พฤติกรรมการสื่อสารและการเรียนรู้พฤติกรรมทางเพศของเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการสื่อสารและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้พฤติกรรมทางเพศของเยาวชนยุคดิจิทัลในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีกระบวนการศึกษาเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเยาวชน อายุตั้งแต่ 13-22 ปี จำนวน 20 คน ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และเครื่องบันทึกเสียงระหว่างการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลจากการนําข้อมูลการสัมภาษณ์ซึ่งอยู่ในรูปแบบบันทึกเสียงอิเล็กทรอนิกส์มาถอดความ และใช้วิธีการจับประเด็นที่สําคัญโดยดึงเฉพาะคําพูดที่เกี่ยวกับประเด็นที่ต้องการใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analyzing) และวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) โดยถอดเนื้อหาจากบทสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการสื่อสารมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้พฤติกรรมทางเพศของเยาวชนเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันเยาวชนสามารถเข้าถึงสื่อทางเพศได้อย่างอิสระ จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลทำให้เกิดการเรียนรู้พฤติกรรมทางเพศในกลุ่มเยาวชนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากเยาวชนในยุคดิจิทัลที่มีพฤติกรรมการใช้สื่อ และเข้าถึงสื่อต่างๆ ได้มากมาย เพื่อใช้ในการเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศ และนำมาใช้ในชีวิตจริง ไม่ว่าจะเป็นการหาคู่ การพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางเพศ อ่านศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นเรื่องเพศ รวมไปถึงการหาสถานที่นัดพบ หรือสถานที่ให้บริการทางเพศ และการจัดปาร์ตี้ระหว่างกลุ่มคนโสดคนเหงา และเยาวชนยังเข้าใช้สื่อในการแสวงหาข้อมูลต่างๆในแต่ละวันในประเด็นต่างๆ ซึ่งได้แก่ การเข้าเปิดรับหาความบันเทิง หาข้อมูลความรู้ และท่องอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงสื่อเกี่ยวกับประเด็นทางเพศ ซึ่งตัวสื่อมีเนื้อหาที่ล่อแหลมเยอะขึ้น การเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และมีช่องทางในการเข้าถึงผ่านทางสื่อต่างๆบนอินเทอร์เน็ต มือถือสมาร์ตโฟน แอปพริเคชั่น สื่อละคร ซีรี่ย์ และภาพยนต์ที่มีเนื้อหาทางเพศ หนังสือนิตยสารทั้งแบบเอกสารหรือแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีเป้าหมายในการเข้าใช้สื่อเหล่านี้คือ เพื่อผ่อนคลาย เพื่อความบันเทิง และเพื่อใช้ในการแสวงหาข้อมูลเพื่อตอบสนองในความอยากรู้อยากเห็นของตน หรือหาคำตอบที่ไม่สามารถถามกับครอบครัว หรือบุคคลอื่นตรงๆ ได้
อีกทั้งยังพบว่าอีกปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิส่งผลต่อการเรียนรู้พฤติกรรมทางเพศของเยาวชน คือ ปัจจัยภายในหรือปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ทัศนคติ ความเชื่อ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องเพศ ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านเพื่อน ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนี้ต่างมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้พฤติกรรมทางเพศที่ส่งผลสอดคล้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันในแต่ละปัจจัย ดังนั้นการเรียนรู้พฤติกรรมทางเพศในหมู่เยาวชนจึงได้รับอิทธิพลจากการใช้สื่อ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน สภาพแวดล้อม และทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยมที่ส่งผลต่อทัศนคติจึงก่อให้เกิดพฤติกรรมทางเพศ
คำสำคัญ พฤติกรรมการสื่อสาร, การเรียนรู้พฤติกรรมทางเพศ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธ์ที่ผู้เขียนบทความต้องยอมรับ
References
ภาษาไทย
วรรณศิริ ประจันโน. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤตกิรรมทางเพศของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ตามแนวคิดการให้ข้อมูล
ข่าวสาร แรงจงูใจและทักษะพฤติกรรม. (พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะ
พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา).
นวลพรรณ อิศโร. (2559).ปัจจัยทำนายพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดจันทบุรี.
(วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา).
เมธิกา ศรีสด และพิมลพรรณ อิศรภักดี. (2559). การยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานของคนไทย.
(สถาบันวิจัยประชากรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).
นางวิพรรษา คำรินทร์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนศึกษา
สงเคราะห์. (การค้นคว้าอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
เนตรนภา พรหมมา. (2556).ปัจจัยคาดทำนายความตั้งใจมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสของนักศึกษาชายชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัย.
(คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา).
วรา เหลืองชัยกุล. (2556). กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส : กรณีศึกษานักศึกษาระดับ
ปริญญาตรี. (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ).
อาจารย์วิชชา สันทนาประสิทธิ์. (2555). บทบาทของภาพยนตร์กับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นไทย: กรณีศึกษา นักศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา).