กิจกรรมทางกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ (Physical Activity of Maejo University Undergraduates, Chiang Mai Province)

Main Article Content

กิติพงษ์ ขัติยะ

Abstract

การวิจัยเรื่องกิจกรรมทางกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน และในเวลาว่างรวมทั้งสถานที่ปฏิบัติกิจกรรมทางกายของนักศึกษา เพื่อศึกษาความบ่อย ความหนักและระยะเวลานาน ในการปฏิบัติกิจกรรมทางกายของนักศึกษา เพื่อศึกษาปัญหา การแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติกิจกรรมทางกายของนักศึกษา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 228 คน วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถานที่วิจัย คือ ห้องเรียนสังคม 604 ระยะเวลาวิจัย ระหว่างเดือนตุลาคม 2557 ถึงเดือน กันยายน 2558 เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและตีความสร้างข้อสรุป

ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมทางกายของนักศึกษาส่วนใหญ่ ในชีวิตประจำวัน ด้านการเรียน ได้แก่ การเดินไปเรียน การเดินขึ้นลงบันได และการปฏิบัติงานฟาร์ม ด้านกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การเดิน การทำงานบ้าน และการขี่จักรยาน ส่วนในเวลาว่าง ด้านการออกกำลังกาย ได้แก่ การวิ่งเหยาะ และการเล่นฟิตเนส ด้านการเล่นกีฬา ได้แก่ แบดมินตัน และฟุตซอล สำหรับสถานที่ปฏิบัติกิจกรรมทางกาย สนามกีฬาอินทนิล และหอพักนักศึกษา ตามลำดับ ในการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย มีความบ่อย 3 - 5 วัน/สัปดาห์ความหนัก รู้สึกเหนื่อย และใช้ระยะเวลานาน 30 - 60 นาที/วัน ปัญหาที่ประสบ และการแก้ไขปัญหา ได้แก่ ปัญหาปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้ไขโดยการอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย และใช้ยานวด ปัญหาเหนื่อยหอบ แก้ไขโดยการวิ่งบ่อยๆ จนเกิดความเคยชินและปัญหามีฝนตก แก้ไขโดยการไปเล่นกีฬาในร่ม รวมทั้งนักศึกษามีข้อเสนอแนะ คือ ควรออกกำลังกายเป็นประจำสมํ่าเสมอ และไม่หักโหม เพื่อให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงไม่มีโรคภัย

 

The research on the physical activities of undergraduates at Maejo University, Chiang Mai aims to study types of physical activities practiced by the undergraduates in their everyday life and leisure times and the setting of the physical activities, frequency, intensity, and duration of the physical activities practiced by the students, and problems about physical activity practicing, solutions to and recommendations on the physical activity practicing. It is a survey research with qualitative methodology in which 228 undergraduates were chosen purposely as a sample group during the first semester of the academic year 2014. The research site was the classroom Sangkhom 604 at the Faculty of Liberal Arts, Maejo University, and it occurred from October 2014 to September 2015. Structured interview was employed as the main research tool. Data collected were examined by means of content analysis and interpretation.

The findings revealed that the physical activities in the undergraduates’ daily life related to educational activities included walking between classes and upstairs or downstairs in different buildings and doing field tasks. For other daily physical activities included walking, doing household chores, and cycling. In their leisure times, the students did physical exercises including jogging and doing fitness. In terms of playing sport, they played badminton and futsal. The settings of physical activities were Inthanin Sports Complex and the University’s dormitory compounds. The frequency of physical activity practicing was 3-5 days a week, and the intensity and duration were 30-60 minutes a day. The problems found included muscle aches or strain. Aid solutions were to introduce a warm-up session before doing the physical exercises and massage treatment. Overtiredness was frequently found, and the solution was by way of frequent workout until the body was accustomed to it. Rains were another obstacle for doing exercises of the students. So, they turned to indoor exercises. Recommendations by students were raised, including frequent exercises but not overdoing so as to keep the body fit and in good health.

Article Details

Section
Research Articles