จากภูมิปัญญาลวดลายผ้าทอพื้นเมืองสู่ธุรกิจ SME (From the Local Wisdom of Local Textile Patterns to SMEs)
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยกำหนดขอบเขตการศึกษาลวดลายผ้าพื้นเมืองในท้องถิ่นภาคกลางตอนบนจาก 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร และอุตรดิตถ์ขั้นตอนการดำเนินการศึกษาผู้วิจัยได้สำรวจลวดลายผ้าแต่ละท้องถิ่นโดยการสังเกต สัมภาษณ์จดบันทึกและถ่ายภาพ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. ลวดลายผ้าพื้นเมืองในภาคกลางตอนบนทั้ง 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร และอุตรดิตถ์ พบว่า
1.1 ผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดพิษณุโลก ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ลายดอกปีบแหล่งทอที่สำคัญคือบ้านม่วงหอม อำเภอวังทอง และบ้านนาเมือง อำเภอชาติตระการ
1.2 ผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดสุโขทัย ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ลวดลายโบราณที่มีทั้งหมด 9 ลาย คือ ลายเครือน้อย ลายเครือกลาง ลายเครือใหญ่ ลายสี่ขอ ลายแปดขอลายสิบสองหน่วย ลายดอกมนสิบหก ลายนํ้าอ่าง ลายสองท้อง แหล่งทอที่สำคัญคือ ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย และเรียกผ้าทอนี้ว่า ผ้าซิ่นตีนจกหาดเสี้ยว
1.3 ผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดพิจิตร ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ลายเปาปุ้นจิ้นแหล่งทอที่สำคัญคือ บ้านป่าแดง อำเภอตะพานหิน
1.4 ผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ได้แก่ ลายพันก้อน ลายข้าวพันก้อน และที่เชิงผ้าซิ่นตีนจกทุกผืนจะต้องมีลายขอซ้อน ลายเตยเกาะ และลายพญานาคแหล่งทอที่สำคัญคือ บ้านกกต้อง อำเภอฟากท่า
2. ภูมิปัญญาในลวดลายผ้าทอพื้นเมือง ผ้าทอพื้นเมืองแต่ละท้องถิ่นต่างมีลวดลายที่แตกต่างกันและลวดลายที่ปรากฏนั้นถือว่าเป็นการแสดงออกทางภูมิปัญญาท้องถิ่นบนงานหัตถกรรมผ้าทออันทรงคุณค่า ซึ่งภูมิปัญญาที่ปรากฏในลวดลายผ้าทอพื้นเมืองภาคกลางตอนบนแบ่งได้ 3 ลักษณะคือ ภูมิปัญญาที่แสดงออกโดยการเลียนแบบธรรมชาติภูมิปัญญาที่แสดงออกเป็นนามธรรม และภูมิปัญญาที่แสดงออกทางสังคม ทั้งนี้ภูมิปัญญาของลวดลายผ้าทอพื้นเมืองในภาคกลางตอนบน มีดังนี้
2.1 ภูมิปัญญาผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดพิษณุโลก พบว่า ลวดลายผ้าทอที่จังหวัดพิษณุโลกมีภูมิปัญญาที่แสดงออกโดยการเลียนแบบธรรมชาติ
2.2 ภูมิปัญญาผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดสุโขทัย พบว่าลวดลายผ้าทอที่จังหวัดสุโขทัยมีภูมิปัญญาที่แสดงออกโดยการเลียนแบบธรรมชาติผสมผสานกับภูมิปัญญาที่แสดงออกเป็นนามธรรมและภูมิปัญญาที่แสดงออกทางสังคม
2.3 ภูมิปัญญาผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดพิจิตร พบว่า ลวดลายผ้าทอที่จังหวัดพิจิตรมีภูมิปัญญาที่แสดงออกเป็นนามธรรม
2.4. ภูมิปัญญาผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า ลวดลายผ้าทอที่จังหวัดอุตรดิตถ์มีภูมิปัญญาที่แสดงออกโดยการเลียนแบบธรรมชาติผสมผสานกับภูมิปัญญาที่แสดงออกเป็นนามธรรม
The research entitled “From the Local Wisdom of Local Textile Patterns to SMEs” aimsed to investigate the unique ness of the local textile patterns and the local wisdom in local textile patterns. The researcher specifiesd the area of this study in 4 provinces in the upper central region which are Pitsanulok, Sukothai, Pichit, and Utaradit. The researcher has surveyed the textile patterns of each area through observation, interview, written record, and photographing.
The findings can be summarized as follows:
1. Regarding of the local textile patterns produced in the upper-central region of Thailand, the findings are as follows:
1.1 Pitsanulok’s local textile – The unique pattern of Pitsanulok’s local textiles is ‘Dok Peep’ and it is mainly produced in Ban Muang Hom, Wang Thong District and in Ban Na Muang, Chart Trakarn District.
1.2 Sukhothai’s local textile – There were 9 unique patterns of Sukothai’s local textiles as follows: Lai Krua Noi, Lai Krua Klang, Lai Krua Yai, Lai Si Khaw, Lai Paed Khaw, Lai Sibsong Nuai Lai Dok Mon Sib Hok, Lai Nam Ang, and Lai Song Thong. These patterns were mainly produced in Tambon Hartsiew, Sristchanalai district; consequently, these textiles were so called ‘Pha Sin Tin Jok Hartsiew’.
1.3 Pichit’s local textile – The unique pattern of Pichit’s local textile was ‘Lai Pao Bun Chin’. The pattern was mainly produced in Baan Paa Daeng, Tapanhin District.
1.4 Utaradit’s local textile – The unique patterns of Utaradit’s local textiles were ‘Lai Pan Korn’ and ‘Lai Kao Pan Korn’. What made Ban Kok Tong’s Tin Jok distinctive from the others was that there were the patterns of Khaw Sorn, Toey Koh, and Phya Nak at the edge of all Pha Sin Tin Jok. These patterns were mainly produced in Baan Kok Tong, Faak Taa district.
2. Local textile in each area showed the different patterns that refl ected the local wisdom on the valuable textile handicraft. There were three categories of the local wisdom appearing on the local textile patterns in the upper central region: the local wisdom inspired by the nature, the local wisdom showing an abstract pattern and the local wisdom related to social function, The local wisdom of local textile patterns in the upper central region were as follows:
2.1 The local wisdom of Pitsanulok’s local textile was inspired by the nature.
2.2 The local wisdom of Sukothai’s local textile showed the combination of the inspiration from nature and the abstract local wisdom with the one relating to social function.
2.3 The local wisdom of Pichit’s local textile expressed the abstract local wisdom.
2.4 The local wisdom of Utaradit’s local textile was the combination of the local wisdom inspired by the nature and the abstract local wisdom.