การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางเพศกับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

ดวงพร เกตุชรา

Abstract

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางเพศกับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางเพศกับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์จำนวน 390 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยคือ ตัวแปรอิสระ ได้แก่ พฤติกรรมทางเพศ จำนวน 5 ด้านและตัวแปรตาม ได้แก่ ความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาจำนวน 9 ด้าน เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามสำหรับ นักเรียนจำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน จำนวน 52 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลความฉลาดทางอารมณ์พฤติกรรมทางเพศของนักเรียนและวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางเพศกับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมทางเพศของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย 3.18 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผลกระทบของพฤติกรรมทางเพศอยู่ในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย 3.32 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความเบี่ยงเบนทางเพศ อยู่ในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย 2.98 2) ความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 3.15 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสามารถในการรับผิดชอบอยู่ในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย 3.23 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความสามารถในการควบคุม อารมณ์และความต้องการของตนเองอยู่ในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย 3.07 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางเพศกับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ปรากฏว่า โดยรวมไม่สัมพันธ์กันทางสถิติ เมื่อแยกวิเคราะห์บางด้านพบว่าผลกระทบของพฤติกรรมทางเพศกับความสามารถในการเห็นใจผู้อื่นและการมีเพศสัมพันธ์การสำเร็จความใคร่อุปกรณ์และการแต่งกายกับความสามารถในการรับผิดชอบกับมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ที่ค่าเฉลี่ย 0.155*


The Study of Relationship between Sexual Behavior and Emotional Intelligence of High School Student in Muaeng District, Nakhon Sawan Province 

This study was carried out relationship between sexual behavior and emotional intelligence of high school students in Mueang district, Nakhon- Sawan province. The objectives of the study were 1) to study the sexual behavior of the students 2) to study emotional intelligence of the students, and 3) to study the relationship between sexual behavior and emotional intelligence of the students.The 390 students from 1st - 6th high school in both male and female were selected by multistage random sampling. Variables used in the study were independent variables including 5 issues in sexual behavior and dependent variables including 9 issues in emotional intelligence. Questionnaire with 52 questions which are divided into 3 parts was inquired and analyzed the relationship between sexual behavior and emotional intelligence with frequency, percentage, mean and standard deviation. The Pearson’s Correlation Coefficient was used for testing the hypothesis in this study.

The result shows that 1) the sexual behavior of the sample group was categorized into high level which was 3.18 of the average score. The highest and lowest average scores were impact of sexual behavior which was 3.32 and the sexual deviation which was 2.98, respectively. 2) the emotional intelligence of the sample group was categorized into high level which was 3.15 of the average score. The highest and lowest average scores were the ability of responsibility which was 3.23 and the ability to control the emotions and needs which was 3.07, respectively. 3) the result of relationship between sexual behavior and emotional intelligence of the sample group was not corresponded. However, some factors from both variables were corresponded with each other such as the relationship between the impact of sexual behavior and the ability to sympathize with others and the relationship between having sex and orgasm in terms of media, equipment and dress, and the social side effects of sexual behavior and sexual deviancy was not corresponded at .05 p-value and0.155* mean value.

Article Details

Section
Research Articles