การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกสมุนไพรของกลุ่มเกษตรกรบ้านหนองสุวรรณ ตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ (Cost and Return Analysis of Planting Herbs of Farmers Group in Ban Nong Suwan, Ban Klang Sub-District, Song District, Phrae Province)

Main Article Content

อารีกมล ต.ไชยสุวรรณ
วรรณา มังกิตะ
สิริยุพา เลิศกาญจนาพร
สรียา ทรัพย์ศิริ
ธีราพัฒน์ จักรเงิน

Abstract

การศึกษาเรื่อง การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกสมุนไพรของกลุ่มเกษตรกร บ้านหนองสุวรรณ ตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาข้อมูลจากพืชสมุนไพร จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ ขมิ้นชัน ไพล ตะไคร้ มะกรูด ที่เป็นสมุนไพรหลักที่โรงพยาบาลสองรับซื้อ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ปลูกสมุนไพรเพื่อส่งขายให้กับทางโรงพยาบาลสอง จำนวน 22 ครัวเรือน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ทฤษฎีทางการบัญชีและทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน การวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีทางการบัญชี พบว่า เกษตรกร มีผลกำไรสุทธิทางการบัญชี เฉลี่ยเท่ากับ 2,708.76 บาทต่อครัวเรือนต่อปี มีอัตรากำไรส่วนเกินต่อยอดขายรวมเท่ากับ ร้อยละ 40.81 และมียอดขาย ณ จุดเสมอตัว เฉลี่ยเท่ากับ 1,473.39 บาทต่อครัวเรือนต่อปี การวิเคราะห์โดยใช้ ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์พบว่าเกษตรกรมีกำไรสุทธิเหนือต้นทุนเงินสด เท่ากับ 6,416.48 บาทต่อครัวเรือนต่อปี หรือมากกว่ากำไรสุทธิทางการบัญชี 2.37 เท่า จากผลตอบแทนทางการบัญชีและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ ทำให้ทราบว่า กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ มีรายได้รวมจากการปลูกสมุนไพรเป็นอาชีพเสริมและรายได้หลักเพียงพอ มีค่าใช้จ่ายที่สามารถประหยัดได้และสามารถดำรงชีพอยู่ได้ นอกจากนี้ การทำความร่วมมือกันระหว่างโรงพยาบาลและกลุ่มเกษตรกรจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการในห่วงโซ่อุปทานสมุนไพรได้อย่างยั่งยืน

 

This study aims to analyze the cost and revenue of herbs plantation of farmers in Ban Nong Suwan, Ban Klang sub-district, Song district, Phrae province. Data were derived from 22 farmer households who registered to distribute four types of herbs to Song Hospital. The four herbs included turmeric, cassumunar ginger, lemon grass and leech lime because they were the main materials for medicinal herbal production of the hospital. Data were collected using an in-depth semi-structured interview. The results of the accounting theory showed that the farmers could get the average net profit of 2,708.76 baht per household per year from planting these herbs. The percentage of contribution margin ratio was 40.81% and the value of break-even point was 1,473.39 baht per household per year. The net profit of cash basis in the economics analysis was 6,416.48 baht per household per year which was 2.37 times greater than that in the accounting analysis. The results of the study can be implied that planting herbs could enhance the farmers’ livelihoods. Additionally, the cooperation between the hospital and the community enterprise could sustain the value chain management of herbal production.

Article Details

Section
Research Articles