ภาพเสนอพระสงฆ์ในเรื่องสั้นของมาลา คำจันทร์ (Representations of Buddhist Monks in Mala Khamchan’s Short Stories)

Main Article Content

สุนทร คำยอด

Abstract

การศึกษาภาพเสนอของเสนอของพระสงฆ์ที่ปรากฏในเรื่องสั้นของมาลา คำจันทร์นั้น จุดประสงค์เพื่อทำความเข้าใจถึงภาพเสนอของพระสงฆ์ที่ปรากฏในเรื่องสั้น อันเกิดจากการประกอบสร้างผ่านตัวบทคือเรื่องสั้นทั้ง 14 เรื่อง พบว่าภาพเสนอของพระสงฆ์แบ่งได้เป็น 2 ประการคือ 1) ภาพเสนอพระสงฆ์ล้านนา จำแนกได้ 5 ลักษณะ คือ ภาพเสนอของพระสงฆ์ที่เป็นปุถุชน ภาพเสนอพระสงฆ์ตามแนวคิด ต๋น ข่ามคง (คงกระพันชาตรี) ภาพเสนอพระสงฆ์ในฐานะของผู้นำชุมชน ภาพเสนอของพระสงฆ์ที่สมถะสำรวม และภาพเสนอพระสงฆ์ในฐานะผู้มีความรู้แบบจารีต 2) ภาพเสนอพระสงฆ์จากส่วนกลาง จำแนกออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ภาพเสนอพระสงฆ์ที่นิยม ไสยศาสตร์ ภาพเสนอพระสงฆ์ที่ใส่ใจในภาพลักษณ์ และภาพเสนอพระสงฆ์ที่สยบยอมต่อทุนนิยมและบริโภคนิยม ซึ่งการเสนอภาพดังกล่าวเป็นการโหยหาอดีตและเป็นการสร้างวาทกรรมอำนาจระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่น

 

This article investigates the presentations of Buddhist monks which are contextually constructed as appeared in Mala Khamchan’s 14 short stories. It is found that the representations can be divided into two categories: 1) the representation of Lanna monks which can be characterized as the following, monks as common human being, monks according to their immortality, monks as the community leader, monks who have self-control, and monks as a local sage with custom knowledge. 2) the representation of monks from the central part which can be characterized as the following, monks who favour occultism, monks who seek fame and build an image, and monks who indulge themselves in capitalism and consumerism. These portrayals of monks are depicted as seeking for the past or nostalgia and describe discourse of power between the central and the local.

Article Details

Section
Research Articles