรัมป์จวก CNN และ BuzzFeed คือสื่อขยะ!. (5 มกราาคม 2563). https://themomentum.co/momentum-feature-fake-news-cnnbuzzfeed/.
กองบรรณาธิการจุลสารราชดำเนิน. (2560). เฟค นิวส์ (Fake News) วัชพืชแห่งวารสารศาสตร์[จุลสาร]. กรุงเทพฯ: สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย.
จำนวนประชากรในพื้นที่จังหวัดเชียงราย. (2563). http:www.dop.go.th. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563.
ใจดี โลกสวย เชื่อคนง่าย!!! คนไทย 40% เชื่อข่าวปลอมบนโซเชียลสูงสุดในภูมิภาค. (2560). (https://www.brandbuffet.in.th/2017/10/kantartns-researchconnected-life/. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2563.
ณภัชชา นิลแก้ว, วชิรญาณ์ แก้วมณี, ส่องแสง ศรีหมื่น, เวชยันต์ ช้างรักษา, นิภา วิระสอน และจิรภัทร ศิริไล. (2561). Fake News วิกฤตศรัทธาต่อองค์กรสื่อ. ใน การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง Fake News วิกฤตการสื่อสารในยุคดิจิทัล (หน้า 1-7). นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นันทิกา หนูสม. (2560). ลักษณะของข่าวปลอมในประเทศไทยและระดับความรู้เท่าทันข่าวปลอมบนเฟซบุ๊กของผู้รับสารในเขตกรุงเทพมหานคร: นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นพพร สุนะ. (2556). “การรู้เท่าทันสื่อในการใช้สื่อออนไลน์ของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาการสื่อสารดิจิทัล” สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
บุบผา เมฆศรีทองคำ. (2554). มุมมองของนักศึกษานิเทศศาสตร์ต่อการรู้เท่าทันสื่อโซเชียลมีเดีย. ในการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประจำปี 2555 (หน้า 3-16). ปทุมธานี:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
บุบผา เมฆศรีทองคำ และขจรจิต บุนนาค. (2557). พฤติกรรมการบริโภคข่าวผ่านสื่อเฟซบุ๊คของคนต่างวัยในสังคมไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8, 230-247.
พิณ พัฒนา. (2560). รู้เขาหลอกแต่เต็มใจให้หลอก รู้จัก ‘Fake News’ ข่าวปลอมออนไลน์ที่เราชักเจอจริงบ่อยขึ้นทุกวัน. http://www.kmutt.ac.th/organization/ssc334/asset5.html. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2563.
พิชิต วิจิตรบุญรักษณ์. (2554). สื่อสังคมออนไลน์ : สื่อแห่งอนาคต. https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/oct_dec_11/pdf/aw016.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2563.
ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา. (2560). การรู้เท่าทันการสื่อสารกับการขับเคลื่อนวาระปฏิรูปสังคมไทยในยุคดิจิทัล. วารสารสุทธิปริทัศน์. ปีที่ 31 ฉบับที่ 97 มกราคม-มีนาคม 2560.
พีระ จิรโสภณ. (2559). การรู้เท่าทันการสื่อสารยุคดิจิทัลกับบทบาทในการกำหนดแนวทางการปฎิรูปการสื่อสารในสังคมไทย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
มติชนออนไลน์. (2563). การแชร์ข่าวปลอมของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย. https://mgronline.com/local/detail/9630000133100. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2563.
มนัสสินี บุญมีศรีสง่า และมินตรา สดชื่น. (2560). รูปแบบการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของผู้สูงอายุในสังคมไทย กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. ราชมงคลสร้างสรรค์กับนวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0. มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์.
ยุพดี ฐิติกุลเจริญ. (2537). ทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
ศตพล อยู่เกิด. (2558). ทัศนคติ พฤติกรรม และการรู้เท่าทันการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ของกลุ่มวัยเบบี้บูมเมอร์. คณะวาสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย. (2563). การรักษาโรคมะเร็งด้วยน้ำมะนาวโซดา. https://www.antifakenewscenter.com. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2563.
สุขใจ ประเทืองสุข. (2549). “การรับรู้ของคนไทยเกี่ยวกับความสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อในยุคโลกาภิวัฒน์”. สาขาวิชาวารสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล และคณะ. (2549). เปิดประตูสู่การรู้เท่าทันสื่อ แนวคิดทฤษฎีและ ประสบการณ์การรู้เท่าทันสื่อเพื่อสขุ ภาพ, นนทบุรี: โครงการสื่อสร้างสรรค์สุขภาพ
อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์. (2560). Fake News ข่าวปลอม ปัญหาใหญ่ของโลกอินเทอร์เน็ต. http://www.okmd.tv/blogs/all-things-digital/fake-news-ข่าวปลอม-ปัญหาใหญ่ของโลกอินเทอร์เน็ต. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2563.
Desai, S., Mooney, H., & Oehrli, J. A. (2017). "Fake News," Lies and Propaganda: How to Sort Fact from Fiction. fromhttp://guides.lib.umich.edu/fakenews. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2563.
"Fake News" คำแห่งปี 2017. (2560, 4 พฤศจิกายน). โพสต์ทูเดย์. https://www.posttoday.com/world/523548. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2563.
Mena. (2017). Mena, P. (2017).Why People Share Fake News. Retrieved from https://www.jou.ufl.edu/insights/peopleshare-fake-news/.
Nurse, M. (2016). Fake news and other types of misinformation defined. http://communicationscience.org.au/fake-news-and-other-forms-ofmisinformation-defined/. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2563.
Standford History Education Group. (SHEG). (2563). https://sheg.stanford.edu/. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2563.
Sunny walker. (2560). สรุปปัญหาข่าวปลอมที่รุนแรง จนบริษัทโซเชียลต้องกลับไปรื้อนโยบายทบทวนตัวเองใหม่. https://www.blognone.com/node/96867. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2563.
The European Association for Viewers Interests 2016. Infographic: Beyond FakeNews – 10 Types of Misleading News. https://eavi.eu/beyondfake-news-10-types-misleading-info/. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2563.
Wardle, C. (2017). Fake news. It’s complicated. https://firstdraftnews.org/fake-news-complicated/. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2563.