จาก “ซอนํ้าท่วม” ถึง “เพลงผาวิ่งชู้” สู่ “ผ้าซิ่นนํ้าท่วม”: การต่อสู้ด้วยภาษา และอุดมการณ์ล้านนานิยม

Main Article Content

สุนทร คำยอด

Abstract

บทความนี้วัตถุประสงค์เพื่อค้นหาและวิเคราะห์อุดมการณ์ ในเพลงซอนํ้าท่วม เพลงผาวิ่งชู้ และการสร้างความหมายให้กับผ้าซิ่นนํ้าท่วม โดยใช้แนวคิดอุดมการณ์ของหลุยส์ อัลธูแซร์ พบว่า ตัวบทข้างต้นเป็นกระบวนการสร้างความทรงจำทางสังคมผ่านเรื่องเล่าภายใต้อุดมการณ์ล้านนานิยม โดยได้ประกอบสร้างความทรงจำผ่านการเล่าเรื่องความทุกข์ของผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนด้วยการนำเสนอ 3 ประเด็นคือ ความทุกข์เนื่องจากจากการพลัดถิ่นที่อยู่ ความทุกข์เนื่องจากพื้นที่รัฐบาลจัดสรร และความทุกข์จากการสูญเสียสูญเสียทรัพย์สินและที่ดินทำกิน นอกจากนี้ตัวบทมีการตอบโต้ภายใต้อุดมการณ์ล้านนานิยมโดยการสร้างคู่ขัดแย้ง 2 ลักษณะคือ ความขัดแย้งระหว่างคนกับเขื่อนและความขัดแย้งระหว่างคนกับรัฐบาล อีกทั้งยังมีกระบวนการที่แสดงให้เห็นการต่อต้านรัฐบาลที่ไม่ชัดเจนจนเกินไปด้วยการเปลี่ยนประเด็นในการเสนอ 2 ลักษณะคือ กล่าวชมนโยบายการสร้างเขื่อนของรัฐบาล และการกล่าวถึงเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อน

 

The Underlying Concepts through the Lanna Folk Songs Named “So Nam Tuam” and “Pha Wing Chu”, and the Lanna Salongs Called “Phasin Nam Tuam”: the Counter Discourse and Lannaism Ideology

The purposes of this article are to discover and analyze the underlying ideologies of the Lanna folk songs named “So Nam Tuam” and “Pha Wing Chu”, and to understand the concept of signification to “Phasin Nam Tuam”—a certain type of the women’s traditional long woven tube-skirts. According to the ideological concept introduced by Louis Althusser, it was found that those three mentioned contexts are all the process for building up social memories through Lannaism ideological storytelling. Building the memories was told based on the sufferings of people affected by dam construction. There were 3 types of suffering: suffering of displacement, suffering of government’s land allocation, and suffering of land and property loss. Under the Lannaism ideology, the textual contents were kind of retorts and responses against the government. The conflict counterparts were created into 2 ways: the conflict between the affected people and the dam, and the conflict between the affected people and their government. However, there were 2 points were changed in order to make the government’s resistance appear not too obviously. First, the government’s po licy of building the dam was praised, and the matters unrelated to dam building were discussed.

Article Details

Section
Research Articles