โลกทัศน์ของคนอินโดนีเซียจากภาษิต (The Worldviews of Indonesian People from Proverbs)
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาโลกทัศน์ของคนอินโดนีเซียจาก “พจนานุกรมภาษิตอินโดนีเซียฉบับสมบูรณ์” ที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอินโดนีเซีย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของคนอินโดนีเซียจากภาษิต โดยอาศัยกรอบของโลกทัศน์เป็นแนวทางในการศึกษาได้แบ่งโลกทัศน์ออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ โลกทัศน์ต่อมนุษย์ โลกทัศน์ต่อธรรมชาติ และโลกทัศน์ต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่าภาษิตได้สะท้อนให้เห็นโลกทัศน์ของคนอินโดนีเซียที่มีต่อมนุษย์มากที่สุด และโลกทัศน์ที่สะท้อนให้เห็นอัตลักษณ์ที่เด่นชัดของคนอินโดนีเซีย คือ โลกทัศน์ของคนอินโดนีเซียที่มีต่อดัตช์ (เนเธอร์แลนด์) ซึ่งเป็นโลกทัศน์ในเชิงลบ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นทัศนะในลักษณะเชิงดูแคลนและมองเห็นความเอารัดเอาเปรียบของคนดัตช์ อันมีสาเหตุจากอินโดนีเซียตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์เป็นเวลาถึง 301 ปีอัตลักษณ์ที่เด่นชัดอีกด้านหนึ่ง คือ โลกทัศน์ของคนอินโดนีเซียที่มีต่อศาสนาอิสลาม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าคนอินโดนีเซียให้ความสำคัญให้คุณค่า ให้ความศรัทธาต่อศาสนาซึ่งจะเกี่ยวพันกับการศึกษาเล่าเรียน เพราะในสมัยก่อนการศึกษาของชาวมุสลิมเริ่มจากคัมภีร์อัลกุรอาน
This research investigates the worldviews of Indonesian people from the “KamusLengkapPeribahasa Indonesia” published in the Indonesian language. The aims of the investigation are to study the worldviews of Indonesian people as reflected in the proverbs. The study is conducted based on the worldviews framework, and the worldviews are classed into 3 categories :the worldview towards humans, nature and supernatural power. The findings reveal that the proverbs reflect the Indonesian people’s worldview towards humans most, and that the proverbs reflect a remarkable characteristic of Indonesian people in that their worldview towards the Dutch is negative. These findings project a scorning attitude towards the Dutch’s selfish exploitations during the Netherlands’ 301 years of ruling over Indonesia. Another remarkable identity is the Indonesians’ worldview towards Islamism. The findings reveal that the Indonesians regard the religion with the most significance, value and esteem. The religion is closely related to education as Muslim people in the past began their education with the Koran.
Article Details
Section
Research Articles
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร