รู้เท่าทันสื่อดิจิทัลกับบทบาทของผู้บริโภค

Main Article Content

พิชญาพร ประครองใจ
เอกรงค์ ปั้นพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้การรู้เท่าทันสื่อตามสิทธิของผู้บริโภค ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยดำเนินการตั้งแต่ มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562 ผลการดำเนินการวิจัยพบว่า กระบวนการเรียนรู้ การรู้เท่าทันสื่อตามสิทธิของผู้บริโภค ประกอบด้วย 1) สร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม ได้แก่ กำหนดวัตถุประสงค์กิจกรรมที่ชัดเจนและวัดผลได้ วางแผนการจัดกิจกรรมอย่างมีระบบ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงทัศนะอย่างกว้างขวาง ดำเนินกิจกรรมที่มีเนื้อหามาจากประสบการณ์/กรณีศึกษาที่น่าสนใจ และเป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วม และประเมินผลกิจกรรม โดยควรเป็นการวัดผลก่อน-หลังทำกิจกรรม 2) สร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านการวิเคราะห์จากกรณีศึกษา/ประสบการณ์ส่วนบุคคล ดังนี้ การตั้งคำถาม เช่น ข้อมูลนี้เชื่อถือได้หรือไม่ ข้อมูลนี้มาจากที่ใด มีวัตถุประสงค์อะไร ตรวจสอบความน่าเชื่อของข้อมูลกับแหล่งข้อมูลอื่นๆ ฝึกความคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) และการมีวิจารญาณ 3) สร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านการเรียนการสอน ดังนี้ จัดหลักสูตรการเรียนการสอนในแต่ละระดับชั้น และจัดหลักสูตรการเรียนการสอนระยะสั้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้บริโภคสื่อดิจิทัล หรือความฉลาดทางดิจิทัล (digital intelligence) หรือ DQ

Article Details

How to Cite
ประครองใจ พ., & ปั้นพงษ์ เ. (2019). รู้เท่าทันสื่อดิจิทัลกับบทบาทของผู้บริโภค. วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ, 7(1), 133–146. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/182245
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
ปทิตตา รอดประพันธ์, วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล, และสายฝน วิบูลรังสรรค์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรเยาวชนรู้เท่าทันสื่อตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 156-170.
อริสรา ไวยเจริญ. (2558). การโฆษณากับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 9(1), 11-36.

McLuhan, M. & Powers, B.R. (1989). The global village: Transformations in world life and media in the 21st century. New York, NY: Oxford University Press.
Potter, W. J. (2005). Media literacy. Thousand Oaks: Sage.