ภาพเสนอและอุดมการณ์สิ่งแวดล้อมของชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ในวรรณกรรมเยาวชนของมาลาคำจันทร์ (Representations and Environmental Ideology of Karen Ethnic in Young - Adult Fiction of Mala Khamchan’s Novels)

Main Article Content

สุนทร คำยอด

Abstract

ความเป็นชายขอบของชาติพันธุ์ปกาเกอะญอในวัฒนธรรมล้านนานั้นเริ่มต้นในสมัยเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง และได้ผลิตซ้ำภาพเสนอ จน โง่ สกปรก และนิยมการตัดไม้ทำลายป่าอย่างต่อเนื่องผ่านวรรณกรรมลายลักษณ์ และวรรณกรรมมุขปาฐะจนกลายเป็นมายาคติในสังคมไทย มาลา คำจันทร์ ได้สร้างวรรณกรรมเรื่อง หมู่บ้านอาบจันทร์ และลูกป่า ภายใต้อุดมการณ์สิ่งแวดล้อมที่เน้นการอนุรักษ์ และบรรยากาศทางวิชาการที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และการให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาด้านสิ่งแวดล้อมของชนเผ่า โดยการสร้างภาพเสนอใหม่ให้กับชาติพันธุ์ปกาเกอะญอในสองลักษณะ คือ ภาพเสนอของชาวเขาผู้ทรงจริยธรรม และเน้นภาพเสนอของชาวเขาที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชาติพันธุ์ปกาเกอะญอมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น อีกทั้งทำให้ผู้อ่านคล้อยตาม

 

The marginalization of Karen ethnic began in the Lanna renissance, and represented the image of poverty, stupidity and deforestation repeatediy through literary and oral literature which enventually became misunderstanding of this ethnic in Thai society. Mala Khamchan composed Mooban Arbchan and Luk-paa, based on the environmental idiology, and academically emphasized the importance of environment and ethnic wisdom by presenting the new representation for Karen ethnic in two ways: the represention of morality in Karen ethnic, and the representation of conservation in Karen ethnic, which make Karen ethnic have a better image and also persuade the readers’ thought to agree with the auther.

Article Details

Section
Research Articles