การศึกษารสวรรณคดีที่ปรากฏในนวนิยายเรื่องไชน่ามูน ของประภัสสร เสวิกุล (A Study of Rasa (Aesthetics) in Prabhassorn Sevikul’s Novel China Moon)

Main Article Content

ณิชาภา กระกรกุล
สุภาพร คงศิริรัตน์

Abstract

บทความวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารสวรรณคดี (Rasa) ที่ปรากฏในนวนิยายเรื่อง ไชน่ามูน ของประภัสสร เสวิกุล ซึ่งเป็นนวนิยายเรื่องหนึ่งในโครงการวรรณกรรมเพื่ออาเซียน ที่สมาคมอาเซียน-ประเทศไทยจัดทำขึ้นเพื่อให้คนไทยรู้จักเพื่อนสมาชิกประเทศอาเซียน การศึกษานี้ได้อาศัยทฤษฎีรสวรรณคดีสันสกฤตและรสวรรณคดีไทยมาประมวลสังเคราะห์เป็นเกณฑ์ในการศึกษาซึ่งมี ทั้งหมด 10 รส ผลการศึกษาพบรสวรรณคดีทั้งหมด 8 รส ปรากฏดังนี้ ศฤงคารรส ร้อยละ 28.13 กรุณารส ร้อยละ 22.32 วีรรส ร้อยละ 15.36 ศานตรส ร้อยละ 13.39 เสาวรจนี ร้อยละ 12.50 เราทรรส ร้อยละ 6.69 ภยานกรส ร้อยละ 0.89 และหาสยรส ร้อยละ 0 .45 ส่วนรสที่ไม่ปรากฏ ได้แก่ พีภัตสรสและอัทภูตรส โดยรสต่างๆ ที่ปรากฏได้สอดแทรกเข้ากับเนื้อหาต่างๆได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม ทำให้ผู้อ่านนอกจากจะได้รับอารมณ์ความสะเทือนใจและเพลิดเพลินไปกับตัวละครในนวนิยายแล้ว สิ่งสำคัญคือรสต่างๆ เหล่านี้ได้ช่วยสะท้อนภาพความเป็นคนสิงคโปร์ได้อย่างเด่นชัดทำให้รู้จักสิงคโปร์ได้อย่างดี อันสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการวรรณกรรมเพื่ออาเซียน

 

This research article aims to study Rasa (aesthetics) in Prabhassorn Sevikul’s novel, China Moon, which is one of the novels in the Literature for ASEAN Project held by ASEAN Society-Thailand to acquaint Thai people with members of the neighboring countries. This study synthesizes the theoretical frameworks of the Rasa in Sanskrit literature and in Thai literature into 10 types of rasa, used as the criteria for the analysis. The findings reveal that 8 rasas can be perceived in the novel, namely Saringgara (28.13 %), Karuna (22.32 %), Vira (15.36 %), Santa (13.39%), Saovarotjanee (12.50 %), Raudra (6.69 %), Bhayanaka (0.89 %), and Hasya (0.45 %). Bibhatsa and Adbhuta are the 2 rasas that are not found in the novel. The rasas in the novel are suitably employed in the various contents. They create emotions and pleasure for the readers and, most importantly, helps reflect the nature of Singaporean people enabling the readers to know about Singapore and serving the purpose of the Literature for ASEAN Project.

Article Details

Section
Research Articles