การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับช่องทางการตลาดการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ไทย

Main Article Content

เพิ่มพร ณ นคร
ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์
สันทัด ทองรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับช่องทางการตลาดการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารทางสถานีโทรทัศน์ไทย ผู้จัดละครโทรทัศน์และผู้กำกับการแสดง โดยคัดเลือกตามเกณฑ์และความสะดวกในการให้ข้อมูลของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ กลุ่มละ 3 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 9 คน และการวิจัยเอกสารเป็นการวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับการใช้สื่อ รูปแบบและเส้นทางการเผยแพร่การผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ไทยเพื่อการส่งออก พบว่า ช่องสถานีที่มีการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ไทย ได้แก่ ช่อง 7HD ช่อง 33 ช่อง One31 ช่อง 8 และช่อง True4U และมีการใช้สื่อโทรทัศน์ฟรีทีวีระบบดิจิทัลเป็นช่องทางหลักในประเทศและสื่ออินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางไปต่างประเทศ รูปแบบการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ไทย พบว่ามี 4 รูปแบบ ได้แก่ การผลิตซ้ำละครไทย การผลิตซ้ำจากซีรี่ส์ต่างประเทศ การผลิตซ้ำเค้าโครงละครไทยและการผลิตซ้ำแบบเปลี่ยนชื่อ ส่วนเส้นทางการเผยแพร่การผลิตซ้ำละครโทรทัศน์เพื่อการส่งออก ได้แก่ ผู้ผลิตมีฝ่ายขายโดยตรง ผู้ผลิตพึ่งพาบริษัทบริหารการส่งออก การตกลงฉายละครพร้อมกันและเส้นทางไม่เป็นทางการ ข้อมูลจากการวิจัยครั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับผู้ผลิตและหน่วยงานภาครัฐที่ต้องการส่งเสริมด้านช่องทางการตลาดการส่งออกให้แก่สินค้าเชิงสร้างสรรค์ในรูปแบบการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ไทยให้มีความคล่องตัวในการส่งออกมากขึ้น

Article Details

How to Cite
ณ นคร เ., เอี่ยมนิรันดร์ ธ., & ทองรินทร์ ส. (2020). การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับช่องทางการตลาดการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ไทย. วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ, 8(1), 100–127. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/240873
บท
บทความวิจัย

References

Blum, Richard A. and Lindheim, Richard D. (1987). Primetime: Network Television Programming. Massachusetts: Butterworth-Heinemann.
Guilford, J.P. (1959). Fundamental Statistics in Psychology and Education. New York: McGraw-Hill.
McQuail, D. (1994). McQuail’s Mass Communication Theory: An introduction (3th ed). London: SAGE Publications.
Mehdi Achouche. (2017).TV Remakes, Revivals, Updates, and Continuations: Making Sense of the Reboot on Television. Retrieved from https://www.semanticscholar.org/paper/Revivals-%2C-Updates-%2C-and-Continuations-%3A-Making-of-Achouche/ e355505ac697613d12b1c15c9e206dd1990aab32
Torrance, E. P. (1962). Guiding creative talent. New Jersey: Prentice Hall.
Verevise. C. (2004). Remaking Film. In Film Study: ReserchGate. 4(Summer 2004). 86-103.
กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
แข มังกรวงษ์. (2560). แนวทางการสร้างสรรค์โทรทัศน์ไทยที่ผลิตซ้ำโครงเรื่องเดิม.ใน วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล, 1(24), 121-130.
คอตเลอร์, ฟิลลิป. (2552). หลักการตลาดฉบับมาตรฐานและนิยามศัพท์การตลาด. (วารุณีตันติวงศ์วาณิชและคณะผู้แปล). กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่นอินโดไชน่า.
ชล อุดมพาณิช. (2555). การเลือกซื้อลิขสิทธิ์รายการจากต่างประเทศเพื่อมาผลิตในประเทศไทย. (สารนิพนธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชวพร ธรรมนิตยกุล. (2550). การผลิตซ้ำรายการบิ๊กบราเธอร์ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ชัยอนันต์ สมุทวาณิช. (2540). วัฒนธรรมคือทุน. กรุงเทพฯ: พี.เพรส.
ดวงใจ ธรรมนิภานนท์. (2557). กลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์ความงามผ่านช่องทางการค้าแบบดิจิทัล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเนชั่น.
ปนัดดา ธนสถิต. (2531). ละครโทรทัศน์ไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2556). เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศไทย. ใน วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์. 7(1). 1-69.
ยุพิน พิทยาวัฒนชัย. (2007). การจัดการช่องทางการตลาด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ซี.วี.แอล.
รพีพรรณ เพชรอนันต์กุล (2557). บทละครโทรทัศน์ที่ผลิตซ้ำ: ศึกษาการใช้ภาษาและคุณค่าที่มีต่อสังคม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รัฐติพงศ์ ชูนาค. (2545 ). การบริหารการจัดรายการของกิจการโทรทัศน์ แบบฟรีทีวีเพื่อผลเชิงพาณิชย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วิชิตโชค อินทร์เอียด (2560). แนวทางการกำกับการนำเสนอเนื้อหาละครโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมต่อเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.
วิภา อุตมฉันท์. (2544). การผลิตสื่อโทรทัศน์และสื่อคอมพิวเตอร์: กระบวนการสร้างสรรค์และเทคนิคการผลิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บุ๊คส์ พอยท์.
สุธีรา อินทรวงศ์. (2542). กระบวนการผลิตซ้ำข้ามวัฒนธรรมของรายการที่ได้รับลิขสิทธิ์จากต่างประเทศของสถานีโทรทัศน์ยูบีซี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
องอาจ สิงห์ลำพอง. (2560, กรกฎาคม - ธันวาคม). การบริหารจัดการรายการโทรทัศน์ในยุคไทยแลนด์ 4.0. ใน วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์. 11(2). 209-245
อัมพร จิรัฐติกร. (2559). ละครไทยกับผู้ชมอาเซียนวัฒนธรรมศึกษาของสื่อข้ามพรมแดนในอาเซียน. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.