ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของอาจารย์สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (Factors Affecting Research Conducting of Social Sciences and Humanities Faculty Staff, Maejo University)

Main Article Content

ศุภลักษณ์ ดีน้อย
ชูชีพ พุทธประเสริฐ

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของอาจารย์ และศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการทำวิจัยของอาจารย์สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นอาจารย์ทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2555 จำนวน 5 คณะ และ1 วิทยาลัย ได้แก่ คณะศิลปศาสตร์ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร คณะบริหารธุรกิจ คณะพัฒนาการท่องเที่ยว คณะเศรษฐศาสตร์ และวิทยาลัยบริหารศาสตร์ จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม 4 ตอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานและการแจกแจงความถี่

ผลการศึกษาพบว่า ทุกปัจจัยมีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของอาจารย์สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัย อันดับแรกคือ ด้านลักษณะของงาน รองลงมาคือ ด้านความสำเร็จของงาน และด้านความรับผิดชอบ ส่วนลำดับสุดท้ายคือ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ

สำหรับปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการทำวิจัยของอาจารย์ สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบว่า ระดับปัญหาการส่งเสริมการทำวิจัยของอาจารย์อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าปัญหาที่อยู่ในระดับมากและมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การมีภาระงานสอนมากทำให้ไม่มีเวลาในการทำวิจัย รองลงมาคือ การจัดตารางสอนไม่เอื้อต่อการทำวิจัย และ ไม่สามารถทำงานวิจัยใน เวลาปฏิบัติงานประจำได้ ส่วนข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการทำวิจัยของอาจารย์พบว่า ด้านความสำเร็จของการทำวิจัย ข้อเสนอแนะคือ ผู้ทำวิจัยควรมีทัศนคติที่ดีต่อการวิจัย ด้านการได้รับการยอมรับนับถือในการทำวิจัย พบว่า ควรมีการเชิดชู ประกาศชื่นชมอาจารย์ที่มีผลงานวิจัย ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติอยู่เอื้อต่อการทำวิจัยพบว่า ควรลดภาระงานสอนให้น้อยลง รวมถึงมีการกำหนดตารางสอนที่เอื้อต่อการทำวิจัย ด้านความรับผิดชอบ พบว่า ผู้วิจัยต้องมีวินัยและเอาใจใส่ต่อการทำวิจัยให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาของหน่วยงาน ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานพบว่า ควรนำความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปใช้ในการเรียนการสอนการขอตำแหน่งทางวิชาการ ด้านนโยบายและการบริหารของหน่วยงานพบว่า หน่วยงานควรให้การสนับสนุนอย่างจริงจังและลดขั้นตอนที่ซับซ้อนเกี่ยวกับการขอรับทุนรวมถึงมีการปรับปรุงระเบียบหลักเกณฑ์ ด้านการปกครองบังคับบัญชาพบว่า ผู้บังคับบัญชา ควรให้ความสำคัญกับงานวิจัย ด้านสภาพการทำงานที่เอื้อต่อการทำวิจัย พบว่า ควรจัดหาหนังสือที่มีความหลากหลาย รวมถึงจัดบริการยืมหนังสือต่างประเทศและมีการสร้างบรรยากาศทางวิชาการให้น่าทำวิจัย ด้านงบประมาณที่ได้รับพบว่าหน่วยงานควรจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนางานวิจัยของหน่วยงานที่ชัดเจนเป็นธรรม มีความเหมาะสมสอดคล้องกับปริมาณและคุณภาพงานวิจัย

 

This research aimed to comprehend factors affecting research conducting of instructors, and to find out problems and suggestions of research promotion for instructor in Humanities and Social Sciences, Maejo University. The respondents used in this study were 132 instructors, who teach in the field of social sciences and humanities, of Maejo University, Chiang Mai Province, in the academic year 2012 from 5 faculties and 1 college, namely Faculty of Liberal Arts, Faculty of Information and Communication, Faculty of Business Administration, School of Tourism Development, Faculty of Economics and School of Administrative Studies. The tool used in this study was a 4-part questionnaire. The data gained was analyzed by mean, standard deviation and frequency distribution.

The results of the study can be summarized that every factor influenced the research conducting of instructors in the field of social sciences and humanities of Maejo University in high level. When considering into each factor, it is found that the factor primarily influenced the research conducting was the job description while the secondary factor was the job achievement and responsibility. The last factor was the credibility.

For the problems and suggestions on the research promotion of the instructors in social sciences and humanities of Maejo University, it is found that the problem of research promotion of the instructor was in moderate level. When considering into each factor, the first problem with the most level and most mean was loaded burden of teaching; the instructor had no time for conducting a research. The secondary factor was the classroom time table that does not support the research conducting; the instructor could not conduct the research during the regular working hours. Several suggestions were concluded in promoting the research conducting of the instructors. In light of the research achievement, it is suggested that the researcher should have the good attitude towards the research. In light of creditability, it is suggested that there should be a complimentary certificate for the instructor who has a research. In light of the regular work that supports the research conducting, it is suggested that the teaching burden should be lessened and the classroom time table should be adjusted for the research conducting. In light of responsibility, it is suggested that the researcher must be disciplined and have attentive conduct to the research within the duration as determined by the department. In light of the career progress, it is suggested that the knowledge gained from the research should be applied in teaching and asking for academic title promotion. In light of departmental policy and administration, it is suggested that the department should seriously supports and reduces the complicated process of applying for a fund, and adjusts the relevant regulations. In light of mastership, it is suggested that the supervisor should give importance to the research. In light of the working condition that supports the research conducting, it is suggested that variety of books should be provided including foreign books, borrowing service should also be provided, while the academic environment should be facilitated to the research conducting. In light of budget, it is suggested that the department should allocate the budget for research with transparent, fair and suitable manners which should be corresponding with the quantity and quality of the research.

Article Details

Section
Research Articles