พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัย (Health Promoting Behaviors of University Students)

Main Article Content

อานนท์ สีดาเพ็ง
นิคม มูลเมือง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความรู้ การรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 388 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่านักศึกษามีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่านิยม ทัศนคติต่อและการรับรู้ประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี มีการรับรู้ความสามารถแห่งตนและการรับรู้อุปสรรคต่อการส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษายังบ่งชี้ว่านักศึกษาที่มีเพศ อายุ คณะที่ศึกษารายรับต่อเดือน และระดับการศึกษาของมารดาที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าปัจจัยด้านความรู้-การรับรู้ อันได้แก่ค่านิยม ทัศนคติ การรับรู้ความสามารถแห่งตนและการรับรู้ประโยชน์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านการรับรู้อุปสรรคต่อการส่งเสริมสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางลบต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ข้อเสนอแนะจากการศึกษาคือ การจัดกิจกรรมหรือโครงการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง ควรจัดให้นักศึกษาได้ใช้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพควรจัดกิจกรรมหรือโครงการส่งเสริมสุขภาพในด้านการรับประทานอาหารด้านการออกกำลังกาย ด้านการจัดการกับความเครียด และด้านการป้องกันอุบัติเหตุให้แก่นักศึกษา เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้อง และเพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น

 

The purposes of this research were to study health promoting behaviors, to compare health promoting behaviors, and to study the correlation between cognitive-perceptual factors of Maejo university students. This research was an exploratory research using questionnaires collected from the sampling group of 388 students. The data obtained were analyzed by computer program. The statistics used were Frequency distribution, percentage, mean value, standard deviation, t-test, One-way Analysis of Variance, and Pearson Product Moment Correlation Coefficient. The results of the study indicated that the health promoting behaviors of students were generally in the moderate level. Moreover the results revealed that the students who had different modifying factors including gender, age, faculty enrolled, monthly incomes, and education level of parents would have different health promoting behaviors at .05 of significance. The results also pointed that the cognitive-perceptual factors of health promoting values, health promoting attitudes, perceived self efficacy towards health promoting, and perceived benefit of health promoting behaviors had positive correlation with health promoting behaviors of students at .05 level of significance. And, perceived barrier of health promoting behaviors had negative health promoting behaviors of students at .05 level of significance. The study suggests that should promote perceived self efficacy in health promoting behaviors. Knowledge on heath promoting behaviors as its necessary should have developed continuously. The university should provides health promoting activities concerning; nutrition, exercise, stress management, and accident prevention, for the students in order to develop into positive health promoting behaviors.

Article Details

Section
Research Articles