ภูมินามพื้นบ้าน: ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกับวรรณกรรมพื้นบ้านในเขตภาคเหนือตอนบน (The Indigenous Place Name in Local History and Folk Literature in the Upper North)

Main Article Content

รังสรรค์ จันต๊ะ

Abstract

ภูมินามพื้นบ้าน เป็นระบบวิธีคิดทางวัฒนธรรมของชาวบ้านที่มีความหมายและสัมพันธ์อย่างแนบแน่น กับการตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยอันเกี่ยวข้องอยู่กับวิธีคิดทางด้านภูมิศาสตร์กายภาพ ประวัติศาสตร์และวรรณกรรมท้องถิ่น ที่สะท้อนถึงระบบอำนาจ อัตลักษณ์ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในตัวเองของชุมชนท้องถิ่นอย่างสมบูรณ์ ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการต่อสู้เพื่อช่วงชิงความหมายและพื้นที่ทางสังคมของคนท้องถิ่น กับอิทธิพลการครอบงำจากอำนาจรัฐส่วนกลาง โดยใช้กลไกการปกครอง ศาสนา สื่อและการศึกษาแบบสมัยใหม่เป็นเครื่องมือในการลดทอนศักดิ์ศรี คุณค่า และความหมายทางสังคมของคนในท้องถิ่นให้อ่อนด้อยลงไป จนชื่อหมู่บ้านหลายแห่งผิดเพี้ยนจากความหมายดั้งเดิมไปอย่างมากจนในที่สุดอาจทำให้ท้องถิ่นไม่มีที่ยืนทางประวัติศาสตร์ และไม่สามารถอธิบาย ความเป็นมาของตนเองให้คนรุ่นหลังรับทราบในเรื่องที่ถูกต้องและเป็นจริงได้

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบันทึกชื่อ และความหมายดั้งเดิมของหมู่บ้านศึกษาถึง อิทธิพลทางภาษาและวัฒนธรรมส่วนกลาง ศึกษาวิเคราะห์เชิงคุณค่าและความหมายของระบบภูมินามพื้นบ้าน ตามกรอบแนวคิดทางทฤษฎี ที่มีลักษณะบูรณาการ ทั้งทางด้านคติชนวิทยา สังคมวิทยา และมานุษยวิทยาวัฒนธรรม

ผลการวิจัย พบว่า ชุมชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนตั้งชื่อหมู่บ้านตามบริบทต่างๆ เช่น ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ เช่น บ้านเด่น บ้านดอน บ้านสันป่าสัก บ้านห้วยเกี๋ยงทุ่งข้าวเน่า ป่าไผ่ ตามอิทธิพลจากงานวรรณกรรม เช่น บ้านย่าพาย บ้านสะลวง (สรวงสวรรค์) บ้านพระนอน บ้านลังกา ตามความชำนาญในการผลิต เช่น บ้านช่างฆ้อง ช่างแต้ม วัวลาย ร้อยพ้อม ตามวีรบุรุษประจำถิ่น เช่น บ้านสันต๊ะผาบ ตามกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น บ้านมอญ ร้องเม็ง สันนาเม็ง ตามลักษณะเด่นของหมู่บ้าน เช่น บ้านบ่อส้าง บ้านน้ำบ่อหลวง บ้านบ่อค่าง เหล่านี้เป็นต้น แต่ด้วยอิทธิพลจากอำนาจรัฐส่วนกลาง อันเป็นกลไกเชิงอำนาจของระบบการปกครองจากกระทรวงมหาดไทยครู กลไกและอำนาจเชิงความรู้จากการศึกษาสมัยใหม่ และเจ้าอาวาสวัด กลไกของความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา กลไกเหล่านี้มักเข้ามาชี้นำและครอบงำความคิดของชาวบ้าน ให้ดูถูกตัวเองและท้องถิ่นว่าต่ำต้อย ล้าหลัง ไม่ทันสมยั ทำให้หมู่บ้านหลายแห่งที่มีชื่อเป็นภาษาท้องถิ่นดั้งเดิม เปลี่ยนเป็นชื่อที่ผิดเพี้ยนไปจากความหมายเดิมหาความหมายไม่ได้ หรือผิดเพี้ยนไปจากรากฐานของความหมายเดิมออกไป รวมถึงการสร้างเรื่องราวแบบใหม่ขึ้นแทนที่เรื่องราวแบบพื้นบ้านดั้งเดิม

เมื่อความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประชาชนท้องถิ่นถูกครอบงำ ทำให้ศักดิ์ศรีและอำนาจของท้องถิ่นอ่อนด้อยลง ย่อมส่งผลให้ความเป็นรัฐชาติโดยรวมอ่อนด้อยลงไปด้วย การทำให้ท้องถิ่นเกิดจิตสำนึกและเชื่อมั่นในอำนาจและศักดิ์ศรีของตัวเองย่อมมีผลทำให้ความเป็นรัฐชาติโดยรวมเข้มแข็งและอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม เกิดความสันติสุขร่มเย็นในที่สุดได้

 

This study investigates the indigenous place names of villages or some sacred areas in the northern region of the country that appeared in local history and folk literature. The indigenous place names reflect indigenous people’s ideology about culture, its meaning and close relationship with their communities. Local history has been part of an ideological movement to fight for a meaning and social space of local communities and against the domination of the mechanics of centralized governance, religion, media, and modern education. These mechanics have degenerated the local communities’ integrity, values, and social meaning. The place names of many villages have been distorted from their original meaning. This could result in a loss of local history for the communities to have their own narrative of identity for the next generation.

The findings reveal that the communities in the upper north of Thailand were named after a variety of contexts including topography (Ban Den, Ban Don, Ban San Pa Sak, Ban Huai Kiang, Ban Thung Khao Nao, Ban Pa Phai), influence of folk literature (Ban Ya Phai, Ban Saluang, Ban Phra Non, Ban Langka), craftsmanship specialization (Ban Chang Khong, Ban Chang Taem, Ban Wua Lai, Ban Roi Phom), local heroism (Ban San Taphap), ethnicity (Ban Mon, Ban Rong Meng, Ban San Na Meng), and dominant characteristics (Ban Bo Sang, Ban Nam Bo Luang, Ban Bo Khang). The original names place of many villages were replaced with new ones which simply carry distorted meaning or make no sense. A new version of narrative about the communities’ history was invented to replace the original one.

When the cultural diversity of the indigenous communities has been dominated, it means the degradation of their dignity and autonomy. This can lead to the weakening of autonomy of the nation state. Raising awareness and confidence in the indigenous communities to realize their power and dignity is a means to strengthening the nation state and coexisting on the basis of cultural diversity.

Article Details

Section
Research Articles