การพัฒนาโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ร่วมกับวรรณกรรมบำบัด เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

ชมพูนุท เมฆเมืองทอง
นิรุต ถึงนาค

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ร่วมกับวรรณกรรมบำบัด เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างมีวิจารณญาณ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาก่อนและหลังได้รับโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ร่วมกับวรรณกรรมบำบัดโดยกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามจำนวน 40 คนโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ร่วมกับวรรณกรรมบำบัดและแบบวัดพฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างมีวิจารณญาณที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและตรวจคุณภาพแล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Wilcoxon signed rank test ผลการวิจัยพบว่า

1. โปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ร่วมกับวรรณกรรมบำบัดที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการคิดเชื่อมโยง และการรับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างมีวิจารณญาณ การจัดการเรียนรู้ใช้หลักเรียนรู้แบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้ในชั้นเรียน ที่ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 5 ขั้นตอน และจัดการเรียนรู้ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ 7 ขั้นตอน

2. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาหลังได้รับโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ร่วมกับวรรณกรรมบำบัด สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ร่วมกับวรรณกรรมบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

The purpose of this quasi experimental research of non equivalent one groups pretest-posttest design were to1) develop a behavioral intervention program and literature therapy for critical internet receiving behavior modification and 2) compare critical internet receiving behavior among Rajabhat Mahasarakham University student before and after receiving the behavioral intervention program and literature therapy. The samples were 40 first-yearThai program students of Rajabhat Mahasarakham University who were purposively assigned. The research instruments were a behavioral intervention programand literature therapy and critical internet receiving behavior measurement which were developed by the researcher and tested for the validity and the reliability. The data were analyzed by mean, standard deviation, and Wilcoxon signed rank test. The major findings were the followings:

1. The behavioral intervention program and literature therapy which were developed by the researcher consisted of 3 elements: developing critical thinking, associative thinking and critical internet consumption. The instructional process consists of learning activity in classroom comprising 6 steps, creating their own knowledge comprising 5 steps with learning activity in online social network comprising 7 steps.

2. The critical internet receiving behavior score of RajabhatMahasarakham University after received the behavioral intervention program and literature therapy was significantly higher than before receiving the program at a level of .01

Article Details

Section
Research Articles