ความต้องการจัดกิจกรรมจิตสาธารณะของนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ (Needs for Public Mind Activity Holding of Maejo University Undergraduate Students, Chiang Mai Province)

Main Article Content

กิติพงษ์ ขัติยะ

Abstract

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจัดกิจกรรมจิตสาธารณะของนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มุตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2556 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 289 คน วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สนามศึกษา คือ ห้องเรียนที่ผู้วิจัยเป็นผู้สอนระยะเวลาในการวิจัยประมาณ 6 เดือน เครื่องมือที่ใช้ คือ ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ที่เป็นคำถามปลายเปิด จำนวน 3 ข้อ ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ตามกรอบทฤษฏีจิตสาธารณะใน 3 องค์ประกอบ 6 ตัวชี้วัด ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความต้องการจัดกิจกรรมจิตสาธารณะ ในองค์ประกอบที่ 1 การใช้ของส่วนรวม ตัวชี้วัด 1.1 การดูแลรักษาของส่วนรวม (1) ภายในมหาวิทยาลัย เช่น การทาสีอาคาร และรั้วมหาวิทยาลัย การทำความสะอาดหอพัก และบริเวณรอบๆ มหาวิทยาลัย (2) ภายนอกมหาวิทยาลัย เช่น การพัฒนาโรงเรียนที่ห่างไกลความเจริญตามต่างจังหวัด การพัฒนาชุมชน วัดหรือโบราณสถาน และการอนุรักษ์ต้นไม้สัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธ์ุ ตัวชี้วัด 1.2 การใช้ของส่วนรวมอย่างประหยัดและทะนุถนอมไม่พบว่านักศึกษาต้องการจัดกิจกรรมจิตสาธารณะในตัวชี้วัดนี้ และในองค์ประกอบที่ 2 การถือเป็นหน้าที่ในการปฏิบัติงานจิตสาธารณะ ตัวชี้วัด 2.1 การทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเพื่อส่วนรวม (1) ภายในมหาวิทยาลัย เช่น การช่วยงานสาขาที่เรียนการปลูกต้นไม้บริเวณมหาวิทยาลัย และการช่วยรุ่นพี่ทำงาน (2) ภายนอกมหาวิทยาลัย เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยจัดเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม และการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันดินพังทลาย ตัวชี้วัด 2.2 การรับอาสาที่จะทำบางอย่างเพื่อส่วนรวม (1) ภายในมหาวิทยาลัย เช่น การอาสาช่วยงานวันเกษตร แม่โจ้ 80 ปี ฝากความดีไว้ในแผ่นดิน การสอนพิเศษน้องและเพื่อน และการอาสาเป็นผู้นำนันทนาการ (2) ภายนอกมหาวิทยาลัย เช่น การจัดค่ายอาสาพัฒนาหมู่บ้านบนดอยและในชนบท การบริจาคเลือด และการบริจาคสิ่งของแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมและผู้ยากไร้ สำหรับองค์ประกอบที่ 3 การเคารพสิทธิส่วนรวม ตัวชี้วัด 3.1 การไม่ยึดครองของส่วนรวม และตัวชี้วัด 3.2 การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ใช้ของส่วนรวม ไม่พบว่า นักศึกษาต้องการจัดกิจกรรมจิตสาธารณะในองค์ประกอบและตัวชี้วัดนี้

 

This study aimed to explore needs for public mind activity holding of Maejo University undergraduate students, Chiang Mai province. It was a qualitative study. The sample group in this study consisted of 289 students obtained by purposive sampling. They were enrolled in the second semester of the academic year 2013. Locale of the study was a classroom where the researcher usually used for facilitating teaching and learning activities and it lasted for 6 months. Structured-interview was used for data collection. It was in the form of open-ended questions (3 items). Obtained data were analyzed in accordance with public mind theoretical framework. This was on the basis of 3 components and 6 indicators.

Results of the study revealed that the informants truely needed to hold public mind activities. This included the component about indicator using on the maintenance of common or public property in the university e.g. painting the buildings and the fence and dormitory and campus cleaning. Besides, they wanted to develop many things outside the university e.g. developing schools in remote areas, communities, temples, historical sites as well as the conservation of forests and endangered wildlife. For the indicator on thrifty and careful using of common or public property, it was not found that the informants wanted to hold public mind activities. For the indicator on tasks in the university, the following were found : assisting tasks of their major field of study; growing trees in the university ; and assisting seniors working outside the university e.g. assisting people facing natural disaster (flood) and growing vetivar grass to prevent soil erosion. For volunteer indicator, the following were found : the willingness to participate in the 80th year Maejo Agriculture Day; tutoring for friends and juniors ; leaders on recreational activities outside the university e.g. remote village development camp and blood donation. For the component on rights respect, indicators on common property seizing and giving a chance for others to use common property, it was not found that the informants wanted to hold public mind activities regarding to these as mentioned.

Article Details

Section
Research Articles