การวัดระดับอุปนิสัยของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางนํ้า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยใช้หลักการเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง
Main Article Content
Abstract
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 20-21 ปี ศึกษาในชั้นปีที่ 1 แผนการศึกษาหลักสูตร 4 ปี มีผลการเรียนเฉลี่ยภาคการศึกษาล่าสุดและผลการเรียนสะสมในระดับ 1.76-2.50 ส่วนใหญ่เป็นบุตรคนสุดท้อง มีจำนวนพี่น้อง 2 คน อาศัยอยู่กับบิดาและมารดา บิดามารดาอาศัยอยู่ด้วยกัน มีบิดาและมารดาประกอบอาชีพเกษตรกร มีเพื่อนสนิท 5 คน ไม่เคยทำงานพิเศษหรือหารายได้เสริม ไม่เคยเป็นผู้ริเริ่ม ผู้นำ หรือผู้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมนักศึกษา เคยมีประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมโดยสมัครใจมีความเต็มใจเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางสโมสรนักศึกษา คณะหรือมหาวิทยาลัยจัดให้ และเคยเรียนรู้เกี่ยวกับ 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง
กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยระดับอุปนิสัยที่ 1 บี-โปรแอกทีฟ อยู่ในระดับมาก ส่วนอุปนิสัยที่ 7 ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ ความสมดุลในการดำเนินชีวิต อุปนิสัยที่ 4 คิดแบบชนะ/ชนะ อุปนิสัยที่ 5 เข้าใจผู้อื่นก่อน แล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา บัญชีออมใจ อุปนิสัยที่ 2เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ อุปนิสัยที่ 3 ทำสิ่งที่สำคัญก่อน และอุปนิสัยที่ 6 ผนึกพลังประสานความต่าง อยู่ในระดับค่อนข้าง มาก ตามลำดับ เมื่อคิดเป็นกลุ่มอุปนิสัยแล้วพบว่ากลุ่มชัยชนะชนะส่วนตน อุปนิสัยกลุ่มชัยชนะในสังคม และภาพรวม 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูงอยู่ในระดับค่อนข้างมากตามลำดับ นักศึกษาที่มี ประสบการณ์ในการเรียนรู้เกี่ยวกับ 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง มีค่าเฉลี่ยระดับอุปนิสัยสูงกว่านักศึกษาที่ไม่มีประสบการณ์ในการเรียนรู้เกี่ยวกับ 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูงในทุกอุปนิสัย
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอุปนิสัย พบว่า อุปนิสัยตามหลักการ 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง ได้แก่ บัญชีออมใจ ความสมดุลในการดำเนินชีวิต และอุปนิสัยที่ 1 ถึง อุปนิสัยที่ 7 มีความสัมพันธ์กันทางบวกกับทุกอุปนิสัย
Measuring Habit Level of Faculty of Fisheries and Aquatic Resources Students, Maejo University, by Applying the Seven Habits of Highly Effective People Principle
This independent study aimed at studying the habit of Faculty of Fisheries and Aquatic Resources Students, Maejo University by employing the Seven Habits of Highly Effective People Principle by Stephen R. Covey (1989) and at finding correlation between the habit levels and between the respondent general characteristics and habit levels. The samples were collected from those students who were studying in Faculty of Fisheries and Aquatic Resources. The sample size was specified to 234. Self-scoring Seven Habits of Highly Effective People Principle questionnaire by Covey (2010) was used in correcting data. Statistical analysis techniques used in this study were frequency, percentage, mean, standard deviation, one-way ANOVA and correlation analysis.
Most of the respondents were 20-21 years old male studying in the first academic year of 4-year program with GPA and GPAC of 1.76-2.50. Most respondents were the youngest child. They had two brothers/sisters and they lived with their both parents. Their parents lived together. Their parents worked as agriculturist. They had 5 close friends. They had no work experience and never were a leader or involved in arranging student activities. They had experienced in voluntarily attending student activities and they were willing in attending activities organized by students association, the faculty or the university. They had an opportunity to attend a lesson or a class concerning the Seven Habits for Highly Effective People Principle.
The result of the study showed that the respondents had high level of Habit 1: Be Proactive. However, they had medium high level of Habit 7: Sharpen the Saw, Life Balance Habits, Habit 4: Think Win/Win, Habit 5: Seek First to Understand, Emotional Bank Account Habit, Habit 2: Begin With the End in Mind, Habit 3: Put First Thing First, Habit 6: Synergize were ranked at high level, respectively. Private Victory Habits, Public Victory Habit and Habit Overall 7 Habit and was ranked at high level, respectively. Students with learning experience concerning the Seven Habits for Highly Effective People Principle had higher average level of all habits than students who did not have that experience.
The correlation analysis showed that the Emotional Bank Account, Life Balance and Habit 1 to Habit 7 were positively correlated with each other.