บทบาทของประเทศไทยกับ COP21: การปรับตัวของภาคประชาสังคมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Main Article Content

ไกรชาติ ตันตระการอาภา
วิธิดา พัฒนอิสรานุกูล
วิษณุพงค์ เกลี้ยงช่วย

Abstract

ปัจจุบันสภาพแวดล้อมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งจากการแข่งขัน ทางเศรษฐกิจ การเพิ่มจำนวนของประชากรโลกก่อให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรของแต่ละประเทศซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่มีความรุนแรงมากขึ้นตามไปด้วยและ ผลกระทบนั้นย่อมส่งผลต่อการดำรงชีวิตของประชากรโลก ด้วยเช่นกัน องค์การอนามัยโลก(WHO) ได้ตระหนักถึงภัยอันตรายที่จะเกิดจากมลพิษ สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและยังเน้นยํ้าถึงปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ขยายระดับของปัญหา จากระดับชุมชนหรือท้องถิ่น (เช่น มลพิษอากาศในอาคาร) ระดับเมือง (เช่น มลพิษอากาศในเขตเมือง) ระดับภูมิภาค (เช่น ฝนกรดและมลพิษข้ามพรหมแดน) และในปัจจุบันระดับของปัญหา มีการขยายออกไปสู่ระดับโลก นั่นก็คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( Climate change)

การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศครั้งที่ 21 หรือConference of the Parties ครั้งที่ 21(COP21) เพื่อสร้างข้อตกลงร่วมกันที่จะมาแทนที่พิธีสารเกียวโต ระหว่างภาคีสมาชิก ใจความสำคัญของ การประชุมคือการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายในการลดอุณหภูมิโลกลงให้ได้ 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนพัฒนาอุตสาหกรรม ประเทศไทยคือหนึ่งในภาคีสมาชิก ที่ได้ลงนามให้ความร่วมมือดังกล่าวโดยแสดงเจตจำนงในการลดปริมาณการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศลงร้อยละ 20-25 จาก ปีค.ศ.2009 ภายใน ปีค.ศ. 2030 เพราะฉะนั้น จึงเป็นภารกิจที่มีความท้าทายเป็นอย่างยิ่งของประเทศต่อการดำเนินการเพื่อให้บรรลุ ตามข้อตกลงดังกล่าว จากประเด็นดังกล่าวภาคประชาสังคมจึงเป็นกลไกหลักที่จะขับเคลื่อน ให้ประเทศชาติสามารถบรรลุตามข้อตกลงฉบับนี้

บทความฉบับนี้มุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจของหลักการดำเนินงานและวัตถุประสงค์ ของ COP21 ข้อตกลงร่วมกันของภาคีสมาชิกการดำเนินงานของประเทศไทยต่อข้อตกลง การปรับตัวของภาคประชาสังคมเพื่อสามารถสนับสนุนให้ประเทศสามารถดำเนินงานให้ บรรลุตามข้อตกลง COP21 ได้สำเร็จ

Article Details

Section
Academic Article