การเรียนรู้ภาษาผ่านการเรียนรู้แบบข้ามวัฒนธรรม

Main Article Content

อารดี อภิวงค์งาม

Abstract

การศึกษาภาษาที่คำนึงถึงวัฒนธรรมของการใช้ภาษาหนึ่งๆ นั้น หมายถึง การเรียนรู้แบบข้ามวัฒนธรรมโดยผ่านค่านิยม ความเชื่อ เน้นการวิเคราะห์การเรียนแบบข้ามวัฒนธรรม บทความนี้แสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้แบบข้ามวัฒนธรรมต้องตระหนักถึงระบบความคิดที่แตกต่างกันของโลกตะวันตกและตะวันออกที่ทำให้เกิดสำนวนภาษาที่แตกต่างกัน ผู้เรียนภาษาต้องไม่นำเอาวัจนกรรมในภาษาที่ใช้ใน ชุมชนหนึ่งไปใช้กับชุมชนภาษาอื่น และตระหนักถึงความเชื่อค่านิยมก็แตกต่างกันด้วยการเรียนรู้ภาษาจึงมิใช่การฝึกภาษาพูดแต่เพียงอย่างเดียวแต่ยังต้องคำนึงถึงภาษากายอื่นๆ เช่นการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อสื่อสารว่าต้องการสิ่งใดและมีความรู้สึกเช่นไรอยู่แต่อดีตมามีการเรียนการสอนแบบข้ามวัฒนธรรมโดยมีหลักการว่า การเรียนรู้แบบนี้นอกจากต้องเข้าใจไวยกรณ์ของภาษานั้นๆอย่างถ่องแท้แล้ว ต้องสามารถใช้ภาษานั้นอย่างมีระบบของสังคมที่ใช้ภาษานั้นยอมรับได้ และเหมาะสมกับกาลเทศะ ทั้งต้องเป็น ภาษาที่ใช้กันอยู่จริง

การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนต่างๆ ในปริบทหนึ่งๆ ก็เป็นแนวทางหนึ่งในการศึกษาภาษาแบบข้ามวัฒนธรรมเนื่องจากในแต่ละสังคมจะมีบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนกันเช่นในสังคมหนึ่ง สำนวนที่ใช้อาจดูสุภาพดี แต่อีกสังคมหนึ่งอาจฟังว่า เป็นการเสียมารยาทก็ได้ เช่น การทักทายของคนไทยว่า ‘ทานข้าวหรือยัง’ หรือ ‘ไปไหนมา’ เป็นสำนวนที่ปกติใช้โดยทั่วไป แต่ถ้านำสำนวนนี้ไปแปลเป็นอีกภาษาหนึ่งและใช้ในสังคมอื่นที่ไม่ใช่ประเทศไทยอาจถูกตีความว่าเป็นคนชอบยุ่งเรื่องของคนอื่นซึ่งจะถูกมองว่าไม่รู้กาลเทศะและอาจเกิดการตระหนกในวัฒนธรรมได้ (Culture Shock) ในบทความนี้จึงมีการนำเสนอการตระหนกในวัฒนธรรม ของผู้ใช้ภาษาอื่นๆ ที่มิได้ตระหนักถึงค่านิยมความเชื่อ ในขณะที่เรียนรู้ภาษาอื่นอยู่ จึงเกิดการเข้าใจผิดและขัดแย้งกันเมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่ในวัฒนธรรมอื่นที่มิใช่วัฒนธรรมของตน

Article Details

Section
Academic Article