การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ (A Study of Chinese Teaching and Learning at High Schools in Chiang Mai)

Main Article Content

สุวรรณ เลียงหิรัญถาวร

Abstract

การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของจังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสำรวจสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในด้านต่างๆ ได้แก่ จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน เนื้อหาวิชา วิธีการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลเก็บข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ครูผู้สอน และแจกแบบสอบถามนักเรียนที่เรียนภาษาจีนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผลการศึกษาพบว่า ครูผู้สอนภาษาจีนส่วนใหญ่เป็นครูที่จบการศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน แต่มีประสบการณ์การสอนภาษาจีนค่อนข้างน้อย คือสอนไม่เกิน 2 ปี รับผิดชอบสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีภาระการสอน 20 - 22 ชั่วโมง/สัปดาห์ และส่วนใหญ่เคยเข้ารับการฝึกอบรมภาษาจีนมาแล้ว วัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คือเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน สามารถใช้ภาษาจีนเพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน และศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้ เนื้อหาของวิชาภาษาจีนส่วนใหญ่เน้นการสื่อสารในชีวิตประจำวัน วัฒนธรรมจีนและเสริมเนื้อหาการเตรียมความพร้อมหรือติวข้อสอบเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย วิธีการสอนที่ใช้ในการสอนภาษาจีนมีหลากหลายวิธี เช่น การฝึกสนทนา อธิบายไวยากรณ์และฝึกแต่งประโยคหรือข้อความ และการคัดตัวอักษรจีน มีการทำกิจกรรมนอกชั้นเรียนในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดบอร์ด จัดนิทรรศการตามเทศกาล การประกวดร้องเพลงจีน เป็นต้น สื่อการสอนที่ใช้มีหลายหลายรูปแบบ เช่น CD เพลง VCD การ์ตูน หนังสือ/นิตยสาร/วารสาร ฮั่นจื้อกง เว็บไซต์ เป็นต้น ส่วนการวัดและประเมินผล ใช้เกณฑ์การแบ่งเป็น คะแนนเก็บระหว่างภาคเรียน 70 - 80 % และคะแนนสอบปลายภาค 20 - 30 % โดยคะแนนเก็บระหว่างภาคเรียนมาจากแบบฝึกหัด การสอบย่อยในแต่ละทักษะและสอบกลางภาค ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนสอนภาษาจีน พบปัญหาเรื่องเอกสารและหนังสือที่ใช้สอนในแต่ละโรงเรียน ยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่มีแผนการสอนและสื่อการสอนที่เป็นมาตรฐาน ปัญหาเรื่องขาดห้องปฏิบัติการภาษา และอุปกรณ์ฝึกทักษะ เนื้อหาของแบบเรียนกับข้อสอบที่ใช้สอบเข้ามหาวิทยาลัยมีความแตกต่างกันมากทำให้นักเรียนต้องเรียนเสริมเพื่อการสอบ

ในส่วนความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนภาษาจีน นักเรียนที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุของนักเรียนส่วนใหญ่คือ 16 ปี 17 ปีและ 18 ปี ตามลำดับ ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งในด้านจุดมุงหมายของการเรียนการสอนเนื้อหา วิธีการสอน สื่อการสอน และการวัดและประเมินผล โดยด้านกิจกรรมการเรียนการสอน นักเรียนมีความคิดเห็นว่าอาจารย์เน้นการฝึกปฏิบัติ โดยเฉพาะการฝึกทักษะการเขียนให้นักเรียนคัดคำศัพท์เป็นการบ้าน

 

The objective of this study was to investigate Chinese teaching and learning in high schools, Chiang Mai province in terms of the following: objectives, content, teaching method, teaching and learning activity, teaching aid, and evaluation. Interview and questionnaire were used for data collection administered with Chinese teachers and students. Results of the study revealed the following:

1. Opinion of Chinese teachers

Most of Chinese teachers were Chinese major graduates but quite a few experience in teaching Chinese. They taught Chinese in an upper secondary school level for 20-22 hours per week. Most of them attended Chinese training. The objective of Chinese teaching was to practice writing. That was, they would be able to use Chinese in daily life activities and pursue their study in a higher level. Most of the learning content concerned with Chinese culture and daily life communication. Teaching methods cover conversation, grammar, sentence and paragraph writing. Besides, students were assigned to prepare Chinese board, exhibition, Chinese singing contest, etc. Teaching aids included CD songs, cartoon VCD, textbook, magazine, journal, Han Zi Gong, website, etc. Evaluation and measurement criteria were 80:20 and 70:30. Score collection was done through exercises, quizzes, mid - term and final examination. For problems encountered, the following were found: 1) textbook and learning material of each school did not share the same standard; 2) teaching plan and teaching aid were not systematic; 3) the schools lacked of sound lab and equipment; and 4) learning content of each school was much different.

2. Opinions of students learning Chinese

Most of the students were female and 16-18 years old. They perceived that the appropriateness of Chinese learning content was at a moderate level. For teaching method, they perceived that it focused on writing, reading, and speaking skills. For teaching and learning activities, it focused on vocabulary writing homework.

Article Details

Section
Research Articles